05 พฤศจิกายน 2564
1,627

สวรส.เปิดรายงานประชากรข้ามชาติในไทย ติดโควิด-19 สะสมกว่า 1 ล้านคน แนะเร่งฉีดวัคซีน จัดหาชุดตรวจ เพื่อคุมการระบาด!

สวรส.เปิดรายงานประชากรข้ามชาติในไทย ติดโควิด-19 สะสมกว่า 1 ล้านคน แนะเร่งฉีดวัคซีน จัดหาชุดตรวจ เพื่อคุมการระบาด!
Highlight

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เปิดเผยรายงาน ประชากรข้ามชาติในประเทศไทยซึ่งส่วนหนึ่งเป็นแรงงานชาวกัมพูชา ลาว และเมียนมา โดยติดเชื้อโควิด-19 จำนวน หรือ 1,009,710 คน หรือราว 33% ของทั้งหมด ยอดติดเชื้อสูงเนื่องจากการระบาดคลัสเตอร์ในแคมป์คนงาน  ในขณะที่ได้รับวัคซีนทั้งสิ้น 356,337 คน แนะเร่งให้กระจายวัคซีนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด


สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)ในส่วนแผนงานประชากรข้ามชาติ ภายใต้แผนงานความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับองค์การอนามัยโลก ได้เปิดเผยรายงาน สถานการณ์โควิด-19 กับประชากรข้ามชาติในประเทศไทย ที่ยังคงอยู่ - ในวันเปิดประเทศ

การแพร่ระบาดโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อประชากรทุกกลุ่มในประเทศ ทั้งนี้ครอบคลุมถึงประชากรข้ามชาติ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นแรงงานชาวกัมพูชา ลาว และเมียนมา โดยแรงงานเหล่านี้กระจายตัวอยู่แทบทุกจังหวัดในประเทศไทย และนับเป็นกลุ่มสําคัญหนึ่งของคลัสเตอร์การระบาดโควิด-19 ในระลอกที่ผ่านมา ทั้งนี้ประเทศไทยมีประชากรข้ามชาติ ชาวกัมพูชา ลาว เมียนมา จํานวน 3,010,015 คน

จากรายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในกลุ่มประชากรข้ามชาติ เดือนสิงหาคม 2564 ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข แผนงานประชากรข้ามชาติ ภายใต้แผนงานความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับ องค์การอนามัยโลก พบว่า สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 19 มี.ค. 2563 จนถึงวันที่ 20 ส.ค. 2564 พบผู้ติดเชื้อสะสมรวม 1,009,710 ราย เป็นผู้ติดเชื้อที่มีสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และไม่ระบุสัญชาติ จํานวน 109,422 ราย คิดเป็นร้อยละ 10.8 ของผู้ติดเชื้อทั้งหมด โดยพบผู้ติดเชื้อรายแรก เป็นชาวเมียนมา ในจังหวัด สมุทรปราการ 

ซึ่งการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นตั้งแต่เดือน เม.ย. 2564 จากการติดเชื้อในสถาน บันเทิง การเดินทางในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยมีแรงงานข้ามชาติบางส่วนเดินทางกลับประเทศภูมิลําเนา แต่ส่วนใหญ่ ยังคงใช้ชีวิตอยู่ในประเทศโดยพักอาศัยอยู่ในแคมป์ก่อสร้าง

ทั้งนี้ ในเดือน เม.ย. 2564 พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เป็น ประชากรข้ามชาติ จํานวน 565 ราย เดือน พ.ค. 2564 จํานวน 15,163 ราย ซึ่งนับว่าเป็นจํานวนที่เพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 25 เท่า ในระยะเวลาเพียงหนึ่งเดือน และมีการเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนถึงสิ้นเดือน ก.ค. 2564 มีจํานวนผู้ติดเชื้อราย ใหม่ที่เป็นประชากรข้ามชาติถึง 30,385 ราย ซึ่งสถานการณ์การเพิ่มขึ้นของการติดเชื้อดังกล่าว เกิดขึ้นภายหลังที่รัฐบาล ประกาศให้สถานประกอบการต่างๆ ปิดกิจการชั่วคราว และกําหนดให้มีพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด

ประชากรข้ามชาติในไทย-ฉีดวัคซีนแล้ว แค่ไหน?

