26 ตุลาคม 2565
958

ประจำเดือน สัญญาณเตือนเรื่องสุขภาพ

Highlight

ประจำเดือน เรื่องที่ผู้หญิงจะต้องพบเจอตั้งแต่ช่วงวัยรุ่นอายุ 12 ปี ขึ้นไปจนถึงวัยทองที่ประมาณ 50 ปี ซึ่งหมายถึงภาวะที่ผู้หญิงมีความพร้อมในช่วงวัยเจริญพันธุ์ การมีประจำเดือนบ่งบอกอะไรเกี่ยวกับสุขภาพตัวเราหลายอย่าง เช่น สีของประจำเดือน ประจำเดือนมามากเกินไป ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ อาการปวดท้องที่มากกว่าปกติเป็นเวลาหลายวัน ส่งผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต เมื่อเกิดภาวะผิดปกติควรไปหาหมอ เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคมะเร็ง รู้เร็ว รักษาทันท่วงที มีโอกาสหายได้ ดังนั้น เราควรใส่ใจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ




ประจำเดือน เป็นเรื่องสำคัญ เพราะอาจเป็นสัญญาณเรื่องสุขภาพของผู้หญิง ประจำเดือนมาปกติ มามากเกินไป สามารถบอกอะไรเราได้บ้าง ผศ. พญ. อรวิน วัลลิภากร ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา สาขาวิชาเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มีคำตอบ เรื่องสุขภาพของผู้หญิงที่ไม่ควรละเลย และคนใกล้ตัวก็ควรรู้ ประจำเดือนเรื่องใกล้ตัวที่สร้างความหงุดหงิดให้กับผู้หญิง  และในทางกลับกัน ก็สร้างความไม่เข้าใจให้กับเหล่าผู้ชาย วิธีรับมือเบื้องต้น ที่หมอแนะนำได้ ท่องไว้ คืออดทน เพราะสิ่งที่ผู้ชายเจอแต่ละเดือน เทียบไม่ได้กับความรู้สึกเจ็บปวดความอึดอัด ไม่สบาย
เนื้อสบายตัวกับสิ่งที่ผู้หญิงเจอหลายเท่า ที่ผู้หญิงต้องเผชิญ คือต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยอยู่บ่อยๆ และเสียเลือดอยู่หลายวัน ครั้นเนื้อครั่นตัวกับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง ปวดตัว ปวดหัว ปวดหลัง คัดเต้านม ปวดท้องมากๆ  หรืออยากกินของรสจัด หิวจัด หรืออารมณ์หงุดหงิดง่าย อาการเกี่ยวกับประจำเดือน
เชื่อมโยงกับมะเร็งอีกด้วย 



20221026-c-04.jpg

ประจำเดือน หรือ Menstruation หรือเรียกกันสั้นๆ ว่า “เมนส์” คือ การที่มีเลือดออกมาทางช่องคลอดเป็นประจำทุกเดือน เป็นอาการแสดงความพร้อมของร่างกายสู่การเจริญพันธุ์ ประจำเดือนเกิดจากการที่สมองหลั่งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองมากระตุ้นรังไข่ ให้สร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และ โปรเจสเตอโรน (Progesterone) ซึ่งฮอร์โมนเหล่านี้จะทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้น และแสดงถึงความพร้อมในการเจริญพันธุ์ เมื่อไม่มีการปฏิสนธิ ไข่จะฝ่อไปและออกมาเป็นประจำเดือน มีวงรอบเดือนละครั้งคือระหว่างวันแรกที่มีเลือดออกถึง วันถัดไปของรอบใหม่ประมาณ 28 วัน และมีระดับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในรอบเดือน

อายุที่เป็นประจำเดือน ตั้งแต่ช่วงวัยรุ่นถึงวัยทอง โดยเฉลี่ยมีประจำเดือนตั้งแต่อายุ 12-50 ปี นับจากอายุ 35 ปี ความสามารถในการเจริญพันธุ์ลดลง และลดลงอย่างมากในช่วงหลัง 40 ปี

การที่เรามีประจำเดือนสม่ำเสมอทุกเดือน น่าจะมีการทำงานของรังไข่ที่เป็นปกติ กรณีประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ อาจมีภาวะบางอย่างซ่อนอยู่ สัดส่วนผู้ที่มีภาวะประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ อยู่ที่ประมาณ 10-30%.



