27 กันยายน 2564
1,265

ผลวิจัยชี้โควิด-19 ทำอายุขัยเฉลี่ยมนุษย์ลดลงมากสุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2

ผลวิจัยชี้โควิด-19 ทำอายุขัยเฉลี่ยมนุษย์ลดลงมากสุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2
Highlight

ผลการศึกษาโดยมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด กับการการระบาดของไวรัสโควิด-19

  • อายุขัยมนุษย์ลดลงมากที่สุดนับจากจากสงครามโลกครั้งที่ 2 
  • ผู้ชายมีอายุขัยเฉลี่ยลดลงมากกว่าผู้หญิงราว 1 ปีกว่า 
  • ยอดผู้ติด้ชื้อโควิดทั่วโลกปัจจุบัน 232,596,030 ราย  เสียชีวิต 4,761,864 ราย


ผลการศึกษาโดยมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด เปิดเผยว่า การระบาดใหญ่ของไวรัสโควิด-19 ทำให้อายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์ในปี 2563 ลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยอายุขัยของชายชาวอเมริกันลดลงมากกว่า 2 ปี

ข้อมูลของประชากรใน 22 ประเทศจากทั้งหมด 29 ประเทศที่มีการวิเคราะห์ในการศึกษาดังกล่าว ซึ่งครอบคลุมถึงยุโรป สหรัฐ และชิลี ระบุว่า อายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์ลดลงมากกว่า 6 เดือนเมื่อเทียบกับปี 2562 สำหรับในภาพรวมนั้น อายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์ลดลงใน 27 ประเทศ จาก 29 ประเทศ

มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดระบุว่า การปรับตัวลงของอายุขัยเฉลี่ยในหลายประเทศนั้นมีแนวโน้มเชื่อมโยงกับอัตราการเสียชีวิตจากโควิด-19 โดยตัวเลขอย่างเป็นทางการระบุว่า มีผู้เสียชีวิตเกือบ 5 ล้านคนจากโรคระบาดครั้งนี้

ดร. ริดีห์ กาชยัป ผู้เขียนรายงานการวิจัยร่วม ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร International Journal of Epidemiology กล่าวว่า “ผลการวิจัยของเราชี้ให้เห็นถึงผลกระทบอย่างมหาศาลซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการระบาดของโควิด-19 ในหลายประเทศ”

ผลการศึกษาระบุว่า ผู้ชายมีอายุขัยเฉลี่ยลดลงมากกว่าผู้หญิงในหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐ ซึ่งอายุขัยของผู้ชายลดลง 2.2 ปี เมื่อเทียบกับปี 2562

สำหรับในภาพรวมแล้ว ผู้ชายจะมีอายุขัยเฉลี่ยสั้นลงราว 1 ปีกว่า ๆ ใน 15 ประเทศ เทียบกับผู้หญิงใน 11 ประเทศ

ข้อมูลจาก Worldometers รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลกล่าสุด  (วันที่ 27 กันยายน 2564 เวลา 10.00 น. ) ยอดผู้ติดเชื้อรวม 232,596,030 ราย  อาการรุนแรง 93,240 ราย รักษาหายแล้ว 209,219,177 ราย เสียชีวิต 4,761,864 ราย 

20210927-a-01.jpg

อันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด

1. สหรัฐอเมริกา จำนวน 43,750,983 ราย
2. อินเดีย จำนวน 33,678,243 ราย
3. บราซิล จำนวน 21,351,972 ราย
4. สหราชอาณาจักร จำนวน 7,664,230 ราย
5. รัสเซีย จำนวน 7,420,913 ราย
ประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 28 จำนวน 1,571,926 ราย

ที่มา : infoquest , Worldometers

ติดต่อโฆษณา!