27 กุมภาพันธ์ 2565
6,053

วลาดีมีร์ ปูติน ผู้นำรัสเซียที่เข้มแข็งดั่งขุนเขา แต่หลงไหลในธรรมชาติ และรักสัตว์มาก

วลาดีมีร์ ปูติน ผู้นำรัสเซียที่เข้มแข็งดั่งขุนเขา แต่หลงไหลในธรรมชาติ และรักสัตว์มาก
Highlight

วลาดีมีร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย (Vladimir Vladimirovich Putin) เกิดเมื่อ 7 ตุลาคม ค.ศ. 1952 ปัจจุบันอายุ 70 ปี อดีตนายพันเอกหน่วยราชการลับสหภาพโซเวียต สังกัดหน่วยเคจีบี ประจำการ ค.ศ. 1975–1991 หลังจากลาออกจากทหาร และเข้าสู่ถนนการเมือง และครองอำนาจอันยาวนานตั้งแต่ปี 1999 นับเป็นหนึ่งในผู้นำโลกผู้ทรงอิทธิพล ที่ครองอำนาจบริหารประเทศอย่างยาวนานกว่า 20 ปี


การขึ้นสู่อำนาจทางการเมือง 

วลาดีมีร์ ปูติน ดำรงตำแหน่ง ประธานาธิบดีคนที่สองและคนปัจจุบันของรัสเซีย รวมทั้งเป็นประธานพรรคยูไนเต็ดรัสเซียและประธานสภารัฐมนตรีสหภาพรัสเซียและเบลารุส 

เขาเข้าสู่ตำแหน่งสูงสุดในการบริหารประเทศ โดยการรักษาการตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1999 เมื่อประธานาธิบดีบอริส เยลต์ซินลาออกจากตำแหน่งในการเคลื่อนไหวอันน่าประหลาดใจ และปูตินชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2000 และในปี 2004 เขาได้รับเลือกตั้งกลับมาเป็นสมัยที่สอง ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งถึงวันที่ 7 พฤษภาคม 2008

เพราะถูกจำกัดสมัยการดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ ปูตินจึงไม่มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสมัยที่สาม หลังชัยชนะของผู้สืบทอดเขา ดมีตรี เมดเวเดฟ ในการเลือกตั้งประธานาธิบดี ค.ศ. 2008 เมดเวเดฟได้เสนอชื่อปูตินเป็นนายกรัฐมนตรีของรัสเซีย ปูตินดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2008

ในเดือนกันยายน 2011 ปูตินและเมดเวเดฟตกลงกันว่าปูตินจะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสมัยที่สามไม่ติดต่อกันในการเลือกตั้งปี 2012 ซึ่งเขาได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง

ปูตินได้รับชื่อเสียงว่านำพาเสถียรภาพทางการเมือง ระหว่างการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของเขา เศรษฐกิจรัสเซียเติบโตขึ้นเก้าปีต่อเนื่อง เห็นได้จากจีดีพีแบบอำนาจซื้อ เพิ่มขึ้น 72% (หกเท่าในราคาตลาด) ความยากจนลดลงมากกว่า 50% และค่าจ้างรายเดือนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 80 เป็น 640 ดอลลาร์สหรัฐ

ความสำเร็จนี้คาดว่ามาจากการจัดการเศรษฐกิจมหภาค การปฏิรูปนโยบายการคลังอย่างสำคัญและประจวบกับราคาน้ำมันที่สูง การไหลบ่าเข้ามาของทุนและการเข้าถึงเงินทุนภายนอกราคาถูกเพิ่มขึ้นอย่างเฉียบพลัน ซึ่งนักวิเคราะห์อธิบายว่า น่าประทับใจ

ระหว่างดำรงตำแหน่ง ปูตินผ่านกฎหมายปฏิรูปขั้นพื้นฐานหลายฉบับ รวมทั้งภาษีเงินได้อัตราเดียว การลดภาษีกำไร และประมวลที่ดินและกฎหมายใหม่ เขาทุ่มเทความพยายามอย่างมากในการพัฒนานโยบายพลังงานของรัสเซีย 

