25 ตุลาคม 2565
1,200

เคล็ด(ไม่)ลับ ดูแลผู้สูงอายุภายในบ้าน

Highlight

ไทยกำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุเป็นเรื่องสำคัญ เพราะหากเจ็บป่วยไปเราคงไม่สบายใจ และเป็นกังวลอย่างมาก เราควรดูแลให้ผู้สูงอายุให้มีสุขภาพดี แข็งแรงตั้งแต่เนิ่นๆ สิ่งที่หมอพบบ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุคือการหกล้ม จนทำให้เป็นปัญหาใหญ่ตามมา เช่นกระดูกหัก มีปัญหามาจากหลายปัจจัยเช่น ปัญหาด้านสายตา เดินสะดุด ลื่นล้มในห้องน้ำ โรคประจำตัวแทรกซ้อน โดยผู้แลอาจอาจต้องปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม การบริหารร่างกาย และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์


การดูแลผู้สูงอายุ เพื่อให้มีความปลอดภัยในการใช้ชีวิตประจำวัน เป็นเรื่องจำเป็น และควรป้องการการหกล้ม เพราะอาจเป็นปัญหาใหญ่ตามมา โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวยิ่งเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น อ. นพ.ไพฑูรย์ เบ็ญจพรเลิศ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู และ อ. พญ.นวลวรรณ ลีลาภัทรพันธุ์ ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มีเคล็บลับการดูแลผู้สูงอายุให้ปลอดภัยจากความเสี่ยงในเรื่องต่างๆ พร้อมคำแนะนำด้านสุขภาพที่มีประโยชน์ และเป็นการเตรียมความพร้อม..เพราะไทยเรากำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยในเร็วๆนี้แล้ว


20221025-c-04.jpg


ปัจจัยเสี่ยงที่ทำผู้สูงอายุเจ็บป่วย

•การล้ม ซึ่งอาจจะมาจากอายุมากสายตาฝ้าฟาง โดยเฉพาะการมองเห็นไม่ชัดช่วงกลางคืน การทรงตัวที่ไม่ดีนัก ร่างกายมีความสมดุลลดลง กล้ามเนื้ออ่อนแรง ข้อเสื่อม รวมทั้งการมีโรคประจำตัว 3 ทหารเสือ คือ เบาหวาน ไขมัน ความดัน ทำให้ความแข็งแรงลดลงตามวัย เมื่อโรคเยอะยาก็เยอะตามไปด้วย ทำให้ยาตีกัน ยาบางตัวทำให้ความดันตกได้ ซึ่งเป็นปัจจัยภายในของผู้สูงอายุเอง

•สภาพแวดล้อมบริเวณบ้านที่อาจทำให้ประสบอุบัติเหตุล้ม เช่น สัตว์เลี้ยงในบ้าน สุนัข แมว เดินมาอาจจะทำให้สะดุดล้มลง การล้มของผู้สูงอายุค่อนข้างอันตรายในกรณีที่เป็นโรคกระดูกพรุนเพราะอาจทำให้กระดูกหักได้

•พื้นบ้านที่เปียก ก็อาจทำให้ล้ม ดังนั้นแม้กระทั่งห้องน้ำพื้นต้องแห้ง

•แสงสว่างในบ้านน้อยมองเห็นไม่ชัด

•พื้นต่างระดับที่อาจจะสะดุดล้มได้ แนะนำว่าควรปรับพื้นต่างระดับเป็นพื้นสโลป แต่ต้องไม่ชัน

•เตียงนอน ไม่ควรสูงเกินไป หรือต่ำเกินไป

•การก้มต่ำ เพื่อใช้งานอุปกรณ์ในบ้านเช่น ปลั๊กไฟที่อยู่ต่ำเกินไป ทำให้ต้องก้มต่ำ

•การย้ายห้องนอนลงมาชั้นล่าง ถ้าผู้สูงอายุเริ่มเหนื่อยจากการเดินขึ้นลงบันได ก็อาจจะย้ายที่นอนลงมาชั้นกนึ่งเพื่อให้การใช้ชีวิตสะดวกขึ้น



