25 ธันวาคม 2563
14,895

ประกันสังคมเพิ่มสิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกันตน 4 ข้อ รับปีใหม่ 2564

ประกันสังคมเพิ่มสิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกันตน 4 ข้อ  รับปีใหม่ 2564
Highlight
สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เพิ่มสิทธิประโยชน์เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ 2564 แก่ผู้ประกันตน มาตรา 33 (มนุษย์เงินเดือน) และมาตรา 39 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ปี 2564 เป็นต้นไป

ปรับเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตร

  • ผู้ประกันตนที่มีบุตรอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปี

  • ได้สิทธิอะไร : ได้รับเงินเพิ่มจาก 600 บาท เป็น 800 บาทต่อคน จ่ายคราวละไม่เกิน 3 คน

  • จำนวนผู้ประกันตนที่ได้รับประโยชน์ : จำนวน 1.362 ล้านคน คิดเป็นเงิน 13,739 ล้านบาทต่อปี

  • ใช้งบประมาณ : 3,432 ล้านบาท

  • มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 64 เป็นต้นไป

  • ระยะการจ่ายเงินกรณีสงเคราะห์บุตร ผู้ประกันตนจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรที่ปรับเพิ่มของงวดเดือน ม.ค. 64 – เม.ย. 64 เป็นต้น

ปรับลดเงินสมทบฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายผู้ประกันตน

  • ปรับลดเงินสมทบเข้ากองทุน ประกันสังคม ฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายผู้ประกันตามมาตรา 33 เหลือ 3% และผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ลดลงเหลือ 278 บาท

  • เป็นระยะเวลา 3 เดือน (ตั้งแต่เดือน ม.ค. – มี.ค. 64) ‼️

  • เพื่อช่วยเหลือนายจ้าง และผู้ประกันตนที่ยังคงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ

  • ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของนายจ้าง และผู้ประกันตนในการจ่ายเงินสมทบรวมเป็นเงินจำนวน 15,660 ล้านบาท

ปรับเพิ่มค่าคลอดบุตร

  • ปรับเพิ่มค่าคลอดบุตรเป็น 15,000 บาท จากเดิม 13,000 บาท ซึ่งการดำเนินการในครั้งนี้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตาม

    พระราชบัญญัติประกันสังคม โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการประกันสังคม เรื่องหลักเกณฑ์และอัตราค่าส่งเสริมสุขภาพและป้องกัน

    โรคสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน พ.ศ.2563

  • ในปี 64 คาดว่า มีผู้ประกันตนที่ได้รับประโยชน์ทดแทนจากกรณีคลอดบุตร 293,073 คนต่อปี คิดเป็นเงิน 4,396 ล้านบาท

  • สำนักงานประกันสังคม จ่ายเงินงบประมาณเพิ่มขึ้น 586.146 ล้านบาท

ปรับเพิ่มค่าฝากครรภ์

  • ปรับเพิ่มค่าฝากครรภ์เป็น 5 ครั้ง รวมเป็น 1,500 บาท จากเดิม 3 ครั้ง 1,000 บาท

  • คาดว่าจะมีผู้ประกันตนได้รับสิทธิประมาณ 122,114 ครั้งต่อปี เป็นเงิน 36.6 ล้านบาท

  • สำนักงานประกันสังคมจ่ายเงินงบประมาณเพิ่มขึ้น 17.89 ล้านบาท ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 64 เป็นต้นไป

ใครอยู่ในมาตรา33 | มาตร39 บ้าง?

  •  ประกันสังคม มาตรา 33

    “ประกันสังคมมาตรา 33” สำหรับพนักงานเอกชนทั่วไป โดยมีการให้ความคุ้มครอง 7 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วย ตาย ว่างงาน คลอดบุตร

    สงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ ชราภาพ

  •  ประกันสังคม มาตรา 39

    “ประกันสังคม มาตรา 39” สำหรับผู้ที่เคยเป็นพนักงานเอกชนแล้วลาออก โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องเคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33

    ส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 12 เดือน ลาออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ลาออกจากงาน ให้ความคุ้มครอง 6 กรณี ดังนี้

    เจ็บป่วย ตาย คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ ชราภาพ

สำหรับผู้ที่รับผลกระทบในกรณีว่างงาน ที่เกี่ยวกับการล็อกดาวน์ในพื้นที่เสี่ยงโควิด19 ทางประกันสังคมเตรียมให้ความช่วยเหลือ ดังนี้

กรณีที่ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย และหน่วยงานของรัฐสั่งปิดพื้นที่
เพื่อป้องกันการระบาด ของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ

เป็นผลกระทบให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนไม่ได้ทำงาน และไม่ได้รับค่าจ้างในระหว่างนั้น

  • ลูกจ้างดังกล่าวซึ่งไม่ได้รับค่าจ้างดังกล่าว มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีว่างงาน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวัน

  • เงื่อนไขการรับผลประโยชน์ให้ได้รับตลอดระยะเวลาที่รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐ สั่งปิดพื้นที่

  • ทั้งนี้ ภายในระยะเวลา 1 ปีปฏิทินมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย ทุกครั้งรวมกันไม่เกิน 90 วัน ดังนั้น

หากร่างกฎกระทรวงฯ มีผลใช้บังคับจะทำให้ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบ จากการที่หน่วยงานของรัฐสั่งปิดพื้นที่เพื่อป้องกันการระบาดของ
โรคติดต่ออันตราย คาดว่าจะมีผู้ใช้สิทธิ จำนวน 700,727 ครั้ง ได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย คิดรวมเป็นเงินกว่า 5,225 ล้านบาท

ติดต่อโฆษณา!