30 ตุลาคม 2565
1,666

ข้อเข่าเสื่อม ห้ามเป็นไม่ได้ แต่ชะลอได้

Highlight

เมื่ออายุมากขึ้น ปัญหาโรคข้อเข่าเสื่อม เกิดขึ้นได้และพบเห็นทั่วไป สาเหตุมาจากภาวะกระดูกอ่อนผิวข้อเข่า มีการสึกหรอและเสื่อมอย่างช้าๆ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บเข่า เดินลำบาก เข่างอ โก่งผิดรูป มีอาการลักษณะนี้ต้องรีบปรึกษาแพทย์ เพราะต่อไปอาจจะอาจจะเดินไม่ได้ การรักษาอาจจะต้องผ่าตัดเปลี่ยนเข่าเทียม วิธีการป้องกันการเป็นข้อเข่าเสื่อม หรือชะลอการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมคือ การออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกินไป จะช่วยลดการทำงานข้อเข่าลง


20221030-b-01.jpg

20221030-b-02.jpg

โรคกระดูกและข้อเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ โดยข้อที่เสื่อมมากที่สุดคือข้อเข่าเพราะมีขนาดใหญ่ และยังอยู่ในตำแหน่งที่รับน้ำหนักของร่างกายโดยตรง ทั้งยังทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวตลอดเวลา ซึ่งทำให้เสื่อมได้ง่าย หากอาการรุนแรงจนไม่สามารถใช้งานข้อเข่าได้ตามปกติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ผศ.นพ.กุลพัชร จุลสําลี ศัลยกรรมกระดูกและข้อ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ และ อ. พญ.นวลวรรณ ลีลาภัทรพันธุ์ ภาควิขาโสต ศอ นาสิก ร่วมแชร์ความรู้ด้านสุขภาพ รวมทั้งวิธีป้องกันและรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม

ข้อเข่าเสื่อมคืออะไร

คือโรคที่ภาวะกระดูกอ่อนผิวข้อเข่า มีการสึกหรอและเสื่อมอย่างช้าๆ และจะเป็นมากขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป อาการที่มักพบเจอ เช่น ขยับยาก ติดขัด มีอาการเจ็บเมื่อกระดูกเสียดสี ทำให้เข่าบวม อักเสบ มีการทำลายกระดูกอ่อนในผิวเรื่อยๆ  มีอาการปวดไปจนถึงใช้งานข้อเข่าลำบาก

สาเหตุของข้อเข่าเสื่อม

มาจากพฤติกรรมการใช้งานข้อเข่าหนัก การมีน้ำหนักตัวมาก อาชีพที่ต้องใช้เข่ามาก ภาวะติดเชื้อ โรครูมาตอยด์ โรคเกาต์ เคยมีอุบัติเหตุ หรือมีโรคประจำตัว เช่นภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือการเสื่อมสภาพกระดูกอ่อนจนข้อเข่าเสื่อมในที่สุด

อาการข้เข้าเสื่อม ระยะแรกจะมีอาการขัดๆ เมื่อจะลุกเดิน เข่าจะงอยาก ต้องเดินช้าๆ ขาแข็ง เรียกว่า ‘ข้อติด’ หรือการนั่งรถนานๆ ก็อาจจะเป็นได้  ลักษณะติดๆจัดอาจมาจากผิวไม่เรียบที่ข้อเข่า ถ้าเป็นมากๆ เข่าอาจจะงอผิดรูป โก่ง เก ออกข้าง เข่าไม่ล็อค เวลาเดินอาจจะต้องโยกตัวช่วยให้มีความสมดุล


20221030-b-03.jpg

ความรุนแรงของข้อเข่าเสื่อม

ระยะเริ่มต้น ทำกิจวัตรได้ตามปกติ ถ้าใช้งานหนักเล็กน้อยจะเริ่มปวด

ระยะที่สอง เริ่มทำงานหนักไม่ได้

ระยะที่สาม เริ่มทำกิจวัตรประจำวันไม่ได้

ระยะที่สี่ แทบจะทำอะไรไม่ได้ ปวดตลอดเวลา หรือต้องใช้อุปกรณ์พยุง


20221030-b-04.jpg

การป้องการดำเนินโรคเมื่อมีอาการข้อเข่าเสื่อม

  • เรื่องการดูแลน้ำหนักตัว ไม่ให้มากเกินไป ค่อยๆลดทีละ 5%
  • สร้างกล้ามเนื้อต้นขา หรือเส้นเอ็นรอบเข่า ให้แข็งแรงโดยการออกกำลังกาย