20221025-c-03.jpg


20221025-c-02.jpg

อุปกรณ์ช่วยชีวิต

  • หมอแนะนำว่า ถ้าเคยล้ม หรือสมดุลร่างกายไม่ดี แนะนำให้ใช้ไม้เท้า โดยไม้เท้ามีหลายแบบ เช่นไม้เท้าเป็นท่อนยาว ไม้เท้าสามขา หรือไ้ม้เท้าสี่ขา สำหรับผู้สูงอายุควรใช้ไ้ม้เท้าที่ตั้งวางได้ โดยไม่ต้องก้มลงหยิบที่พื้น โดยใช้เท่าที่จำเป็น
  • ท่าบริหารร่างกายที่เหมาะสม

ควรใช้อุปกรณ์เกาะเพื่อป้องกันการหกล้ม เช่นใช้เก้าอี้ที่แข็งแรงเพื่อวางไว้และเกาะระหว่างการทำกายบริหาร ไม่ควรย่อเกิน 90 องศา สะโพกไม่ต่ำกว่าเข่า ควรฝึกการยืนกระต่ายขาเดียว เป็นต้น

อุปกรณ์การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ

การเดินในลู่เดิน ลู่วิ่ง เพิ่มโอกาสการล้มได้ ให้ดูว่าตัวเองเดินได้แค่ไหน การปั่นจักรยานก็สามารทำได้ สามารถเลือกใช้อุปกรณ์ตามความชอบได้ และออกกำลังอย่างเหมาะสม

20221025-c-01.jpg

ผู้สูงอายุควรออกกำลังกายมากน้อยแค่ไหน

ควรออกกำลังกายบ้างที่เหมาะสม สำหรับการใช้วีลแชร์ วอคเกอร์ ควรใช้ตามความเหมาะสม ถ้าเดินเองได้ ควรเดินด้วยตัวเอง สำหรับผู้อายุไม่มากและยังคงแข็งแรงอยู่ สามารถออกกำลังกายที่ใช้แรงได้ เช่น  จ๊อกกิ้ง แอโรบิค ถ้าสูงอายุมากขึ้นก็อาจใช้วิธีเดินในน้ำ เพื่อช่วยการไหลเวียนของเลือด เป็นต้น

การดูแลผู้สูงอายุที่ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้ได้ มีวิธีอย่างไร

กรณีที่ถ่ายหนักแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์ ดื่มน้ำให้เพียงพอ ควรทานผัก ผลไม้ ขับถ่ายเป็นเวลา ระบบลำไส้จะกลับเข้าที่ได้ ส่วนกรณีที่ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะเล็ด ราด เราสามารถช่วยลดได้ด้วยการเข้าห้องน้ำเป็นเวลา กลางคืนดื่มน้ำลดลง จะได้ไม่ตื่นมาปัสสาวะกลางคืน การปัสสาวะเล็ด จะเป็นเรื่องอุ้งเชิงกรานไม่แข็งแรง เป็นเรื่องกล้ามเนื้อไม่แข็งแรง สามารถดูแลรักษาด้วยตนเอง โดยการขมิบค้าง 10 วินาที ทำไปเรื่อยๆ ทั้งเร็วและช้า แม้กระทั่งคนท้องหรือหลังคลอดก็สามารถทำได้เช่นกัน

คำถามด้านสุขภาพ

อายุ 41ปี มีปัญหาตะกอนในหูชั้นในเคลื่อนที่ เวียนศีรษะ ควรทำอย่างไร

ส่วนใหญ่มีอาการใกล้เคียงกับโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน คือเวียนศรีษะ บ้านหมุนแต่ถ้าสาเหตุมาจากหินปูนเคลื่อนในหูชั้นใน จะมีอาการไม่นาน ไม่ถึง 1 นาทีจะหาย ส่วนใหญ่อาการจะสัมพันธ์กับการก้มเงย หันซ้ายหันขวา เมื่อเราเคลื่อนศรีษะ เป็นการกระตุ้นให้หินปูนเคลื่อนที่ ทุกคนมีโอกาสเกิดได้ เพราะทุกคนมีหินปูนในหูชั้นในอยู่แล้ว

เพียงเมื่อไหร่หินปูนเคลื่อนออกไป ก็จะมีอาการเวียนศรีษะบ้านหมุนได้ การรักษาทำอย่างไรก็ได้ให้หินปูนกลับเข้าที่ การกินยาอาจจะไม่มีประโยชน์ หมออาจจะให้นินตะแคงศรีษะเพื่อให้หินปูนพลิกกลับเข้าที่ บางคนเมื่อเป็นแล้วมีความกังวลในขณะการใช้ชีวิตประจำวันเช่นถ้ากำลังขับรถอยู่แบ้วเกิดอาการเวียนศรีษะ บ้านหมุน ก็อาจเกิดอันตรายได้  ปกติหินปูนในหูจะอยู่นิ่งๆ แต่จะเกิดปัญหาเมื่อหลุดออกมา

