30 ธันวาคม 2563
2,111

มาราธอน COVID-19 ข้ามปี กับ 4 ประเด็นที่คนไทยเตรียมรับมือในปี 64

มาราธอน COVID-19 ข้ามปี  กับ 4 ประเด็นที่คนไทยเตรียมรับมือในปี 64
Highlight
กำลังจะก้าวข้ามอีกปี ไปต่อในปี 2564 สำหรับโควิด19 โดยเฉพาะที่ประเทศไทย
กลายเป็นการระบาดรอบใหม่ที่ติดเชื้อใหม่ สถานการณ์โควิดในรอบนี้ประหนึ่งจะเพิ่งเริ่มต้น
ท่ามกลางความหวังของคนทั้งโลก กับวัคซีนโควิด คนไทยตื่นตัวในการรักษาสุขอนามัยส่วนตัว
และรับผิดชอบต่อส่วนรวม


ทันข่าว หยิบเอา 4 ประเด็นสำคัญที่คนไทยเตรียมรับมือในปี 64 

การใช้ชีวิตวิถีใหม่ หรือ New Normal 

 “New Normal” ในบริบท “COVID-19” นั้น เห็นได้ชัดเจนที่สุดในด้านของการสาธารณสุขของเมืองไทย โดยทาง ศบค. มีการประกาศมาตรการการป้องกันและควบคุมการระบาดของโควิด-19 ที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ได้แก่

- สวมใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยเสมอ

- ต้องเว้นระยะห่าง 2 เมตร 

- ล้างมือบ่อยๆ พกเจลแอลกอฮอล์

- หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด

- หลีกเลี่ยงกลุ่มเสี่ยงหรือผู้ที่มีอาการป่วย

“New Normal” ในบริบทของการทำธุรกิจ ค้าขาย รวมถึงภาพใหญ่ในระบบเศรษฐกิจของไทย พบว่าผู้คนยุคโควิด-19 จำเป็นต้องอยู่บ้านมากขึ้น
เกิดเทรนด์การทำงานรูปแบบใหม่คือ Work from Home ส่วนนักเรียนก็ต้องปรับตัวสู่การเรียนที่บ้านผ่านการ “เรียนออนไลน์”
การจับจ่ายซื้อของต่างๆ ก็ต้องซื้อออนไลน์กันมากขึ้น ดังนั้นธุรกิจหรือการค้าขายในความปกติรูปแบบใหม่จึงหนีไม่พ้นการทำธุรกิจออนไลน์
โดยเฉพาะธุรกิจขายสินค้าและจัดส่งแบบ “เดลิเวอรี่” ที่ Disruption พฤติกรรมคนเปลี่ยนในช่วงล็อกดาวน์
จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่

วัคซีนกับหน้าตาพันธุกรรมไวรัส

จากความเห็นของ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

“โรคโควิด-19 จะมีการปรับเปลี่ยนหน้าตาตลอด และจากที่มีการติดตามรหัสพันธุกรรมของตัวไวรัส พบว่ามีการผันแปลหน้าตาในทุกๆวัน ในแต่ละพื้นที่ แต่ละทวีปในประเทศใหญ่ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา เวลาที่เกิดการแพร่กระจายและไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้หมด เมื่อมีการแพร่กระจายจากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่ง
จนเกิดการแพร่กระจายเป็นวงกว้าง ก็จะทำให้ลักษณะพันธุกรรมมีการเพี้ยนไปเรื่อยๆ”

ความผันแปรที่เกิดขึ้นจะส่งผลให้ผู้ที่เคยติดเชื้อไปแล้ว สามารถเกิดการติดเชื้อซ้ำได้อีก เนื่องจากหน้าตาพันธุกรรมเกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้ภูมิคุ้มกันที่มีการสร้างจากการติดเชื้อครั้งแรก อาจจะไม่สามารถคุ้มกันการติดเชื้อครั้งที่ 2 ได้ โดยพบว่ามีการรายงานลักษณะนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และจากรายงานของต่างประเทศยังพบด้วยว่ามีการติดเชื้อครั้งที่ 2 เกิดขึ้น

อีกสิ่งที่สำญคือเราต้องมีการจับตาด้วยว่าวัคซีน ที่มีการผลิตออกมาว่าจะสามารถควบรวมหรือว่าครอบคลุมไวรัสทุกหน้าตาหรือไม่

สุขภาพจิต

ภาวะเครียด ผลพวงทางเศรษฐกิจตกต่ำ การเยียวยาด้านสุขภาพจิตจึงเป็นปัจจัยสำคัญ

อัตราการการฆ่าตัวตายเพราะความเครียดจากโควิด ธุรกิจปิดตัว ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2563 สูงถึง 2.5 พันคน ซึ่งมีการเปรียบเทียบกันว่าแทบจะไม่แตกต่างกับวิกฤติพิษเศรษฐกิจต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540

ขยะพลาสติก 

ขยะพลาสติกกลับมาในช่วงที่คนอยู่บ้านเพราะการล็อกดาวน์ จึงใช้บริการธุรกิจรับ-ส่งอาหาร เกิดขยะพลาสติกเพิ่มขึ้นเฉลี่ยวันละ 800 ตันต่อวัน
ซึ่งสำคัญต่อสุขภาพ เพราะมีงานวิจัยพบการปนเปื้อนในระบบนิเวศ ทำให้บริโภคและหายใจนำไมโครพลาสติกเข้าไปในร่างกายเฉลี่ยปีละ 50,000 อนุภาค

การเตรียมตัวรับมือเกี่ยวกับโควิด19 ในปี 2564 นั้น ขอแค่การ์ดอย่าตก คือ สวมหน้ากาก กินร้อน ช้อนตัว กินอาหารที่สุก

หมั่นล้างมือบ่อยๆ ก็สามารถช่วยป้องกันได้ไม่ว่าโควิดจะมาอีกสักกี่ระลอก

ติดต่อโฆษณา และบริการ
089-969-2100

รูปแบบบริการที่สนใจ * (เลือกอย่างน้อย 1 บริการ)