การดูแลสุขภาพกล้ามเนื้อรอบได้ข้อเข่า สามารถฟื้นฟูได้  ถ้ากล้ามเนื้อรอบได้ข้อเข่าแข็งแรง ช่วยกระดูกรับน้ำหนักได้ ดังนั้นการบริหารกล้ามเนื้อต้นขาสำคัญมาก

  • ปรับอิริยาบถ นั่งยองๆน้อยลง เลี่ยงการนั่งพับเพียบ คุกเข่า
  • ขึ้นลงที่สูงให้น้อยลง
  • การวิ่ง ไม่ต้องกระโดดลอย หรือทำความเร็วเยอะ อาจทำให้ข้อเข่าแย่ลง
  • การออกกำลังกายเป็นประจำป้องกัน ข้อเข่าเสื่อมได้
  • หากเริ่มมีอาการ ให้รีบพบแพทย์


การรักษาข้อเข่าเสื่อม

การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม แบ่งเป็นแบบไม่ผ่าตัด และผ่าตัด

แบบไม่ผ่าตัด จะแบ่งออกเป็นการใช้ยาบรรเทาอาการปวด อักเสบ แต่ควรหลีกเลี่ยงการทานยาติดต่อกันนานหลายสัปดาห์ เพราะอาจมีผลต่อ ตับ ไต

ประเภทอาหารเสริม มีทั้งแบบรับประทาน และฉีดเข้าไปในข้อเข่าหรือน้ำหล่อเลี้ยงข้อเข่า กลุ่มนี้เป็นตัวเสริม แต่ไม่ได้ทำให้หายไป มีบางกรณีที่ตอบสนองบ้าง ถ้าอาการมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และเอ็กซ์เรย์ออกมาเป็นระยะสุดท้าย ก็ต้องเข้าสู่กระบวนการผ่าตัด

การผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม จะมีการใส่ข้อเข่าเทียม ซึ่งช่วยลดอาการปวด เข่าผิดรูปได้  แต่จะไม่สามารถออกกำลังกายหนักๆ ได้  เช่น การวิ่ง เป็นต้น

อายุการใช้งานของข้อเข่าเทียม โดยทั่วไปจะใช้งานได้ประมาณ 15-20 ปี และเสรื่มสภาพไปจากแผ่นพลาสติกที่รองรับน้ำหนัก มีการเสื่อมสภาพไป ผู้ใช้งานอาจจะเกิดอาการบวม เจ็บๆ หายๆ อาจจะมีการหลวม ก็อาจจะผ่าตัดซ้ำเพื่อเปลี่ยนแผ่นพลาสติกหรือเปลี่ยนยกชุด

สรุป การป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม ทำได้โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รีบประทานอาหารมีประโยชน์และควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้ข้อเข่าทำงานหนักเกินไป

คำถามด้านสุขภาพอื่นๆ

อายุ 28 ปีหัวเข่ามีเสียงแกร็ป เวลาเดินมีติดขัด เกิดจากอะไร รักษาอย่างไร

เสียงคล้ายผังผืดในข้อเข่า เวลาเดินจะไปขูดกับกระดูกอ่อนผิวข้อ ทำให้มีการเสื่อมสภาพ เข่าบวม ถือว่าเป็นโรคผิวข้ออักเสบ ควรรีบไปตรวจ

อายุ 56 ปี สูง 155 ซม. มีอาการไทรอยด์เป็นพิษและคอโต อาหารแสลงมีอะไรบ้าง

เป็นอาการที่เกิดจากต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์สูงผิดปกติในร่างกาย ทำให้ต่อมไทรอยด์โตขึ้นตรงคอ มีอาการไฮเปอร์ไทรอยด์ คือ เหนื่อยง่าย น้ำหนักลดผิดปกติท้องเสีย หงุดหงิด นอนไม่หลับกระสับกระส่าย  อาหารที่ควรลดคืออาหารที่มีไอโอดีนสูง เช่นอาการทะเลบางประเภท เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ทานได้ตามปกติ ลดการทานเกลือไอโอดีนสูง

