30 มีนาคม 2565
764

สธ. ยันยาฟาวิพิราเวียร์มีเพียงพอ เตรียมรับมือโควิดช่วงสงกรานต์ สั่งเพิ่มอีก 3 ยี่ห้อ

สธ. ยันยาฟาวิพิราเวียร์มีเพียงพอ เตรียมรับมือโควิดช่วงสงกรานต์ สั่งเพิ่มอีก 3 ยี่ห้อ
Highlight

กระทรวงสาธารณสุขเตรียมยารักษาโควิดเต็มอัตรารับการระบาดหนักช่วงสงกรานต์ โดยมียาฟาวิพิราเวียร์สำรองกว่า 128 ล้านเม็ด และในช่วงเดือนเมษายน เตรียมนำเข้า ยาชนิดใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพดีในการรักษาและราคาถูกกว่ามาเสริม ในรายอาการเบา แพทย์แนะนำทานสมุนไพรไทย ฟ้าทลายโจร และ กระชายขาว เชื่อว่าโควิดยังคงอยู่อีกนาน เราต้องปรับตัวใช้ชีวิตใกล้เคียงปกติให้มากที่สุด ฉีดวัคซีนดระตุ้นเพื่อป้องกันการติดเชื้อตามแพทย์แนะนำ


นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีมีข่าวยาฟาวิพิราเวียร์ที่ใช้รักษาผู้ป่วยโควิด-19 ไม่เพียงพอ ว่า ยืนยันขณะนี้ประเทศไทยยังมียาฟาวิพิราเวียร์เพียงพอในการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 โดยมอบให้องค์การเภสัชกรรม (อภ.) เป็นผู้จัดหาตั้งแต่ช่วงเดือนก.พ.-เม.ย. 65 องค์การเภสัชกรรมได้ผลิตและจัดหายาฟาวิพิราเวียร์เข้ามารวม 128.1 ล้านเม็ด

ทั้งนี้ เฉพาะช่วงวันที่ 1-28 มี.ค. 65 มีการผลิตและจัดหายาแล้ว 73.9 ล้านเม็ด ส่งกระจายยาให้ทุกจังหวัดทั่วประเทศ 72.52 ล้านเม็ด ข้อมูลถึงวันที่ 28 มี.ค. 65 คงเหลือยาทั่วประเทศ 22.87 ล้านเม็ด โดยพื้นที่ กทม. มียาคงเหลือมากที่สุด 5.12 ล้านเม็ด รองรับผู้ป่วยได้ 1.02 แสนราย ขณะที่จังหวัดอื่นๆ มียาคงเหลือเพียงพอรองรับผู้ป่วยเช่นกัน

อย่างไรก็ดี ส่วนกลางมีการจัดหายา และกระจายยาให้แก่ทุกจังหวัดอย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์ โดยช่วงวันที่ 29 มี.ค.-2 เม.ย. 65 จะมียาอีก 15 ล้านเม็ด วันที่ 3-9 เม.ย. 65 อีก 11.6 ล้านเม็ด และวันที่ 10-16 เม.ย. 65 จำนวน 20 ล้านเม็ด

นพ.ธงชัย กล่าวว่า ทุกจังหวัดได้รับการกระจายยาฟาวิพิราเวียร์สำหรับใช้รักษาผู้ป่วยโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง แต่ช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา บางพื้นที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้การบริหารจัดการยาไม่คล่องตัว หากโรงพยาบาลใดพบแนวโน้มว่ายาฟาวิพิราเวียร์จะไม่พอใช้ สามารถแจ้งไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เพื่อบริหารจัดการยาให้โรงพยาบาลมีใช้อย่างต่อเนื่องได้

สำหรับการใช้ยาจะเป็นไปตามแนวทางการรักษาโรคโควิด-19 ของกรมการแพทย์ ที่กำหนดโดยคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงหลักการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล หากผู้ป่วยไม่มีอาการหรือไม่มีความเสี่ยงจะไม่จำเป็นต้องได้รับยาต้านไวรัส โดยแพทย์อาจพิจารณาให้ยารักษาตามอาการหรือยาฟ้าทะลายโจร ซึ่งจากการติดตามการรักษาผู้ป่วยในเขตสุขภาพที่ 4, 5, 6 รวม 24 จังหวัด พบว่า มีผู้ป่วยที่อยู่ในเกณฑ์ต้องได้รับยาฟาวิพิราเวียร์เพียง 26%

นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุขยังจัดหายารักษาอื่นๆ ได้แก่ ยาเรมดิซิเวียร์ ยาโมลนูพิราเวียร์ และยาแพกซ์โลวิด เข้ามาเพิ่มเติม เพื่อให้เป็นทางเลือกสำหรับแพทย์พิจารณาในการรักษาผู้ป่วยให้เหมาะสมกับอาการ และปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วยด้วย

ในการระบาดช่วงแรกๆประเทศไทย ไม่มีข้อมูลการรักษามากนักแล้วยายับยั้งไวรัสที่ได้มามักเป็นผลการทดลองในห้องแล็บทั้งสิ้น ทำให้ยาใดพอใช้ได้ก็ถูกนำมารักษาผู้ป่วยกันก่อน ไม่ว่า จะเป็นยาต้านมาลาเรีย ยาต้านไวรัสเอดส์ และยาฟาวิพิราเวียร์ ก็สามารถ ทำให้ผู้ป่วยดีขึ้นในคราวนั้น

ต่อมาทั่วโลกพยายามศึกษาค้นคว้าหายารักษาโควิดเฉพาะจาก ห้องแล็บมากขึ้นจนนำมาทดลองในคนอย่างเป็นระบบใหญ่เปรียบเทียบกลุ่ม ได้รับยา และคนไม่ได้ยาให้ทราบอัตราการเสียชีวิต ทำให้ได้ยามีประสิทธิภาพรักษาผู้ป่วยโควิดได้ผลดี มีผลข้างเคียงน้อยหลงเหลืออยู่ไม่กี่ชนิด

อย่างไรก็ตาม ในการรักษาผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้ยามีผลประสิทธิภาพ และความปลอดภัยสูงแล้วยาฟาวิพิราเวียร์เมื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาขนาดใหญ่ขึ้น “ไม่มีข้อมูลบ่งชี้ชัดเจนถึงประสิทธิภาพ” และด้วยประเทศไทยเข้าสู่การระบาดปีที่ 3 ทำให้ต้องพิจารณาปรับเปลี่ยนการใช้ยาใหม่ตามหลักฐานผลการศึกษาที่มีมากขึ้นนี้

3 ชนิดยาใหม่รักษาโควิด โมลนูพิราเวียร์, เรมเดซิเวียร์, แพคโลวิด

นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่าตอนนี้มียาต้านไวรัสออกมาหลายชนิด ในจำนวนนี้คือยาโมลนูพิราเวียร์ที่มีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่ามีประสิทธิภาพดีกว่าฟาวิพิราเวียร์แถมราคาถูกกว่าเดิมอีกด้วย

เหตุนี้ในปัจจุบัน “ยาโมลนูพิราเวียร์” ที่มีผลการศึกษาชัดเจนว่า สามารถลดความรุนแรงของโควิดในคนกลุ่มเสี่ยงได้ 30% ยิ่งมีการให้กินยาเร็วจะมีประสิทธิภาพสูงในการลดอัตราการเสียชีวิตได้ ทำให้ถูกพิจารณานำเข้าประเทศไทยแล้ว กำลังอยู่ระหว่างการกระจายไปตามโรงพยาบาลต่างๆ ในต้นเดือน เม.ย.2565

ถัดมาก็มี “แพกซ์โลวิด (Paxlovid)” ที่ลงนามสัญญาจัดซื้อแล้วน่าจะได้ใช้เร็วๆนี้สำหรับผู้ป่วยโควิดที่มีความเสี่ยงสูงจะเกิดอาการรุนแรงก็สามารถลดความเสี่ยงการป่วยหนักจนต้องเสียชีวิตลงได้ 88% ทั้งยังมี “ยาเรมเดซิเวียร์ (Remdesivir)” ยาชนิดฉีดที่ถูกใช้มาตั้งแต่การระบาด ใหม่ๆก็มีประสิทธิภาพสูงกว่า 80% เช่นกัน