โดยยืนยันตำแหน่งของรัฐเซียเป็นอภิมหาอำนาจด้านพลังงาน ซึ่งรวมถึงการฟื้นฟูอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ในประเทศและการริเริ่มการก่อสร้างท่อส่งออกหลักหลายแห่ง รวมทั้งเอสโปและนอร์ดสตรีม เช่นเดียวกับเมกะโปรเจกต์อื่น ๆ ในรัสเซีย

ขณะที่การปฏิรูปและพฤติการณ์หลายอย่างระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีถูกวิจารณ์โดยผู้สังเกตการณ์ตะวันตกและผู้ต่อต้านภายในประเทศว่าไม่เป็นประชาธิปไตยการดูแลการฟื้นฟูระเบียบและเสถียรภาพของปูตินทำให้เขาได้รับความนิยมในสังคมรัสเซีย

20220227-a-07.jpg

ภาพลักษณ์ต่อสาธารณชน

ปูตินมักสนับสนุนภาพลักษณ์ชายทรหดในสื่อ โดยแสดงความสามารถทางกายของเขาและเข้าร่วมในกิจกรรมวิสามัญหรืออันตราย เช่น กีฬาเอกซ์ตรีมและปฏิสัมพันธ์กับสัตว์ป่า ปูตินเป็นนักยูโดและนักกีฬาแซมโบ เคยเป็นแชมป์เลนินกราดสมัยวัยเยาว์ 

นอกจากชอบกีฬาเอ็กซ์ตรีมแล้ว ปูตินทำให้เห็นภาพเป็นคนแข็งแกร่ง และน่าเกรงขาม แต่ในมุมอ่อนโยนก็มี ห้เห็นอยู่บ่อยๆ  ปูตินได้ชื่อว่า เป็นคนที่รักสัตว์มาก มักจะเห็นภาพผู้นำประเทศต่างนำสุนัขมอบให้เป็นของขวัญในวาระต่างๆอยู่เสมอ 

ยามว่างๆ ของประธานาธิบดีปูติน เขาชอบขี่ม้า ขี่หมี เล่นกีฬายิงปืน เล่นกีฬาว่ายนํ้า เล่นกีฬาตกปลา เล่นกีฬาขับรถฟอร์มูล่าวัน เล่นกีฬาเทควันโด เล่นกีฬาสกี และเขายังเป็นคนรักสัตว์ เขาเลี้ยงสุนัขและ เลี้ยงม้า และยังเป็นประธานาธิบดีที่ใจดีกับเด็กๆ อีกด้วย

ปูตินยังชอบเดินป่าเพื่อหาสัตว์ป่าที่ถูกพรานหรือสัตว์ใหญ่ทำร้าย จนได้รับบาดเจ็บ เขาจึงเลี้ยงนำมันมาเลี้ยงและอนุบาลมันไว้จนมันหายดี แล้วปูตินจึงนำมันกลับไปปล่อยในพื้นป่า ให้มันอยู่ในถิ่นของมันหลังจากมันหายดีแล้ว

ปูตินมีส่วนสำคัญในการพัฒนากีฬารัสเซีย ที่โดดเด่นคือ ช่วยให้นครโซชี ชนะการประกวดเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 2014 

นอกจากนี้ นิตยสารฟอบส์ได้จัดอันดับให้เป็นบุคคลที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในโลกในปี 2013 ถึง 2015 โดยฟอบส์ได้อธิบายว่าเขาเป็น "บุรุษเพียงไม่กี่คนของโลกที่ทรงอิทธิพลพอจะทำอะไรก็ได้ตามที่ต้องการ"

20220227-a-05.jpg

วลาดีมีร์ ปูตินในวัยเด็ก

วลาดีมีร์ ปูตินในวัยเด็ก เป็นช่วงที่หนังสายลับได้รับความนิยมจึงเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับปูติน ในสมัยนั้นมีอาชีพอยู่เพียงสองประเภทที่สามารถเป็นสายลับได้คือต้องเป็นทหารหรือจบนิติศาสตร์

วลาดีมีร์ ปูตินได้ไปเรียนที่มหาวิทยาลัยเลนินกราด สาขานิติศาสตร์ จบมาเขาได้ทำงานกับหน่วยสายลับได้ประจำหน่วยข่าวกรองสายลับและได้ถูกส่งไปประจำที่ประเทศเยอรมนีตะวันออก 

