15 พฤศจิกายน 2565
1,096

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น อาจช่วยต่อชีวิตใครสักคนด้วยมือคุณ

Highlight

เรามักพบเห็นอุบัติเหตุต่างๆเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุทั้งทางบก ทางน้ำ สัตว์มีพิษกัด หรือแม้กระทั่งโรคลมชัก การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วยเป็นการฉุกเฉิน ก่อนที่จะได้รับการรักษาทางการแพทย์ ความรู้ด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้น จึงจำเป็นมากสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหรือหมดสติ  เพราะการช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างถูกวิธี การปฐมพยาบาลเบื้องจะช่วยให้ผู้ป่วยเจ็บรอดชีวิตได้


ความสำคัญของการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

ในทุกๆโรคถ้าหากไม่มีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ถูกต้องและเหมาะสม กว่าจะนำผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล อาจจะไม่ทันการ อาจเสียชีวิต เช่นอาจจะมีภาวะหัวใจขาดเลือด หายใจไม่ออก หรือหัวใจหยุดเต้น เป็นต้น

ผศ. พญ.วิจิตรา เลี้ยงสว่างวงศ์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ให้ความรู้และคำแนะนำ “การปฐมพยาบาลอย่างไรให้ถูกวิธี” ในหลายๆ เหตุการณ์ดังต่อไปนี้




การช่วยคนตกน้ำ

มีข่าวพลเมืองดี กระโดดลงน้ำไปช่วยคนที่กำลังตกน้ำที่ลอยตัวอยู่บนกองสวะ เป็นการช่วยเหลือที่ถูกต้องหรือไม่

การช่วยเหลือคนตกน้ำ ถ้าหากช่วยเหลือด้วยการว่ายน้ำไปช่วย คนที่กำลังตกน้ำ เขาจะมีอาการตกใจและเกาะ และอาจจะโดนกด และจมน้ำไปอีกคนได้  วิธีการช่วยคือ  “ตะโกน โยน ยื่น”  คือตะโกนให้คนมาช่วย หรือโยนเชือกให้เกาะ หรือวัสดุให้เกาะ แล้วค่อยๆลากเข้าฝั่ง จากนั้นเรียกรถกู้ภัยให้ช่วย


20221115-c-03.jpg
20221115-c-04.jpg
20221115-c-05.jpg

การช่วยเหลือคนเป็นโรคลมชัก

ให้จับนอนตะแคง ห้ามเอามือไปงัดปากเด็ดขาด อาจจะถูกกัดคนนิ้วขาดได้ วัตถุ ช้อน ก็อาจจะกัดขาด และหล่นไปอุดกั้นทางเดินหายใจได้  เนื่องจากคนที่เป็นลมชักจะมีอาการเกร็ง ไม่รู้สึกตัว จะใช้แรงทั้งหมดที่มี ถ้าญาติๆไปใช้วิธีดึงแขนดึงขา ให้ยืดออก อาจจะทำให้เกิดแขนขาหักได้

บางครั้งอาจจะไม่ใช่โรคลมชัก แต่เป็นภาวะหายใจเกิน ยังรู้สึกตัวอยู่ เป็นภาวะทางอารมณ์ ก็ให้อยู่ที่ร่ม พยายามบอกให้หายใจช้าๆ สักพักก็หายเองได้


20221115-c-06.jpg

การปฐมพยาบาลผู้ป่วยจากอุบัติเหตุพื้นที่ห่างไกล

ถ้าหากมีเลือดออก ก็ต้องกดแผลเพื่อหยุดเลือด และสังเกตดูว่ามีเลือดซึมขึ้นมาที่ผ้ากอซหรือไม่ ถ้ามีเลือดซึมขึ้นมาแสดงว่า กดเลือดไม่อยู่แล้ว มีการฉีกขาดของเส้นเลือดแดง เราใช้วิธีพันบริเวณแผลแทน และมีเลือดซึมอีก ต้องทำทูนิเก้ คือการทำสายรัดบริเวณเหนือบาดแผล 5-10 ซม. ถ้ามีกระดูกหักร่วมด้วย มีการผิดรูปที่แขนขา ต้องดามแขนขา ด้วยและให้ขยับน้อยที่สุด วิธีการดามก็คือนำแผ่นไม้ ที่หาได้บริเวณนั้นมาวางดามใต้แขน ขา และพันผ้า และรีบส่งโรงพยาบาล ซึ่งการรักษาต่อจากนั้นอาจจะมีการเอกซเรย์ การเย็บแผล ทำความสะอาดแผล การฉีดยาป้องกันบาดทะยัก

