19 พฤศจิกายน 2566
414
How to ..ยืดอายุดวงตาให้สดใสไปนาน ๆ
รายการพบหมอรามา ปลดล็อกทุกคำถาม รู้จักแบบรู้จริง ให้คุณเป็นคนทันโรค ในวันนี้ มารู้จักกับ “จักษุวิทยา กับการยืดอายุดวงตาให้สดใสไปนาน ๆ” โดย รศ. นพ.ธัญญทัต ผดุงเกียรติสกุล สาขาจักษุประสาทวิทยา ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
โรคทางด้านตานั้น มีมากมายหลากหลายแบบ ผู้ป่วยด้านโรคสายตามีเพิ่มขึ้น ขณะที่แพทย์ทางด้านนี้มีจำนวนไม่มากนัก เมื่อเทียบกับแพทย์ทางด้านอายุกรรม หรือ กุมารเวชกรรม
ดังนั้นความรู้ทางด้านการดูแลสุขภาพตา จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยประชาชนดูแลตนเองได้มากขึ้น รวมทั้งการดูแลรักษา เมื่อมีอาการเจ็บป่วยทางตา
จักษุแพทย์ หรือหมอตา จะดูแลรักษาอาการเกี่ยวกับดวงตา โรคที่หมอตาเจอมากที่สุดคือ ตาแห้ง และ ต้อกระจก ซึ่งมาตามวัย
▪️ สาเหตุโรคตาแห้ง
1. โรคตาแห้งอาจเกิดจาก การป่วยที่มาตามวัย และกลุ่มโรคที่ทำให้ต่อมน้ำตาอักเสบ
2. พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การใช้สายตาดูมือถือ สมาร์ทโฟน เป็นเวลานาน ๆ หรืออุบัติเหตุ หรือการขับขี่จักรยานยนต์ แต่ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันลมเข้าตา ทำให้ตาแห้ง
▪️ สาเหตุของโรคต้อกระจก
ต้อกระจก เกิดจากเลนส์ภายในดวงตาขุ่น เหมือนเลนส์แว่นตา เมื่อใช้งานไประยะหนึ่งก็จะทำให้เลนส์ตาเสื่อม จะทำให้เป็นฝ้ามากขึ้น อาจสีเหลือง สีส้ม เมื่อมองออกไปจะเห็นเป็นฝ้ามากขึ้น บางคนอาจจะมองเห็นแสงฟุ้ง ๆ ดังนั้นต้อกระจกมักจะเกิดกับผู้สูงอายุ
แต่ก็พบว่ามีโรคประจำตัวบางชนิดที่ทำให้เจอได้เร็วกว่าวัยอันควร
ต้อกระจกอาจพบได้เร็วขึ้น เช่น การอักเสบของดวงตา หรือเกิดจากการใช้ยาบางชนิด เช่น กลุ่มยาชสเตียรอยด์ ซึ่งการใช้ยาชนิดนี้ต้องระวัง เช่นกรณีเป็นโรคตาแดง และซื้อยาหยอดตามาใช้เอง ยาบางชนิดมีองค์ประกอบของสเตียรอยด์อยู่ จะทำให้เป็น “ต้อกระจก” เร็วขึ้น และที่อันตรายมากกว่านั้นคือ อาจเป็น “ต้อหิน” ได้ด้วย
จึงไม่แนะนำให้ซื้อยาใช้เอง ยาที่อาจจะปลอดภัยถ้าหากจำเป็นต้องซื้อมาใช้เอง เช่น ยาแก้แพ้ น้ำตาเทียม ถ้ามีอาการที่เกี่ยวโรคตา แนะนำให้พบแพทย์ดีที่สุด
▪️ น้ำตาเทียม ใช้ได้ทุกวันไหม ?