การฉีดวัคซีนให้กับทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศ นับเป็นแนวคิดสากลที่ทุกประเทศควรดำเนินการให้ได้ในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งจากข้อมูลของกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่า จำนวนการได้รับวัคซีนของประชากรที่ไม่ใช่คนไทย (ซึ่งรวมทั้งวัคซีนทางเลือก) สรุปได้ดังนี้

20211105-a-01.png
20211105-a-02.jpg

ขณะที่ สำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศ กรมควบคุมโรค ได้รายงานจำนวนชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยที่ได้รับวัคซีน ตั้งแต่ ก.พ. - ส.ค. 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 356,337 คน และได้รับวัคซีนครบสองเข็ม จำนวน 107,106 คน โดยสัญชาติที่ได้รับวัคซีนมากที่สุดได้แก่เมียนมา จำนวน 178,531 คน รองลงมาได้แก่ กัมพูชา จำนวน 56,580 คน 

ทั้งนี้ข้อมูลจากทั้งสองแหล่ง แสดงจำนวนที่แตกต่างกันค่อนข้างมาก จากการวิเคราะห์เบื้องต้น เป็นผลมาจาก ผู้ได้รับวัคซีนจากภาคเอกชน หรือในระบบประกันสังคมบางส่วน ไม่ได้ลงทะเบียนในระบบ MoPH Immunization center ของกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงยังมีชาวต่างชาติอีกจำนวนหนึ่งที่ได้รับวัคซีนภายใต้สถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศในประเทศไทย

ทางรอดสำคัญในวันเปิดประเทศ กับมาตรการที่ต้องการการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

ดร.สุรสักย์  ธไนศวรรยางกูร นักวิชาการอิสระ ได้กล่าวถึงข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษาและเป็นแนวปฏิบัติสำคัญของเรื่องนี้ไว้ว่า “ในวันนี้ ประเทศไทยมีการเปิดประเทศอย่างเป็นทางการ โดยเปิดให้ชาวต่างชาติถึง 63 ประเทศสามารถเดินทางเข้ามาในประเทศได้โดยไม่ต้องกักตัว รวมทั้งสถานประกอบการสามารถเปิดดำเนินการได้ แต่ขณะที่จำนวนการฉีดวัคซีนรวมทั้งระบบการตรวจคัดกรองหาเชื้อโควิด-19 ในประชากรข้ามชาติยังขาดความครอบคลุม โดยเฉพาะในกลุ่มแรงงานที่ประกอบอาชีพก่อสร้าง และทำงานในสถานประกอบการต่างๆ 

ดังนั้นการกำกับให้สถานประกอบการปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ อย่างเคร่งครัด จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในวันเปิดประเทศที่มีปัจจัยมากมายที่อาจทำให้เกิดการแพร่ระบาดซ้ำ โดยมาตรการต่างๆที่กลับมามีความสำคัญอย่างมากไม่ว่าจะเป็น การเร่งฉีดวัคซีนและจัดหาชุดตรวจให้กับแรงงาน จัดระบบแยกตัวและให้การช่วยเหลือเร่งด่วนด้านรักษาพยาบาลแก่แรงงานเมื่อตรวจพบเชื้อ  จัดหาอุปกรณ์การป้องกันและเน้นย้ำพฤติกรรมการป้องกันการแพร่ระบาด เป็นต้น”

มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 เพื่อการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดของสถานประกอบกา

(ข้อเสนอจากรายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในกลุ่มประชากรข้ามชาติ เดือนสิงหาคม 2564)

1. การจัดหาชุดตรวจเชื้อโควิด-19

2. การจัดหาวัคซีนให้กับพนักงาน/แรงงาน

3. การเน้นย้ำให้พนักงานปฏิบัติพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัด

4. ตรวจสอบและจัดทำบัญชีรายชื่อของพนักงานให้เป็นปัจจุบัน ทั้งที่อยู่ในความดูแลของบริษัทและผู้รับเหมารายย่อย

5. จัดระบบการให้การช่วยเหลือด้านรักษาพยาบาลแก่พนักงานเมื่อตรวจพบว่ามีอาการที่สัมพันธ์กับโรคโควิด-19 ทั้งพนักงานที่อยู่ภายใต้ระบบประกันสังคมและไม่มีสิทธิการรักษาพยาบาลใดๆ

6. จัดหาอุปกรณ์การป้องกันให้กับพนักงานอย่างเพียงพอ เช่น หน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์เจล ฯลฯ

7. ปรับปรุงอาคารที่พักของพนักงานให้ถูกหลักสุขาภิบาล

8. มีระบบการทำลายขยะติดเชื้อและของเสียในบริเวณสถานประกอบการและที่พักของพนักงาน

9. มีการคัดแยกพนักงานที่ติดเชื้อที่ยังไม่มีอาการ ออกจากพนักงานทั่วไป และย้ายไปอยู่ในสถานที่แยกกักตัวในบริเวณสถานประกอบการหรือที่พักของพนักงาน

10. ควรปรับปรุงการวิเคราะห์และการนำเสนอรายงานจำนวนแรงงานข้ามชาติที่ได้รับการฉีดวัคซีนจากทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างครบถ้วน โดยนำข้อมูลทั้งหมดเข้าสู่ระบบ MoPH Immunization center ของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อการประเมินความครอบคลุมของการฉีดวัคซีนในแรงงานข้ามชาติ และการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนในสถานประกอบการ

อ้างอิง :
รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในกลุ่มประชากรข้ามชาติ เดือนสิงหาคม 2564

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข แผนงานประชากรข้ามชาติ ภายใต้แผนงานความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับองค์การอนามัยโลก

https://thailand.iom.int/thailand-migration-report-2019-0

ติดต่อโฆษณา!