ไฟไหม้รถ คนขับหนีออกรถได้ทันเวลา 

กรณีที่เกิดไฟไหม้ในที่ปิด คนที่ติดอยู่ในที่ดังกล่าวอาจจะสูดดมควัน รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย เช่น ไซยาไนด์ คาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ เพราะฉะนั้นสิ่งที่สำคัญคือ จะต้องนำคนไข้ออกจากจุดเกิดเหตุให้เร็วที่สุด และให้ออกซิเจนก่อนเพราะจะมีสารพิษเหล่านี้ออกมา และนำส่งโรงพยาบาล เพราะต้องเช็คร่างกายว่าได้รับสารเหล่านี้ในปริมาณมากหรือไม่ ต้องรักษาจำเพาะหรือไม่

แผลไฟไหม้ ซึ่งแบ่งได้เป็นหลายระยะ เช่นการเที่ยวทะเล ผิวไหม้ระยะแรก อาจจะหายได้เอง แต่ถ้าไหม้เป็นระยะที่ 2 และ 3 อาจจะเริ่มเห็นที่ลอกมีตุ่มน้ำใส หรือเจ็บมาก

ระยะที่สาม อาจจะต้องถอดเสื้อผ้าออก และพยายามล้างน้ำอุณหภูมิห้อง และไปโรงพยาบาล

เด็กเผลอกินลวดที่มัดไก่ย่าง หรือเผลอกินลวดจากตัวแม็ค จะต้องทำอย่างไร

เป็นเรื่องที่อันตราย เมื่อวัสดุผ่านไปจุดไหน ก็จะบาดไปทุกจุด บางคนอาการรุนแรง เช่น ลำไส้ทะลุ กระเพาะทะลุ เมื่อไปถึงโรงพยาบาลหมอก็ส่องกล้องตรวจดูอาการ หมอทำได้เพียงการรีบนำวัสดุออกมา และเย็บแผลให้ แต่เมื่ออวัยวะมีการฉีกขาดเกิดขึ้นแล้ว แม้จะเย็บแผลแล้ว แต่ก็ไม่กลับมาเหมือนเดิม และเป็นปัญหาเรื้อรังต่อไป

20221115-c-01.jpg

20221115-c-02.jpg

การเอาตัวรอดจากฝูงชนที่เบียดเสียดจนขาดอากาศหายใจ

กรณีฝูงชนแออัดเบียดเสียด หากมีการล้มคนด้านหลังก็จะทับกันเป็นโดมิโน่ ส่วนใหญ่จะขาดอากาศหายใจ และได้รับบาดเจ็บกระดูกหัก เลือดออกในช่องท้อง เป็นต้น ไม่ว่าจะเป็นการจัดงานอีเว้นท์ใหญ่ๆ เช่น คอนเสิร์ต งานมหกรรมต่างๆ จึงมีหน่วยพยาบาลเป็นจุดๆ เพื่อรองรับสถานการณ์ เข่นอาจจะเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ไฟฟ้าช็อต

การทำซีพีอาร์ กรณีขาดอากาศหายใจ จำเป็นมาก ถ้าหากไม่ทำอาจจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ประการแรก ต้องนำผู้ป่วยออกจากที่เกิดเหตุ ถอดกระดุมเสื้อผ้าให้หลวมๆ แล้วซีพีอาร์

ในกรณีที่เกิดการเหยียบกันตายเป็นจำนวนมากที่อิแทวอน ประเทศเกาหลี เกิดจากการอยู่ในที่แออัดมีผู้คนเป็นจำนวนมาก จนไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นหากไม่จำเป็น ก็ไม่ควรไปอยู่ในสถานที่ที่มีความเสี่ยงในลักษณะนั้น ไม่ว่าจะเป็นงานคอนเสิร์ต หรือการชุมนุมใดๆ เพราะเมื่อเกิดเหตุ ทุกคนอยู่ในอาการตกใจ ไม่สามารถควบคุมเหตุการณ์ได้ และมีการเหยียบกันตายในที่สุด