หยอดได้ทุกวัน น้ำตาเทียม มี 2 ลักษณะชม คือ เป็นหลอดและเป็นโดส ซึ่งเหมาะที่จะใช้วันละครั้ง การหยอดตาทีละโดส หรือทีละหลอด มีความปลอดภัยระดับหนึ่ง เพราะใช้แล้วทิ้งไป คนที่ตาแก้งเยอะ ก็สามารถหยอดได้บ่อยขึ้นวันละ 4 - 5 ถ้าตาแห้งมาก ๆ คุณหมอก็จะสั่งยาที่จำเพาะให้
▪️ โรคเส้นประสาทตาอักเสบ
เส้นประสาทตาอักเสบ อาจจะมาจากโรคที่เกี่ยวกับภูมิในร่างกายเรา ซึ่งถูกมองว่าเส้นประสาทในสายตาของเราเป็นสิ่งแปลกปลอม ทำให้ตาอักเสบ เช่นกลุ่มโรคพุ่มพวง หรือโรค SLE ถ้าเกิดอาการแบบนี้แล้วไม่ได้รักษาอาการได้ทันท่วงที และเกิดซ้ำบ่อยๆ อาจจะทำให้มองไม่เห็นได้ ถ้าการอักเสบเกี่ยวข้องกับระบบร่างกายในส่วนอื่นด้วย เช่นไขสันหลังหรือสมอง ก็อาจจะทำให้พิการหรือเดินไม่ได้
บางกรณีก็ไม่ทราบสาเหตุว่า เคยอักเสบหรือโดนเนื้องอกกดเปลี่ยน มีบ้างที่มาตรวจรักษาช้า ไม่ทราบว่าเกิดจากอะไร อาจจะต้องแจ้งอาการในอดีตให้หมอทราบเพื่อการรักษาที่ถูกต้อง
▪️ ฝุ่น PM 2.5 มีอันตรายต่อดวงตาหรือไม่
คนไข้ในกลุ่มโรคภูมิแพ้ ผงฝุ่น อาจจะมีอาการระคายเคืองตา อาจจะคันจมูก เบื่อบุจมูกเยื่อบุตาอักเสบ ง่ายกว่ากลุ่มคนทั่วไป ถ้าเป็นไปได้ก็ควรหลีกเลี่ยงการโดนฝุ่น หรือถ้าเลี่ยงไม่ได้และเกิดระคายเคืองควรใช้วิธีประคบเย็น เพราะความเย็นจะช่วยลดการหลั่งสารภูมิแพ้ของเม็ดเลือดขาว หรือใช้ยาหยอดตา ยาแก้แพ้ เพื่อลดอาการ ดังนั้นการป้องดันก็คือหลีกเลี่ยงฝุ่น PM 2.5 เพื่อไม่ให้ตาเกิดระคายเคือง โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็นต้อลมอาจจะมีอาการตาแดงมากกว่าปกติ
▪️ ข่าวทันโรค
🔸 จากข่าวที่คุณแม่ท่านหนึ่ง เผยแพร่ข้อความฝากเป็นอุทาหรณ์ เกี่ยวกับอาการป่วยของลูกสาวอายุ 5 ขวบ ที่ใช้เวลาดูสมาร์ทโฟนนานเกินไป หวิดตาบอด จากการโดนแสงจากจอโทรศัพท์ทำลายกล้ามเนื้อหัวตา โดยคุณครูทักว่าลักษณะตาของเด็กเป็นลักษณะตาขี้เกียจ หรือ Lazy Eyes และจากการไปหาหมอที่โรงพยาบาลหมอระบุว่าเป็นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง หากไม่ได้รีบการผ่าตัดจะทำให้ตาเหล่ออกและจะสูญเสียการรับภาพสามมิติ ตาจะบอดในที่นุด
คุณหมอธัญญทัต อธิบายเรื่องนี้ว่า ตาขี้เกียจ ทางการแพทย์ หมายความว่า การทำงานของตาด้อยกว่าที่ควรจะเป็น เหตุที่เกิดขึ้นคือไม่ค่อยได้ใช้งาน ไม่ถูกกระตุ้นอย่างเหมาะสม
ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง (Myasthenia Gravis) ภาวะที่เปลือกตาหรือกล้ามเนื้อยึดลูกตาอ่อนแรงหลังจากใช้งานไประยะหนึ่งแต่คิดว่าในกรณีที่เกิดขึ้นในข่าวเป็นลักษณะของตาเข ตาเหล่ ออกมากกว่า ซึ่งจะไปเกี่ยวข้องกับกรณี Lazy Eyes คือตาข้างหนึ่งใข้งานปกติ แต่อีกข้างเขออกไป ไม่ได้ใช้งาน ซึ่งร่างกายก็จะเลือกรับภาพจากข้างที่ใช้งานได้ดี แต่พออีกข้างไม่ได้ใช้งาน จะทำให้ตาอีกข้างมองไม่ชัด
