12 พฤศจิกายน 2566
1,874

ระวังเป็นเหยื่อ ! ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A



เรื่องราวของโรคติดต่อ โรคติดเชื้อหลายโรค ที่กำลังระบาดในช่วงนี้ ที่แพทย์ด้านอายุรศาสตร์ต้องรับมือผู้ป่วยจำนวนมาก มาติดตามกันว่า โรคติดเชื้อ โรคระบาดที่กำลังระบาดในช่วงนี้มีโรคอะไรบ้าง อ. พญ.รพีพรรณ รัตนวงศ์นรา มอร์ด สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มาให้ความรู้ด้านสุขภาพ ที่จะช่วยเราเป็นคนทันโรค รู้จักวิธีป้องกัน และรักษาได้ทันเวลา  

โรคติดเชื้อที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดในเวลานี้ ได้แก่ โรคไข้หวัดใหญ่ และ RSV ซึ่งกลับมาเป็นกันค่อนข้างเยอะ โดยเฉพาะเด็กเล็ก บางรายต้องเข้าห้อง ICU เพราะเริ่มขาดแคลนยา และมีการแพร่เชื้อที่ง่ายมาก

▪️ เรื่องนี้จริงหรือไม่ 

1. ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A รุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา:

เป็นความจริง ไข้หวัดสายพันธุ์ A มาจากเชื้อไวรัส Influenza  สามารถแพร่ระบาดจากนกสู่คนได้ จึงรุนแรงกว่าสายพันธุ์อื่น ส่วนไวรัสชนิด B ระบาดจากคนสู่คน มักจะเป็นในเด็กเล็ก ส่วนไวรัสชนิด C พบได้น้อย ไม่ค่อยมีผลมากนัก 

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ส่วนใหญ่จะฉีดป้องกันไวรัส สายพันธ์ุ A และ B วัคซีนเหล่านี้จะป้องได้ 30-60% แต่ป้องกันความรุนแรง 


2. งูสวัด  ถ้าเป็นรอบตัวตายแน่ ๆ

“ไม่เป็นความจริง” แม้เป็นเรื่องที่พูดกันมานาน  เพียงแต่อาจมีอาการรุนแรงกว่าปกติถ้าเป็นรอบตัว แต่ไม่ตาย เชื้อไวรัสงูสวัดคือเชื้อ Herpes zoster ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับอีสุกอีใส โดยไวรัสแฝงกายอยู่ในปมประสาท เมื่อภูมิต้านทานของเราลดลงเชื้อไวรัสที่ซ่อนอยู่ในร่างกายจะเพิ่มจำนวน และออกมาทางเส้นประสาท 

โดยจะแสดงออกมาทางผื่น หรือตุ่มน้ำใส ซึ่งจะเรียงตัวเป็นแนวยาวตามเส้นประสาทโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย แต่มักจะเกิดกับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้สูงอายุ เวลาภูมิตกหรืออดนอน 

อย่างไรก็ตาม งูสวัดเป็นโรคที่เสียชีวิตได้ แต่ไม่บ่อย ผู้ป่วยจะมีความรำคาญบริเวณผิวหนัง ที่เป็นตุ่มน้ำ และอาจอักเสบ ไปส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้ถ้ารักษาไม่ทันท่วงที เช่นที่ปอด ที่สมอง  ถ้าเป็นที่ตา อาจจะทำให้ตาบอดได้ 

วิธีการรักษา มีทั้งยากิน ยาฉีด ยาทา และมีวัคซีนป้องกัน ซึ่งแนะนำว่าควรจะฉีดเช่นกัน จะทำให้คนที่มีความเสี่ยงอันตรายน้อยลง เช่น ผู้สูงอายุ 



▪️ หยิบข่าวมาเล่า ทันข่าวทันโรค

1. รายงายข่าวจากจีน ระบุว่าเจอ Corona Virus ชนิดใหม่ใหม่ 40 สายพันธุ์และในจำนวนนี้ มี 20 สายพันธุ์ที่จะระบาดสู่คนได้ เรื่องนี้น่ากังวลแค่ไหน 

อ. พญ.รพีพรรณ อธิบายเรื่องนี้ว่า เชื้อไวรัส Corona มีมานานแล้ว และ Covid-19 คือสายพันธุ์ใหม่ของ Corona ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ แต่จะรุนแรงกว่า Covid-19 หรือไม่ต้องติดตามต่อไป

แต่เนื่องจากคนได้รับวัคซีน เคยเป็นหรือติดเชื้อมาก่อน จะมีภูมิต้านทานอยู่บ้าง ซึ่งเชื้อตัวใหม่อาจจะมีความรุนแรงมากกว่า หรือน้อยกว่า ก็ได้


2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พัฒนาชุดตรวจโรควัณโรค MTB Strip ชุดตรวจวัณโรคแบบอ่านผลด้วยตาเปล่า 

ชุดตรวจดังกล่าวนี้ เพิ่มความสะดวกในการใช้งานในโรงพยาบาลชุมชน สามารถคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคได้รวดเร็ว แม่นยำ ค่าใช้จ่ายไม่สูง หวังควบคุมการแพร่กระจายโรคและนำผู้ป่วยเข้าสู่กระบวนการรักษารวดเร็ว

