13 เมษายน 2565
1,539

เปิด 10 พฤติกรรมเสี่ยงโควิดของคนไทย เด็กเสี่ยงติดเชื้อเพิ่ม

เปิด 10 พฤติกรรมเสี่ยงโควิดของคนไทย เด็กเสี่ยงติดเชื้อเพิ่ม
Highlight

โควิดอยู่มากับเรามานานเข้าสู่ปีที่สาม แต่การติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จากการกลายพันธุ์และโอมิครอนเป็นสายพันธุ์ที่ติดต่อได้ง่ายกว่าเดลต้ามาก ทำให้ผู้สูงอายุ เด็ก และผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นพากันติดเชื้อเพิ้มขึ้นมากในรอบนี้ ยอดเสียชีวิดเข้า่หลักร้อย ดังนั้นเราควรการใช้ชีวิตเข้าสู่วิถีใหม่อย่างจริงจัง เพื่อให้ทุกคนในครอบครัว ญาติ พี่น้อง และเพื่อนฝูงปลอดภัย รอดจากการติดเชื้อในเทศกาลนี้


สธ.เปิด10 อันดับพฤติกรรมคนไทยเสี่ยงโควิด-19 เตือนระมัดระวังตัว เมื่อสงสัยว่าตนเองมีความเสี่ยง ควรตรวจคัดกรองตัวเองด้วยชุดตรวจAT

กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) เปิดเผยผลการสำรวจการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพในประเด็นความตระหนักรู้ต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล(Universal Prevention)  ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ของกองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข 
 
โดยความร่วมมือจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ และศูนย์สนับสนุนบริการสุขภาพที่ 1 – 12 ระหว่างวันที่ 5 – 31 มีนาคม 2565 มีผู้ตอบแบบสำรวจ จำนวนทั้งสิ้น  113,847 คน อายุเฉลี่ยระหว่าง 25 - 26 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ผลการสำรวจ พบว่า มากกว่าร้อยละ 30 ของประชาชนคนไทยทั่วประเทศมีความตระหนักรู้ต่อการป้องกันโรคโควิด 19 ที่ส่งผลต่อการมีพฤติกรรมเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19 
 
สำหรับ 10 พฤติกรรมเสี่ยงโควิด-19

อันดับ 1 ไม่ได้แยกกินอาหารกับครอบครัวหรือเพื่อน ร้อยละ 36.1

อันดับ 2 รู้สึกเบื่อหน่ายกับข้อห้ามการรวมกลุ่มทำกิจกรรมทำกิจกรรม ร้อยละ 35.1
 
อันดับ 3 รู้สึกกลัวต่อการใช้ ATK ตรวจหาเชื้อโควิด 19 ร้อยละ 30.5
 
อันดับ 4 ไม่รู้ว่าผู้ป่วยเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันสูง เป็นกลุ่มเสี่ยงหากติดโควิดจะเกิดความรุนแรงถึงชีวิต ร้อยละ 22.6
 
อันดับ 5 ไม่ได้ทำความสะอาดพื้นผิวที่ถูกสัมผัสร่วมกัน เช่น ลูกบิด ราวบันได้ ร้อยละ 12.4
 
อันดับ 6 ไม่รู้สึกว่าการสวมหน้ากากอนามัยและทับด้วยหน้ากากผ้าอีกชั้นเป็นเรื่องสำคัญ ร้อยละ 12
 
อันดับ 7 ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการออกนอกบ้านได้ ร้อยละ 5.3
 
อันดับ 8 ไม่รู้ว่าโควิดเป็นโรคที่สามารถแพร่กระจายง่ายและติดเชื้อกันได้อย่างรวดเร็ว ร้อยละ 3.9
 
อันดับ 9 ไม่พร้อมที่จะตรวจ ATK แม้รู้ตัวว่ามีความเสี่ยง ร้อยละ 2.3
 
อันดับ 10  ไม่ได้ล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์หลังสัมผัสสิ่งสกปรกหรือเชื้อโรค ร้อยละ 1.6
 
ดังนั้นขอความร่วมมือจากประชาชนทุกคนร่วมกันรณรงค์สร้างพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล (Universal Prevention : UP)  เพื่อเป็นเกราะป้องกันการติดเชื้อโควิด 19 ที่กำลังแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วในขณะนี้ 
 
เมื่อสงสัยว่าตนเองมีความเสี่ยง ควรตรวจด้วยชุดตรวจคัดกรองโรคโควิด 19 ด้วยตนเอง (ATK) หรือไปรับบริการตรวจที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน พร้อมกับย้ำเตือนตัวเองและทุกคนในครอบครัวทุกกลุ่มวัย ปฏิบัติตามคำแนะนำตามมาตรการป้องกันการติดโรคโควิด 19 ขั้นสูงสุดแบบครอบจักรวาลอย่างเคร่งครัด          
        