อาการน้ำในหูไม่เท่ากัน และหินปูนเคลื่อนที่ แตกต่างกันอย่างไร

กรณีการเวียนศรีษะ บ้านหมุน จากสาเหตุน้ำในหูไม่เท่ากันจะใช้เวลาในการเป็นนานหลายนาที หรือเป็นวัน มีเสียงวิ้งๆในหู ภาพตรงหน้าเคลื่อนที่ แต่ถ้าหินปูนเคลื่อนที่จะเป็นไม่นาน ส่วนใหญ่อายุมากขึ้นจะพบบ่อยในกลุ่มผู้สูงมากกว่ากลุ่มคนอายุน้อย

อายุ 68 ปีเส้นประสาทหูด้านซ้ายไม่ได้ยินมา 6 ปีแล้ว เส้นประสาทหูด้านขวา จะไม่ได้ยินตามไปด้วยหรือไม่ และควรรักษาอย่างไร 

เส้นประสาทหูเสื่อมมักจะเกิดกับผู้สูงอายุ เส้นประสาทจะเสื่อมตามวัย กรณีที่เป็นข้างเดียว ไม่ใช่เคสปกติทั่วไป การป้องกันอย่างไรไม่ให้ข้างขวาเป็นด้วย หมอแนะนำว่าควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีเสียงดัง อาจจะทำให้หูดับ เช่น เสียงประทัด ลำโพงที่ดังมากๆ ถ้าจำเป็นต้องอยู่อาจจะต้องใส่ที่อุดหู เช่น ear-plug เพื่อลดระดับเสียง และควรพบแพทย์เพื่อตรวจการได้ยิน

อายุ 66 ปีได้ยินเสียงวี้ดๆ ในหู ควรพบแพทย์สมอง หรือแพทย์ หู คอ จมูก

แนะนำว่าควรพบแพทย์ หู คอ จมูก เพราะอาจจะผิดปกติที่หู หมออาจจะตรวจดูว่ามีอะไรในหูเคลื่อนที่อยู่หรือไม่ หรือเส้นประสาทในหูเสื่อมหรือไม่ สามารถเป็นได้ทั้งหูชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน แนะนำควรพบแพทย์ 

อายุ 80 ปี ลิ้นมีอาการแสบเมื่อรับรสชาติเค็มจัด เผ็ดจัด ผิดปกติหรือไม่

อายุมากขึ้นประสาทในการรับรส ก็อาจผิดเพี้ยนไป ควรพบหมอ เพื่อตรวจความผิดปกติที่ลิ้นเพื่อตรวจดูว่ามีแผลหรือไม่ ถ้าไม่พบก็อาจจะเป็นภายในอาจจะเป็นเส้นประสาทที่รับความรู้สึกผิดเพี้ยนไป  โดยปกติผู้สูงอายุไม่แนะนำให้ทานอาหารรสจัด เพราะผู้สูงอายุจะมีเนื้อเยื่อที่บางลง น้ำลายแห้ง ปากแห้ง ภายในปากมีแผลได้ง่าย จิบน้ำช่วยได้

หลังจากก้มสระผมกลางคืน รุ่งเช้าขึ้นมีอาการหน้ามืด ปวดหัว อาเจียร พื้นลอย บ้านไม่หมุน เกิดจากอะไร

อาการเวียนศรีษะ แต่บ้านไม่หมุน เวลาที่ศรีษะต่ำแล้วยกกลับขึ้นมาสูงในเวลาที่รวดเร็ว เส้นเลือดเลี้ยงสมองทำงานไม่ทัน อาจวูบได้ หรือการก้มสระผมนานๆ ลองสังเกตดูถ้าสระผมตอนเช้าเป็นด้วยหรือไม่ อาจมีสาเหตุจากการก้มสระผม เพราะทำให้กล้ามเนื้อเกร็ง ตึงศรีษะ หน้ามืด ถ้ายังเป็นอยู่ควรหาหมอเช็คอาการอย่างละเอียด

การแคะหูบ่อย เป็นอันตรายหรือไม่

ไม่แนะนำให้ใช้ไม้แคะหู เพราะมีโอกาสทำให้เยื่อแก้วหูบาดเจ็บได้ ควรใช้ผ้าซับน้ำก็เพียงพอ

ติดต่อโฆษณา!