20221026-c-03.jpg

สีของประจำเดือน บอกอะไร ?

โดยพื้นฐานสีของประจำเดือนจะขึ้นอยู่กับปริมาณของเลือดที่ออกในแต่ละรอบเดือน และขึ้นอยู่กับธาตุเหล็กในร่างกาย ถ้าใหม่ๆ จะมีสีแดงสด ถ้าทิ้งไว้สักพักสีจะคล้ำขึ้น หรือช่วงท้ายๆของการมีประจำเดือนสีจะเข้มขึ้นเรื่อยๆ ปริมาณของเลือดประจำเดือนในแต่ละรอบ ปกติจะไม่เกิน 80 ซีซี หรือประมาณ ครึ่งแก้วน้ำ และจะไหลต่อเนื่อง ไม่เกิน 5 วัน ร่างกายมีเลือดออกโดยที่เราไม่อันตราย เป็นกลไกตามธรรมชาติ เรายังคงทำงานปกติได้ในระหว่างที่มีประจำเดือน และไม่ควรออกมาเป็นลิ่มเลือด หรือก้อนเลือดขนาดใหญ่

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในระหว่างมีประจำเดือน

ช่วงครึ่งแรกก่อนจะมีประจำเดือน จะมีฮอร์โมนเพศหญิงมากกว่าปกติ หรือฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้ผิวพรรณสดใสเปล่งปลั่ง หลังจากไข่ตกจะมีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน จะเป็นฮอร์โมนรองรับการตั้งครรภ์ มีการกักตุน น้ำ เสบียง ตามธรรมชาติ หิวบ่อย บางรายคัดตึงเต้านม อาจหงุดหงิด สิวขึ้น หรือหิวบ่อย บางคนปวดท้องหน่วง ๆ อาจะเป็น 1-2 วันก่อนมีประจำเดือน แต่อาการเหล่านี้อยู่ในภาวะปกติ ช่วงหลังมีประจำเดือนก็จะส่งผลให้ฮอร์โมนดร็อปลงไป มีผลทางอารมณ์ พอไข่สลายไป บางคนอาจหงุดหงิด สิวขึ้น หรือหิวบ่อย บางคนปวดท้องหน่วง แต่ถ้าปวดมาก ควรพบหมอ อาจจะเป็นภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ช่วงแรกอาจจะยังไม่ก่อให้เป็นก้อน หมออาจจะให้ทานยาคุมกำเนิดเพื่อปรับฮอร์โมน ทานยาแก้ปวดประจำเดือนได้ ปัจจุบันเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่สามารถรักษาได้ตั้งแต่ก่อนที่จะก่อตัวเป็นก้อน


20221026-c-02.jpg

เมื่อเป็นประจำเดือน ควรกินน้ำอุ่น หรือน้ำมะพร้าวหรือไม่

เป็นความเชื่อ ยังไม่มีการศึกษาวิจัยรองรับ ไม่เกี่ยวกับอาการปวดมากน้อย เพราะเมื่อเราดื่มน้ำร้อน น้ำเย็นเข้าไปแล้วร่างกายก็จะปรับอุณหภูมิไปโดยอัตโนมัติ ควรดื่มน้ำให้เพียงพอใน ช่วงมีประจำเดือน