เน้นมาตรการ D-M-H-T-T คือ เว้นระยะห่าง-สวมหน้ากากทุกครั้ง-ล้างมือบ่อย ๆ-ตรวจเร็วควบคุมไว-ไปไหนสแกนไทยชนะ

เด็กเสี่ยงติดโควิดมากขึ้นหลังสงกรานต์

ผศ.นพ.วรวุฒิ เชยประเสริฐ หรือ หมอวิน กุมารแพทย์เฉพาะทางด้านโลหิตวิทยา และมะเร็งในเด็ก เจ้าของแฟนเพจ เลี้ยงลูกตามใจหมอ ได้โพสต์ข้อความว่า อัพเดตสถานการณ์ "โอมิครอน" ที่ควรทราบ

1. โอมิครอน ไม่อ่อนโยนต่อเด็ก

2. เมื่อเคสเพิ่ม เคสอาการหนักและอาการแสดงแปลก ๆ ก็เพิ่มตาม กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ สมองอักเสบมาเรื่อย ๆ ปอดอักเสบ การหายใจล้มเหลวแบบปกติของโควิดก็สูงขึ้น

สิ่งที่กลุ่มหมอเด็กเห็นพ้องต้องกันก็คือ

1. แค่มีไข้ก็ต้องคิดถึงโควิดแล้ว ดังนั้นไข้ขึ้นแนะนำให้ตรวจ ATK ก่อนที่บ้านเลย

2. ชักจากไข้สูง จากการติดโควิด-19 เจอบ่อยมาก บาง รพ. เคสที่ไข้ชักแทบทั้งหมดมาจากโควิด

3. ไข้กับอาการอะไรก็ได้ก็เจอว่าเป็นโควิดได้ ไม่ว่าไอน้ำมูก อาเจียน ถ่ายเหลว หรือไข้อย่างเดียว

4. โอมิครอนไม่อ่อนโยนสำหรับทุกคน ส่วนใหญ่อาการน้อยเหมือนไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ แต่มีคนอาการหนัก โดยเด็กตายไปแล้ว 27 ศพในระลอกนี้และยังมีรายต่อไป

5. กลุ่มเสี่ยงต้องปกป้องเพื่อลดความสูญเสีย วัคซีนเท่านั้นที่ลดป่วยลดตายได้ในเด็กที่ฉีดได้ และแน่นอน วัคซีนที่มีข้อมูลชัดเจนคือ วัคซีนชนิด mRNA เรื่องของวัคซีน และความที่มีผู้กล่าวว่า "การฉีดวัคซีนที่มากเกินไปภูมิคุ้มกันที่ได้อาจกลายเป็นภูมิคุ้มกันที่เข้าข้างกับไวรัส" 5 องค์กร

6. คำกล่าวที่ว่านั้นไม่มีหลักฐานทางคลินิกชัดว่าภูมิจะเข้าข้างไวรัส

7. วัคซีนชนิด mRNA ที่ฉีดกันทั่วโลกแม้ป้องกันการติดโอมิครอนไม่ได้ 100% แต่ลดป่วยลดตายได้ชัดเจน จะได้ไม่ตุยกันไปก่อน ไม่ต้องรอน้ำบ่อหน้า ฉีดไปก่อน ทุกองค์กรการแพทย์สนับสนุนการรับวัคซีน ไม่ฉีด ติดขึ้นมา ตุยไปก่อนได้นะจ๊ะ เพราะที่เสียชีวิตหลักตอนนี้คือ คนที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน แต่ก็นั่นแหละ ฉีดกี่เข็ม ก็ยังติดได้นะ แต่ก็ผ่อนหนักเป็นเบาได้มาก

8. หน้ากากอนามัย ล้างมือ และมาตรการต่าง ๆ ยังต้องเข้มข้นอยู่นะ แต่ก็ออกไปใช้ชีวิตได้ ไม่ต้องกลัวขนาดนั้น วัคซีนฉีดก่อนให้ครบ (เด็กเกิน 5 ขวบขึ้นไป สำหรับเด็กเล็กยังไม่มีวัคซีนก็คงต้องระวังตัวกันอย่างเดียว) ติดมาก็รักษา ไม่ใช่ความผิดของใคร ไม่ต้องโทษกัน เราต้อง Move on ที่ไม่ใช่เป็นทรงกลม ไปต่อเหมือนหลายประเทศที่ไปต่อกันแล้ว (จริง ๆ เราก็ไปต่อกันแล้วแหละ ในระดับหนึ่ง)

และ ข้อสุดท้าย ระลอกนี้ยอดผู้ป่วยสูงแบบไม่ลดลงมาสองเดือนแล้ว ติดดอยยาว เหมือนเล่นหุ้น ดังนั้น "สงกรานต์" นี้อาจจะเป็นจุดวัดใจว่าจะลดลงหรือไปยังดอยที่สูงกว่านี้

ติดต่อโฆษณา!