อายุ 56 ปี สูง 137 ซม. มีน้ำมูกไหลหลังรับประทานอาหารแม้อาหารไม่เผ็ด มีเสมหะเยอะมาก คันตาบ่อยๆ

จากประวัติคร่าวๆไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าเกิดจากอะไร ปกติการรับประทานอาหารเผ็ดร้อนมักมีน้ำมูกไหลเป็นปกติ  แต่ถ้าอาหารไม่เผ็ด ต้องสังเกตว่ารับประทานอาหารอะไร แล้วมีอาการ ก็ควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทนั้น หากยังกังวลควรจะพบแพทย์ เพื่อตรวจอย่างละเอียด

อายุ 41 ปี เป็นภูมิแพ้จมูก สามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ ปัจจุบันทานยาภูมิแพ้

ถ้าผู้ป่วยมีความไวต่อสารกระตุ้น เช่น ไรฝุ่น เกษรดอกไม้ ขนแมว ขนสุนัข แมลงสาบ ถ้าหลีกเลี่ยงได้ ก็ไม่ต้องใช้ยา แต่ถ้าหลักเลี่ยงไม่ได้ก็ต้องใช้ยาลดการแพ้ การพักผ่อนให้เพียงพอมีส่วนช่วยลดอาการได้ คนที่แพ้มากๆ ก็สามารถฉีดวัคซีนสารก่อภูมิแพ้ที่ผิวหนัง ซึ่งจะช่วยลดอาการได้ในระยะ 3-5 ปี อย่างไรก็ตามเป็นการรักษาอาการทางการแพทย์

อายุ 65 ปี น้ำหนัก 85 กก. สูง 170 ซม. เจ็บหัวเข่าขวา เวลาขึ้นบันไดต้องจับราวบันได เป็นโรคกระเพาะ เท้าบวมร่วมด้วย ไปพบแพทย์และทานยา มีวิธีไหนที่ไม่ต้องทานยาได้บ้าง

อาการค่อนข้างชี้ไปทางเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม หากมีอาการเข่าบวม ในช่วงที่บวมแนะนำให้ไปโรงพยาบาล เจาะน้ำที่เข่าไปตรวจ บางทีอาจมีโรคที่ซ่อนอยู่โดยที่เราไม่รู้ตัว บางคนอายุ 65 ปี เจาะน้ำในเข่าพบเป็นโรคเกาต์ หรือเกาต์เทียม เมื่อรักษาให้โรคเกาต์สงบอาการเจ็บเข่าก็หายไป  ถ้าไม่ทานยา ต้องรอให้ข้อเข่าหายเจ็บ พักการใช้งาน อย่างเพิ่งเดินเยอะในช่วง 3-4 วัน ถ้ายังไม่หายเจ็บควรไปโรงพยาบาลอีกครั้ง 

กล้ามเนื้ออักเสบกับกระดูกหลังเสื่อมต่างกันอย่างไร

กระดูกหลังเสื่อม จะเจ็บที่ตำแหน่งที่เสื่อมบริเวณกลางหลัง ถ้ากรณีที่เจ็บอาจเกิดจากกระดูกที่เสื่อมเสื่อมกดทับเส้นประสาทใกล้เคียงบริเวณที่ไขสันหลังด้วย อาจจะทำให้รู้สึกปวดร้าวไปตามเส้นประสาท ไปถึงช่วงเอว ขา หรือถึงเท้า

ในขณะที่อาการปวดกล้ามเนื้อ จะปวดข้างๆกระดูกสันหลัง ไม่ได้อยู่ตรงกลาง ถ้ากล้ามเนื้ออักเสบ เมื่อกดที่กล้ามเนื้อจะมีอาการเจ็บปวดและตึงขึ้นมา ดังนั้นอยู่ที่ตำแหน่งว่าเจ็บบริเวณไหน

ติดต่อโฆษณา!