02 พฤศจิกายน 2565
1,231

RSV ไวรัสตัวร้ายใกล้ตัวเด็ก

Highlight

RSV เป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ มักจะเกิดข้ึนในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า  5 ขวบ มีอาการคล้ายๆ ไข้หวัด โรคติดเชื้อไวรัส RSV จะอันตรายมากหากเด็กมีภาวะแทรกซ้อน เช่นมีอาการเชื้อลงปอด ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ โรคนี้ไม่มีวัคซีนป้องกัน และต้องสังเกตอาการของเด็ก หากหายใจเร็ว ไอ หอบเหนื่อย มีเสมหะมากๆ จะต้องรีบพบแพทย์ทำการรักษา


20221102-c-01.jpg

RSV เป็นโรคเกี่ยวกับอะไร

RSV หรือ Respiratory Syncytial Virus เป็นไวรัสชนิดหนึ่งที่ก่อโรคทางระบบทางเดินหายใจที่พบบ่อยในเด็กโดยเฉพาะเด็กเล็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่าง การระบาดของเชื้อนี้มักพบในฤดูฝนและฤดูหนาวในประเทศไทย

20221102-c-02.jpg

อาการของไวรัส RSV

คล้ายไข้หวัดธรรมดา หายใจมีเสียงหวีด เบื่ออาหาร ตัวเขียว หอบเหนื่อย หายใจเร็ว แรง มีเสมหะมาก ไอ สำหรับเด็กเล็กจะมีอาการเชื้อลงปอด หรือลงหลอดลมฝอยได้ง่ายทำให้อักเสบติดเชื้อ ถ้าอาการรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ถ้าติดในเด็กโตจะมีอาการน้อยกว่า ในขณะที่เชื้อไข้หวัดทั่วไปก็จะหายได้เอง สำหรับเชื้อ RSVนั้นนอกจากเด็กเล็กแล้ว ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยมีโรคประจำตัวก็ถือเป็นกลุ่มเสี่ยง เช่นกัน

20221102-c-03.jpg

วิธีการดูแลรักษา

RSV ไม่มียาต้านไวรัสเหมือนไข้หวัดใหญ่ หรือเชื้อโควิด มียาบางตัวที่ใช้เป็ยาพ่นแต่ไม่ได้ช่วยให้หายเร็วขึ้น ส่วนใหญ่รักษาแบบประคับคับประคอง รักษาตามอาการเป็นหลัก ในเด็กเล็กจะรักษาเสมหะ ต้องพ่นยา หรือดูดเสมหะออกไป

ในเด็กอาจจะกินข้าวหรือดื่มน้ำน้อยลง ซึ่งจะต้องให้สารอาหารทางน้ำเกลือเพื่อดูแลให้พ้นช่วงวิกฤตไปได้ ซึ่งหมอจะมีวิธีตรวจร่างกาย เพื่อวินิจฉัยโรค

วิธีการป้องกันการติดเชื้อ RSV

ล้างมือบ่อยๆ  เว้นระยะห่าง  ปิดปากจมูกเมื่อไอ จาม รักษาความสะอาด สัมผัสใบหน้า ใกล้ชิดผู้ป่วยและเด็ก ใช้ของส่วนตัวร่วมกัน

ในช่วงที่เชื้อไวรัส RSV ระบาดอาจจะต้องดูแลบุตรหลานใกล้ชิดโดยเฉพาะช่วงที่มีปัญหาลงปอด เช่น หายใจเร็ว ไอ มีเสมหะมากๆ หายใจแล้วอกบุ๋ม  ควรมาตรวจรักษาเพื่อที่หมอจะประเมินว่าควรจะต้องนอนโรงพยาบาลเพื่อเข้ารับการรักษาหรือไม่ หรือผู้ใหญ่ที่มีโรคประจำตัวควรแยกออกไปจากเด็กที่ป่วย เพราะอาจจะติดเชื้อรุนแรงได้

คำถามสุขภาพ

อายุ 78 ปี มีโรคประจำตัวหอบหืด ฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มที่ 4 เมื่อ 4 เดือนก่อน ควรฉีดเข็มที่ 5 เมื่อไหร่

กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศแล้วว่า เข็มที่ 5 ให้เป็นไปโดยความสมัครใจ และควรเว้นระยะ 4 เดือนขึ้นไป ซึ่งขั้นต่ำควรจะได้รับ 3 เข็มขึ้นไป ซึ่งถ้าได้รับ 4 เข็มจะดีกว่าเพราะยังไม่เจอเคสรับวัคซีน 4 เข็มแล้วเสียชีวิต ส่วนเข็มที่ 5 อาจจะรอวัคซีนตัวใหม่ ซึ่งเป็นวัคซีน Gen 2 ที่สหรัฐเริ่มฉีดกันแล้ว ฉีดฟรี จะสามารถป้องกันเชื้อได้สองสายพันธุ์ คือ เรียกว่าวัคซีน Bivalent

เป็นเบาหวาน กินกาแฟดำ ใส่หญ้าหวาน ใส่น้ำผึ้ง ได้หรือไม่

แนะนำกินกาแฟดำดีกว่า สำหรับหญ้าหวานยังไม่มีการวิจัยว่ามีน้ำตาลออกมาหรือไม่

สำหรับน้ำผึ้งนั้นมีน้ำตาลและความหวานเกือบเท่าน้ำตาลแท้ ดังนั้นการกินน้ำผึ้งมากก็จะเป็นผลเสียได้เช่นกัน

อายุ 76 ปี น้ำหนัก 50 กก. ส่วนสูง 160 ซม. ปัสสาวะ 12 ครั้ง กินน้ำ 3-4 ลิตร ผิดปกติหรือไม่

ไม่ถือว่าผิดปกติ ถ้าไม่ปัสสาวะกลางคืนบ่อย แต่อาจจะมีเบาหวาน หรือโรคต่อมไร้ท่อ หรือไม่ ดังนั้นถ้าหาสงสัยอาจจะต้องเช็คเลือดหรือพบหมอ

อายุ 26 ปี น้ำหนัก 75 กก. คอเลสเตอรอล 237 มีไตรกลีเซอไรด์ 289 ไม่มีโรคประจำตัว มีอาการสะอึกเป็นระยะ  เจ็บหน้าอก หลังรับประทานอาหารมื้อใหญ่ๆ

คอเลสเตอรอล ปกติไม่เกิน 200   ไตรกลีเซอไรด์ปกติไม่ควรเกิน 150 ต้องลดแป้งและลดหวาน ไตรกลีเซอไรด์ค่อนข้างลดง่าย เพียงแต่ควบคุมอาหาร การสะอึก อาจจะมาจากโซเดียมต่ำ หรือสาเหตุอื่น แนะนำลดน้ำหนัก

เด็กเล็ก อายุ 4-5 เดือน ฉีดวัคซีนป้องกัน RSV ได้หรือไม่

RSV ไม่มีวัคซีนป้องกัน ในต่างประเทศมียาแอนติบอดี้สำเร็จรูป จะให้เด็กก่อน 1 ขวบในกลุ่มเด็กที่มีความเสี่ยง เช่น คลอดก่อนกำหนด ราคาค่อนข้างแพงมาก

อาการตัวเหลืองในเด็ก รักษาอย่างไร

ทารกแรกเกิดอาจมีภาวะตัวเหลืองได้ อาจจะมีโรคหรือไม่มีก็ได้ แนะนำว่าควรพาเด็กมาหาหมอ เพื่อรับการรักษา เพราะอาจจะเป็นภาวะไม่ปกติ อาจทำให้ภาวะแทรกซ้อนขึ้นสมอง อาจจะทำให้พัฒนาการช้าได้ หรืออาจทำให้ท่อน้ำดีอักเสบ

อายุ 57 ปี ความดันสูง 140 หมอให้กินยาแลนซาร์ 50 มล. แต่ผู้ป่วยกินน้ำมันตับปลาเสริม ความดันกลับมาปกติ หมอให้เลิกกินน้ำมันตับปลา แต่ผู้ป่วยจะเลิกกินยาแทนได้หรือไม่

ไม่แนะนำให้เลิกกินยา และควรทำตามแพทย์สั่ง ไม่ควรกินยาอย่างอื่น ไปพร้อมกับยาที่แพทย์สั่งให้ เพราะอาจทำให้ฤทธิ์ยาหักล้างกันได้ หรือมีปัญหาข้างเคียงเช่น ตับ ไต ทำงานหนัก โดยปกติไม่จำเป็นต้องกินอาหารเสริม แต่ควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ก็เพียงพอแล้ว

ติดต่อโฆษณา!