ภายหลังสหภาพโซเวียตล่มสลายเขาจึงลาออกจากเคจีบี แล้วกลับไปอยู่กับอาจารย์ที่ชื่อว่า ดร. อนาโตลี ซับซัค และช่วยหาเสียงจน ดร. อนาโตลี ซับซัคได้เป็นผู้ว่าการเลนินกราด 

เมื่อ ดร.อนาโตลี ซับซัค ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดนข้อหาทุจริต แล้วปูตินเป็นลูกศิษย์ที่ไม่ยอมทิ้งอาจารย์ไป ได้หาข้อมูลมาช่วยอาจารย์จนพ้นความผิด

ต่อมาเพื่อนร่วมรุ่นมาชวนปูตินไปทำงานในทำเนียบประธานาธิบดีเยลซินในกรุงมอสโก จึงได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยบอริส เยลต์ซิน เป็นประธานาธิบดี ต่อมาเยลต์ซินได้ลาออกแล้วให้ปูตินมารักษาการณ์แทน

แล้วปูตินก็ได้สมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดี และได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนที่ 2 ของรัสเซีย เพราะบอริส เยลต์ซินเป็นคนแนะนำ ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ในวันที่ 14 มีนาคม 2004

ต่อมา เดือนธันวาคม ค.ศ. 2007 นิตยสารไทม์ได้เลือกให้เขาเป็นบุคคลแห่งปี 2007 ด้วยเหตุผลว่าเขามีความเป็นผู้นำซึ่งเปลี่ยนความวุ่นวายในรัสเซียให้มีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น 

โดยนิตยสารไทมส์ ได้ขนานนามแก่ปูตินว่าเป็น "ซาร์แห่งรัสเซียใหม่" แม้ว่าปูตินจะสละตำแหน่งประธานาธิบดีให้แก่ ดมีตรี เมดเวเดฟแล้วก็ตาม แต่ปูตินก็ยังคงมีอำนาจและได้รับความนิยมอยู่

20220227-a-06.jpg

ชีวิตครอบครัว

ปูติน สมรสกับชาวเลนินกราดนามว่า ลุดมินา ชเกรบเนวา (Людми́ла Шкребнева) ในวันที่ 28 กรกฎาคม 1983 และทั้งสองได้ใช้ชีวิตอยู่ในเยอรมนีตะวันออกด้วยกันระหว่างปี 1985 ถึง 1990

ทั้งสองมีลูกสาวสองคน คือ มารียา ปูตีนา เกิดในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก และ เยกาเจรีนา ปูตีนา เกิดในเดรสเดิน ต่อมาในวันที่ 6 มิถุนายน 2013 ปูตินได้ออกมาแถลงว่า ชีวิตคู่ของเขาทั้งสองได้จบลงไปแล้ว ซึ่งทางทำเนียบเครมลินได้ออกมายืนยันในวันที่ 1 เมษายน 2014 ว่ากระบวนการหย่าได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์

และ ระหว่างปี 1985 ถึง 1990 นั้นปูตินได้เป็นเจ้าหน้าที่ KGB ที่ประจำการในเดรสเดิน เยอรมนีตะวันออก ในช่วงนั้น ปูตินได้ถูกมอบหมายให้สังกัดกรม S: หน่วยข่าวกรองและราชการลับสิ่งผิดกฎหมาย และเพื่อปกปิดตัวตนของเขา เบื้องบนจึงได้ระบุให้เขามีอาชีพเป็นล่าม 

หนึ่งในงานของปูตินคือการทำงานร่วมกับกระทรวงความมั่นคงแห่งรัฐของเยอรมนีตะวันออก ในการติดตามและสรรหาชาวต่างประเทศในเดรสเดินเพื่อรับเข้าเป็นบุคลากร คนที่เขาหาได้โดยส่วนมากเป็นคนที่เรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยเทคนิคแห่งเดรสเดิน 

จุดประสงค์การสรรหาคนก็เพื่อส่งคนเหล่านี้ไปเป็นสายลับในสหรัฐอเมริกา จากการที่เขาใช้ชีวิตอยู่ในเยอรมนีถึง 15 ปีนี้เองทำให้ปูตินสามารถพูดภาษาเยอรมันได้อย่างคล่องแคล่ว