ฉะนั้นตอนนี้ “ประเทศไทย” มีการใช้ยาต้านไวรัสรักษาผู้ป่วยโควิด คือ ยาฟาวิพิราเวียร์ ยาเรมเดซิเวียร์ ยาโมลนูพิราเวียร์  โดยรัฐบาลก็พยายาม นำเข้ายามีประสิทธิภาพสูงอย่างต่อเนื่องอีก แต่ด้วยข้อจำกัดการผลิตค่อนข้างน้อย กลายเป็นปัจจัยต่อการเกลี่ยแจกจ่ายยาได้ไม่ทั่วถึงทุกประเทศ แม้เราอยากจะได้มากแต่ก็ไม่มีให้ตอนนี้

อนาคตเชื่อว่า “ยารักษาที่มีประสิทธิภาพ” จะทยอยเข้ามาเรื่อยๆ แล้วต้นทุน ก็จะถูกลง “ประชาชนเข้าถึงกระบวนการรักษาลดความเสี่ยงเกิดอาการรุนแรง จนต้องเข้าโรงพยาบาลลงได้” แต่มีข้อระวังการเข้าถึงยาง่ายนี้ “อย่าใช้จน พร่ำเพรื่อมากเกินที่อาจนำไปสู่การดื้อยา” จึงควรต้องควบคุมกันด้วยซ้ำ

ด้วยเหตุจากผู้ติดเชื้อ มักเลกังวลและจัดหายามารับประทานเอง แต่ในปัจจุบันคนทุนได้รับวัคซีน อาการป่วยน้อยลงอาจไม่ต้องกินยาต้านไวรัสก็หายได้ สิ่งนี้คือเหตุให้ ญี่ปุ่นยกเลิกการศึกษาทดลองใช้ยารักษาโควิด โดยเฉพาะ ฟาวิพิราเวียร์ ด้วยประชากร ฉีดวัคซีนเยอะแล้วมาเจอไวรัสอ่อนแรง ทำให้ผลการศึกษายาต้านไวรัสชนิดรุนแรงไม่มีความหมายก็ได้

อีกทั้งตอนนี้วัคซีนในไทย มีจำนวนมากเพียงพอและตั้งจุดบริการ หลายแห่ง เพียงแต่สิ่งที่ยังทำน้อยคือ กระตุ้นกลุ่มเสี่ยงต้องการฉีด เข็ม 3 มิเช่นนั้นก็ต้องเตรียมกระบวนการรักษาไว้รองรับกันไปเรื่อยๆ

ผู้ติดเชื้อโอมิครอนอาการเบากว่าเดลต้า รักษาสมุนไพรไทยได้ 

ผู้ป่วยโควิดโอมิครอน ซึ่งอาการโเยส่วนใหญ่เบากว่า เดลต้า ส่วนหนึ่งติดเชื้อกินยารักษาตามอาการหายเองก็มี ดังนั้นในกลุ่มเสี่ยงต่ำสามารถใช้ยาสมุนไพรไทยได้ เช่น ยาฟ้าทะลายโจร กระชายขาว เพื่อช่วยบรรเทาอาการก่อน แต่ถ้าไม่ดีขึ้นควรรักษาตามแพทย์แผนปัจจุบัน ในส่วนกลุ่มผู้เสี่ยงสูงแนะนำให้รักษาด้วยยาต้านไวรัสเท่านั้นจะดีกว่า

ตอนนี้ทั่วโลกมีทิศทางตรงกันว่า ไวรัสโควิด-19 จะยังคงอยู่และกลายพันธุ์ได้อีกแต่ความรุนแรงอาจลดลง ส่วนหนึ่งมาจากที่ทุกคนได้รับวัคซีนป้องกันแต่ยังคงติดเชื้อและระบาดได้ง่าย สิ่งที่ช่วยได้คือเรียนรู้เพื่อใช้ชีวิตใกล้เคียงปกติได้ด้วยการฉีดวัคซีน เตรียมพร้อมกระบวนการรักษาที่ดี มียาประสิทธิภาพสูง เตรียมคงามพร้อมป้องกันการติดเชื้อสำหรับผู้ที่อยู่ในภาวะความเสี่ยงสูง รวมทั้งเด็กเล็กที่ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน

ติดต่อโฆษณา!