ภาวะตาเข ไม่ได้มีสาเหตุจำเพาะ ต้องไปหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร ไม่ไเมาจากการดูสมาร์ทโฟนเสียทีเดียว บางโรคอาจมีสาเหตุมาจาก ความผิดปกติของระบบเส้นประสาท เช่น การกรอกตาไม่ได้ดีเท่าที่ควร
การรักษาตาเข ตาเหล่ บางกรณีก็ฝึกได้ดี จนผ่านพ้นไปได้โดยไม่ต้องผ่าตัดก็ได้ ถ้าฝึกแล้วยังไม่หายเป็นปกติ ก็จะต้องผ่าตัดให้ตาตรง
อย่างไรก็ตาม การใช้มือถือ อุปกรณ์ (Device) ต่างๆ ในระยะใกล้เกินไปในเด็ก จะกระตุ้นให้สายตาสั้นเร็วขึ้น รวมทั้งกระทบพัฒนาเด็กด้านอื่น ๆ เช่น ออทิสติกเทียม เป็นต้น
🔸 ผู้หญิงอายุ 49 ปี ไม่สามารถลืมตาได้ 2 วันเกือบจะตาบอด เพราะแพ้สารเคมีที่ย้อมผม เพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังจากย้อมผม เธอมีอาการตาบวมเต่งทั้งสองข้าง คันตา ปวดแสบปวดร้อน
จากเหตุการณ์นี้ คุณหมอธัญญทัต กล่าวว่า อาจจะมาจากอาการแพ้ชนิดหนึ่ง ที่มีอาการใบหน้าบวมหรือเยื่อบุบวมร่วมด้วย ดังนั้นผู้ใช้สารเคมีต้องระวัง หากเราเคยแพ้มาก่อนควรหลักเลี่ยง เพราะจะเป็นการตุ้นให้เป็นมากขึ้นอีก เช่นเดียวกับการแพ้อาหาร ถ้าอยากหายแพ้ หรือต้องการ ควรปรึกษาแพทย์อายุรกรรมเพื่อหาทางป้องกัน
🔸 ข่าวกรณีเด็กชายชาวจีน อายุ 6 ขวบ ผ่าตัดปลูกถ่ายใส่ลูกตาเทียมทั้งของข้าง ทดแทนดวงตาที่สูญเสียไปจากอุบัติเหตุไม่คาดฝัน ใช้เวลา 4
ลูกตาเทียมที่ผ่าตัดใส่เข้าไปใหม่ สามารถมองเห็นได้ แม้ไม่ปกติเท่าเดิม
ในเรื่องนี้คุณหมออธิบายว่า ปกติแล้วเวลามีการบริจาคดวงตา ส่วนที่หมอจะนำไปใช้จริงๆ คือกระจกตา ซึ่งเป็นส่วนที่จะนำไปปลูกถ่ายได้ แต่ส่วนอื่นๆของดวงตานั้นเรายังไม่เคยมีการนำดวงตาทั้งลูกไปปลูกถ่ายได้ เพราะยังไม่สามารถเชื่อมต่อเส้นประสาทได้มากขนาดนั้น การส่งต่อข้อมูลก็ยังทำไม่ได้ขนาดนั้น
ในกรณีนี้อาจจะเป็นไปได้ว่า เป็นการปลูกถ่ายกระจกเลนส์ตา หรือใส่ตาเทียมเพื่อความสวยงามมากกว่า
🔸เด็กหญิงวัย 13 ปี ตาด้านซ้ายบอด แต่มีอาการปวดศรีษะ แพทย์นิจฉัยว่า เนื้องอกในสมองทับเส้นประสาทตา เพื่ออยากจะรักษาตาอีกข้างหนึ่งให้มองเห็นได้ต่อไป จึงเข้ารับการผ่าตัดเนื้องอก แต่ภายหลังการผ่าตัด ทำให้ตาบอดทั้งสองข้าง สาเหตุจากอะไร
อาจจะเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งต้องไปดูในรายละเอียดก่อนการผ่าตัด ว่าตาข้างที่มองเห็นอยู่ มองเห็นได้ในระดับใด หรืออาจจะเกิดจากการบวมของเส้นประสาทขณะผ่าตัด เมื่อเวลาผ่านไปอาการบวม อักเสบลดลง จะค่อยๆกลับมามองเห็นได้หรือไม่ หรือเส้นเลือดที่หมุนเวียนเลี้ยงเส้นประสาทขาดเลือดหรือไม่ ซึ่งขึ้นอยู่กับผลการตรวจว่าเกิดจากสาเหตุใด
รับชมวิดิโอเพิ่มเติมได้ที่: https://youtu.be/6GKIb09i_Rc?si=msqFd6FkCMy3wmxC