20220227-a-01.jpg

สรุปเส้นทางการเมือง 

นายกรัฐมนตรีครั้งแรก (1999)
รักษาการประธานาธิบดี (1999–2000)
ประธานาธิบดีครั้งแรก (2000–08)
นายกรัฐมนตรีครั้งที่สอง (2008–12)
ประธานาธิบดีครั้งที่สอง จาก 7 พ.ค. 2012

การผนวกดินแดนไครเมียและรุกรานยูเครน

ในปี ค.ศ. 2014 หรือปีที่เกิด “วิกฤตไครเมีย”  ประเทศยูเครนเกิดความวุ่นวายและก่อจลาจลขึ้นเพื่อขับไล่ประธานาธิบดีวิคเตอร์ ยานูคอวิช ซึ่งช่วงนี้เองประธานาธิบดีปูตินได้สั่งให้เคลื่อนกำลังทหารสู่ไครเมียโดยข้ออ้างว่าเพื่อปกป้องผลประโยชน์และพลเมืองเชื้อสายรัสเซียในไครเมีย[48] กองทหารรัสเซียสามารถเข้าควบคุมไครเมียได้ทั้งหมดในวันที่ 2 มีนาคม 2014 

การกระทำนี้ถูกประณามจากบรรดาชาติสมาชิกนาโตอย่างรุนแรงและมีมาตรการคว่ำบาตรด้านพลังงานต่อรัสเซีย หลังจากนั้นสองสัปดาห์ก็มีการลงประชามติว่าด้วยสถานภาพของไครเมียขึ้น โดยเสียงข้างมากกว่า 93% ของผู้มาใช้สิทธิต้องการให้ใครเมียแยกตัวออกจากยูเครนและเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศรัสเซีย 

20220227-a-02.jpg

การแทรกแซงซีเรีย

ในวันที่ 30 กันยายน 2015 ประธานาธิบดีปูตินได้อนุมัติให้กองทัพรัสเซียทำการเข้าแทรกแทรงในสงครามกลางเมืองซีเรีย ภายหลังจากได้รับคำร้องขอสนับสนุนด้านการทหารจากรัฐบาลซีเรียเพื่อการปราบกบฎและกลุ่มญิฮาดในซีเรีย 

รัสเซียเข้าแทรกแทรงด้วยการทิ้งระเบิดทางอากาศ, การยิงขีปนาวุธ และใช้กำลังรบพิเศษทะลวงเข้าจัดการกับกองกำลังฝ่ายต่อต้านรัฐบาลซีเรีย ซึ่งรวมถึงฝ่ายค้านซีเรีย, รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ (ไอซิส) และกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงอื่นๆ

 ต่อมาปูตินได้ประกาศในวันที่ 14 มีนาคม 2016 ว่าปฏิบัติการในประเทศซีเรียนั้น "ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง" และสั่งการให้ถอนกองกำลังหลักของรัสเซียออกจากซีเรียแต่ยังคงเหลือกองทหารรัสเซียบางส่วนอยู่ในซีเรียเพื่อสู้กับกลุ่มต่อต้านฯและสนับสนุนรัฐบาลซีเรีย ต่อมาในเดือนธันวาคม 2017 ปูตินได้เดินทางเยือนประเทศซีเรียเป็นครั้งแรกตั้งแต่การเข้าแทรกแซงของรัสเซีย

20220227-a-04.jpg

24 ก.พ. 2022  เปิดฉากโจมตียูเครน

รัสเซียเปิดฉากโจมตียูเครน ชนวนขัดแย้งรอบนี้หลักๆ เป็นเรื่องที่ยูเครนพยายามขอเข้าร่วมเป็นสมาชิกในองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือ นาโต ซึ่งเป็นเรื่องที่รัสเซียไม่พอใจอย่างยิ่ง เพราะเท่ากับว่าเป็นการเปิดทางให้นาโตเข้าประชิดประตูบ้าน ทำให้รัสเซียวิตกด้านความมั่นคง