ประจำเดือนไม่ปกติ มีอาการอย่างไร

เช่นมา 2-3 เดือนมาหนึ่งครั้ง อาจจะมาจากภาวะไข่ไม่ตก จึงทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติสม่ำเสมอ หรือภาวะฮอร์โมนต่อมใต้สมองที่สร้างน้ำนมสูงกว่าปกติหรือไม่ อาจทำให้การตกไข่ ผิดปกติไป อาจมีอาการปวดท้อง หรือเกิดจากไทรอยด์ผิดปกติหรือไม่ ซึ่งจะมีอาการร้อนหนาวง่าย หรือภาวะอ้วนก็ทำให้เกิดประจำเดือนมาไม่ปกติได้เช่นกัน ภาวะรังไข่ผิดปกติ เจอได้ 10% ของสังคมไทย


20221026-c-07.jpg

โดยสรุป ประจำเดือนมาไม่ปกติ มีสาเหตุต่อไปนี้

•ความเครียด เรื่องเรียน เรื่องงาน เป็นสาเหตุที่พบบ่อย

•ความผิดปกติของฮอร์โมน ที่ควบคุมการทำงานของรังไข่ ที่พบบ่อยๆ คือฮอร์โมน

ไทรอยด์ฮอร์โมนต่อมใต้สมองหรือว่าฮอร์โมนน้ำนม

•ภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรังในผู้หญิง จากภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ

•อาการเลือดออกที่ผิดปกติ มีหลายสาเหตุ เช่น มดลูกอักเสบ ปากมดลูกอักเสบ ติ่งเนื้อ

ปากมดลูก

•การใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิดแบบไม่สม่ำเสมอ เช่นลืมกินยาคุมกำเนิดในบางวัน จึงอาจมี

เลือดออกกะปริบกะปรอยระหว่างรอบเดือน ทำให้เข้าใจผิดว่าคือประจำเดือน


ปัญหาเกี่ยวกับประจำเดือน ทำให้เป็นมะเร็งได้หรือไม่

เมื่อประจำเดือนมาผิดปกติ การรักษาอาจจะต้องแก้ที่สาเหตุเป็นหลัก และเมื่อเกิดผิดปกติไม่ควรละเลย ควรพบแพทย์ สัญญาณเตือนคือเยื่อบุโพรงมดลูกแบ่งตัวหนามากขึ้น เมื่อเซลล์เก่าสะสมโตขึ้นเรื่อยๆ จะกลายพันธุ์หน้าตาคล้ายมะเร็งได้ เช่น ประจำเดือนขาดหายไป 3 เดือน จะมีความเสี่ยงที่เยื่อบุมดลูกจะเปลี่ยนไปเป็นระยะก่อนมะเร็งได้ ซึ่งระยะนี้ยังรักษาหายอยู่ ถ้าทิ้งไว้นานกว่านี้ อาจจะเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้


20221026-c-06.jpg

20221026-c-01.jpg

20221026-c-05.jpg

ประจำเดือนมาเยอะเกินไป อันตรายหรือไม่

อาจจะเกิดจากฮอร์โมนไม่สมดุล ไข่ไม่ตกเยื่อบุโพรงมดลูกสะสม เนื้องอกในมดลูก ผังผืดในมดลูกทำให้มดลูกโต ภาวะเลือดแข็งตัวง่ายหยุดยากในวัยรุ่น ถ้าเราเสียเลือดเยอะ จะทำให้เลือดจาง ทำให้ถึงขั้นหมดสติ ซึ่งเป็นอาการผิดปกติ ควรพบแพทย์

ควรดูแลตัวเองอย่างไร ทั้งร่างกายและจิตใจ

ในช่วงใกล้มีประจำเดือน อาจจะมีภาวะหงุดหงิดง่าย และไม่สบายตัวในช่วงที่มีประจำเดือน ช่วงนั้นควรงดอาหารรสจัด เช่น เค็ม หวาน มัน ควรดื่มน้ำเยอะๆ และในช่วงที่ไม่มีประจำเดือน ควรออกกำลังกายที่มีความหนักเพียงพอ เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง และการไหลเวียนของเลือดได้ดี รวมทั้งช่วยการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงมดลูก รังไข่ดีตามไปด้วย

ติดต่อโฆษณา!