ในเรื่องนี้ อ. พญ.รพีพรรณ กล่าวว่า วัณโรคส่วนใหญ่มักเจอที่ปอด การตรวจรักษา เก็บเสมหะไปตรวจ ใช้เวลา 1 - 3 วัน แต่ถ้ายาชนิดใหม่ใช้เวลาลดลงเพียง 2 ชั่วโมง ก็จะช่วยลดการแพร่ระบาด 

อาการในปัจจุบันใช้เวลานาน ราว 6 เดือนในการรักษา  ผู้ป่วยจะมีอาการ เป็นไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต ตามที่ต่างๆ ถ้าลงปอด ก็อาจไอเป็นเลือด  

วัณโรค ติดต่อทางเดินหายใจ และเชื้อโรคแพร่กระจายได้ง่ายในพื้นที่แออัด อากาศร้อนชื้น ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ในเด็กมีการฉีดวัคซีน BCG ช่วยได้ระดับหนึ่ง

ชุดตรวจโรควัณโรค MTB Strip ที่คิดค้นขึ้น อาจจะต้องเทียบเคียงกับการตรวจรักษาในมาตรฐานเดิม และดูว่าการตรวจพบเร็วขึ้น ช่วยลดปริมาณผู้ป่วยได้มากน้อยเพียงใด 


3. โรงเรียนในกรุงเทพมหานคร เข้มงวดมาตรการป้องกันโรคระบาดในสถานศึกษา ของโรคระบาดไข้หวัดใหญ่ 

วิธีการป้องกันคือ การป้องกันคือ ให้เด็กล้างมือบ่อยๆ สอนเด็กห้ามเอามือเข้าปากหรือจับใบหน้า ไม่สบายต้องหยุดเรียนอยู่ที่บ้าน หรือสวมหน้ากากอนามัย จะได้ไม่แพร่เชื้อที่โรงเรียน 


4. เตือนภัยโรคร้ายทางเพศสัมพันธ์ HPV สามารถป้องกันได้ด้วยการรับวัคซีน 

โรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (Human Papilloma Virus) หรือ โรค HPV คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี ที่สามารถกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็งในระบบสืบพันธ์ุได้ พบบ่อยในเพศหญิง จัดอยู่ในกลุ่มโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อาจติดต่อทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือทางช่องปาก 

หลายคนสงสัยและมักเข้าเข้าใจผิด HIV กับ HPV ว่าทั้ง 2 โรคนี้เป็นโรคเดียวกัน เนื่องจากมีชื่อที่คล้ายๆ กัน แต่ทั้งโรคติดเชื้อ HPV และ HIV เป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือ STD (Sexually Transmitted Disease) ซึ่งหมายถึงโรคที่ติดต่อจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง โดยผ่านการมีเพศสัมพันธ์เหมือนกัน แต่เกิดจากเชื้อไวรัสคนละสายพันธ์ุ

ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV และ HPV เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง เช่นมะเร็งที่ทวารหนัก มะเร็งปากมดลูก ซึ่งอาจจะเกิดจากการอักเสบ ที่อวัยวะเพศ หรือในช่องปาก อาจเป็นหูดหงอนไก่ ตุ่มนูน และพัฒนาเป็นมะเร็งได้ 
 
อัตราการติดต่อในประเทศไทย ถ้าไม่ได้รับวัคซีนอาจจะมากกว่า HIV แต่เนื่องด้วยเป็นโรคที่ไม่แสดงอาการ จึงไม่ทราบจำนวนผู้ป่วยที่แน่ชัด 


เริม (Herpes simplex) 

เริม คือ โรคติดต่อทางผิวหนังหรือทางเพศสัมพันธ์ผ่านการสัมผัสอาจจะทำให้เกิดเริมที่ปาก หรือเริมที่อวัยวะเพศ เกิดอาการคันยุบยิบ เป็นตุ่มน้ำใส แผลพุพอง และไม่ได้เกิดจากเพศสัมพันธ์เสมอไป 


ซิฟิลิส (Syphilis) 

เป็นโรคติด้ชื้อจากแบคทีเรีย โดยปกติจะติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อซิฟิลิสหากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดปัญหารุนแรงตามมาภายหลังได้ อาการที่พบ มักจะเริ่มจากบาดแผล ซึ่งมักพบบริเวณอวัยวะเพศ ปาก หรือทวารหนัก ลักษณะของแผลจะเป็นแผลที่ไม่รู้สึกเจ็บ (Painless sore) แต่ถ้าไม่รักษาอาจรุนแรงขึ้น ผื่นที่มือ และถ้าไม่รักษา ก็จะเป็นได้ทั้งสมองและหัวใจ 


หนองในแท้ หนองในเทียม 

หนองในแท้เกิดจากแบคทีเรียที่มีชื่อว่า ไนซีเรีย โกโนเรีย Neisseria Gorrhoese) โดยที่หนองในทั้ง 2 ชนิดจะแสดงอาการคล้ายกัน เป็นหนองอยู่ข้างใน ไหลออกมาจากท่อปัสสาวะ แสบขัดเวลาปัสสาวะ ศึ่งต้องรีบรักษาก่อนอาการลุกลาม



ติดต่อโฆษณา!