“รัสเซียจะไม่ยอมให้ยูเครนเข้าร่วม NATO เด็ดขาด และต้องการคำยืนยันจาก NATO ว่าจะไม่รับยูเครนเป็นชาติสมาชิก ถ้ามีการยิงอาวุธทางอากาศจากดินแดนยูเครน มันจะบินมาถึงมอสโกในระยะเวลา 7-10 นาที และถ้าเป็นอาวุธเหนือเสียงจะใช้เวลาแค่ 5 นาทีเท่านั้น ลองจินตนาการดูละกัน ว่าเราจะทำอะไรได้ในสถานการณ์แบบนั้น” ปูตินกล่าว

NATO เป็นพันธมิตรทางการทหารของชาติใหญ่ๆ เช่นสหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร, ฝรั่งเศส, แคนาดา, สเปน ฯลฯ โดยองค์กรนี้มีข้อตกลงที่สำคัญว่า “หากชาติพันธมิตรใด โดนศัตรูโจมตีก็จะถือว่าเป็นการโจมตีชาติสมาชิกทั้งหมด” กล่าวคือ ถ้ายูเครนเป็นสมาชิก เพื่อนสมาชิกก็จะช่วยรบ 

20220227-a-08.jpg

ยูเครนเคยเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียมาก่อน แต่ในปี 1917 เมื่อราชวงศ์โรมานอฟหมดอำนาจ กลุ่มชาตินิยมยูเครนจึงขอแยกตัวออกไปเป็นประเทศ โดยมีเยอรมนีหนุนหลัง แต่พอเยอรมนีแพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 พร้อมทั้งมีการก่อตั้งสหภาพโซเวียต ยูเครนจึงถูกรวมอยู่ในโซเวียต และสถาปนาเป็น สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน

ความเปลี่ยนแปลงสำคัญเกิดขึ้นในปี 1991 เมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลาย แต่ละประเทศแยกกันไปมีเอกราชของตัวเอง และยูเครนเองก็เป็นหนึ่งในนั้น อย่างไรก็ตาม โรงงานจัดเก็บอาวุธนิวเคลียร์ของโซเวียตตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ประเทศยูเครน แปลว่า หัวรบนิวเคลียร์ทั้งหมด 1,249 หัว จึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของยูเครนไปโดยปริยาย

การมีหัวรบนิวเคลียร์อยู่ในมือ เป็นเครื่องการันตีความปลอดภัยของยูเครน ว่าจะไม่ปล่อยให้เพื่อนบ้านอย่างรัสเซียเข้ามารุกรานได้ อย่างไรก็ตาม สังคมโลกก็ไม่สบายใจนัก เพราะถ้าวันดีคืนดี ยูเครนโมโหขึ้นมาเมื่อไหร่ อาจใช้อาวุธนิวเคลียร์ในทางที่ผิดก็ได้ เช่นยิงถล่มใส่ประเทศอื่น ดังนั้นจึงต้องการให้ยูเครนทำการกำจัดหัวรบนิวเคลียให้หมด (Denuclearization)

ชาวยูเครนต้องการเข้าร่วมกับอียู เพื่อให้ยูเครนมีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ จึงไม่เห็นด้วยที่ผู้นำจะโปรรัสเซียต่อไปจนกระทั่ง ถึงยุคผู้นำยูเครนคนปัจจุบัน ประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ที่ชัดเจนเลือกเข้าร่วมกับยุโรป 

ดร.แจ๊ค แวตลิ่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ให้สัมภาษณ์กับ NBC ว่า “ถ้าสงครามเริ่มขึ้นจริงๆ ไม่มีทางที่มันจะเป็นการสู้รบในวงแคบๆ เหมือนตอนสงครามชิงเกาะฟอล์กแลนด์

มันจะเป็นสงครามโลกครั้งที่ 3 และมีความเสี่ยงที่จะมีการใช้อาวุธนิวเคลียร์กันด้วย โลกเรายังไม่พร้อมที่จะรับความเสี่ยงแบบนั้น”

สถานการณ์ในขณะนี้คาดเดาลำบากว่าจะจบลงอย่างไร ชาติตะวันตกจะเข้ามาสนับสนุนกองกำลังให้ยูเครนหรือไม่ การโดนแบนของรัสเซียจะเกิดผลกระทบอะไรตามมาบ้าง 

20220227-a-03.jpg

อ้างอิง : http://www.khaozaza.com/15318, BBC News, Wikipedia, board.postjung.com

ติดต่อโฆษณา!