ดังนั้นต้องมีสติ เมื่อเห็นว่าตกอยู่ในสถานการณ์ที่เสี่ยงในลักษณะนี้ จะต้องเอามือกันหน้าอกด้านหน้าไว้เพื่อให้มีพื้นที่ ช่วงหน้าอกสำคัญที่สุด เพราะอาจโดนเบียดจนไม่มีช่องหายใจ หรือซี่โครงหัก หรือปีนขึ้นกำแพงหนีไป อย่ากรี้ดโวยวาย เก็บออกซิเจนไว้ให้มากที่สุด สังเกตทางออกให้ดี และพยายามอย่าล้มเป็นอันขาด

เจองูกัด ทำอย่างไร

งูในประเทศไทย เป็นงูที่มีพิษหลายชนิด เช่น งูเขียวหางไหม้ งูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม เป็นต้น เมื่อโดนงูกัดต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด ห้ามไปดูดพิษใดๆบริเวณแผล เพราะอาจจะทำให้ติดเชื้อได้ สิ่งสำคัญ ให้บริเวณที่โดนกัดขยับน้อยที่สุด สิ่งที่กลัวที่สุดคือพิษงูจะเข้าสู่ระบบประสาทจะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อกระบังลมที่ช่วยในการหายใจ ระบบเลือด เป็นต้น

แมลงก้นกระดกกัด จะทำอย่างไร

ห้ามสัมผัสเด็ดขาด ห้ามเอาไม้ตี เพราะจะให้แมลงแพร่พิษออกมาได้ เพียงแค่แมลงเหล่านี้เดินบนผิวหนังของเรา ปิวหนังอาจจะไหม้ เกิดแผลตุ่มพอง แสบคัน ตามรอยที่แมลงเคลื่อนที่ไป ดังนั้นห้ามขยี้ หรือตีโดยเด็ดขาด อาจจะใช้กระดาษทิชชู่จับแมลงไปทิ้งที่อื่น ถ้าหากสัมผัสแล้ว รักษาอาการโดยการล้างน้ำ แล้วเช็ดให้แห้ง ทายาป้องกันการอักเสบ

การจำแนกภาวะฉุกเฉินของผู้ป่วยในโรงพยาบาล

ผู้ป่วยฉุกเฉิน เมื่อมาถึงโรงพยาบาล จะมีการจัดลำดับคัดกรองผู้ป่วย แบ่งออกเป็น 5 ระดับ คือ แดง 1, แดง 2, แดงชมพู, แดงส้ม จะเป็นกลุ่มผู้ป่วยหนักเป็นค้น  แล้วแต่โรงพยาบาล การรักษาผู้ป่วยจะแบ่งตามภาวะฉุกเฉินของคนไข้ ไม่ได้แบ่งตามคิว

วิธีการทำซีพีอาร์

ให้สังเกตผู้ป่วยดูว่ายังรู้สึกตัว หรือหายใจอยู่หรือไม่ หากไม่มีการตอบสนองให้เริ่มทำซีพีอาร์ได้เลย และรีบโทร.หารถพยาบาล และช็อตไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (ถ้ามี)  วิธีการทำพีซีอาร์ หลังจากการปลดกระดุมเสื้อผ้าผู้ป่วยหลวมเพื่อให้มีการผ่อนคลาย และทำซีพีอาร์ได้ตรงจุด ให้วางมือบนตัวผู้ป่วยโดยยึดแนวราวนมทั้งสองข้างและจุดกึ่งกลางหน้าอก ใช้มือทั้งสองข้างวางทับกัน เหยียดแขนตรง และปั้มหัวใจอย่างมีจังหวะ ทำจนกว่าคนไข้จะรู้สึกตัว หรือทีมฉุกเฉินจะมาถึง กรณีที่มีผู้ช่วยชีวิตผู้ป่วยผ่านการเทรนดูเกี่ยวกับการช่วยชีวิตมาก่อนแล้ว จะใช้วิธีปั้มหัวใจ 30 ครั้ง สลับกับการช่วยหายใจ 2 ครั้ง และจะเปลี่ยนคนทำทุกๆ 2 นาที

ซึ่งในการช่วยชีวิตคนคนหนึ่งคนในภาวะฉุกเฉินจะใช้ทรัพยากรทางการแพทย์สูงมาก ดังนั้นในแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลจึงช่วยผู้ป่วยในกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ก่อนเพราะหมายถึงนาทีชีวิตจริงๆ ในขณะที่บุคลากรทางการแพทย์มีน้อย และจำนวนผู้ป่วยมีมาก



20221115-c-07.jpg



ติดต่อโฆษณา!