01 พฤศจิกายน 2564
2,297

ปูติน ว้าก!ใส่ที่ประชุม G20 ไม่ให้การยอมรับวัคซีน สปุตนิก วี ของรัสเซีย

ปูติน ว้าก!ใส่ที่ประชุม G20  ไม่ให้การยอมรับวัคซีน สปุตนิก วี ของรัสเซีย
Highlight

ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ใช้เวทีประชุมผู้นำ G20 ที่อิตาลี ตำหนิประเทศต่างๆที่ไม่ให้การยอมรับวัคซีนวัคซีนโควิด-19 สปุตนิก วี ของรัสเซีย แม้รัสเซียเป็นประเทศแรกในโลกที่ขึ้นทะเบียนวัคซีน สปุตนิก วี ที่ผลิตเองในประเทศ แต่จนถึงขณะนี้ วัคซีนตัวนี้ยังไม่ได้รับอนุมัติให้ใช้ได้ในกรณีฉุกเฉินทั้งจากองค์การอนามัยโลก (WHO) สำนักงานอาหารและยาของสหรัฐ (FDA) หรือ สหภาพยุโรป (EU) รวมทั้ง แอฟริกาใต้


ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ใช้เวทีประชุมผู้นำ G20 ที่อิตาลี ตำหนิประเทศต่างๆที่ไม่ให้การยอมรับวัคซีนวัคซีน สปุตนิก วี ของรัสเซีย พร้อมระบุ การกระจายวัคซีนไม่ทั่วถึงเป็นเพราะการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมและการกีดกันทางการค้า

ประธานาธิบดีปูติน กล่าวผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ ว่า  ไม่ใช่ทุกประเทศที่ต้องการวัคซีนจะสามารถเข้าถึงวัคซีนได้  สิ่งนี้เกิดขึ้นเพราะการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม การกีดกันทางการค้า และบางประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่ม G20 ยังไม่ให้การยอมรับวัคซีนและใบรับรองการฉีดวัคซีนของรัสเซีย

อย่างไรก็ตาม แม้รัสเซียเป็นประเทศแรกในโลกที่ขึ้นทะเบียนวัคซีน สปุตนิก วี ที่ผลิตเองในประเทศ แต่จนถึงขณะนี้ วัคซีนตัวนี้ยังไม่ได้รับอนุมัติให้ใช้ได้ในกรณีฉุกเฉินทั้งจากองค์การอนามัยโลก (WHO) สำนักงานอาหารและยาของสหรัฐ (FDA) หรือ สหภาพยุโรป (EU) และในเดือนนี้ แอฟริกาใต้ไม่ให้การรับรองวัคซีนของรัสเซีย โดยอ้างว่าเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อเอชไอวีในผู้ชาย

นอกจากนี้ประธานาธิบดีปูติน ยังกล่าวต่อที่ประชุม G20 และเรียกร้องให้กระทรวงสาธารณสุขของสมาชิก G20  ทำงานร่วมกันเพื่อให้การยอมรับใบรับรองการฉีดวัคซีนของประเทศต่างๆโดยเร็วเท่าที่เป็นไปได้

ด้านประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน ซึ่งเป็นผู้นำอีกคนที่ไม่ได้ไปร่วมประชุม G20 ที่อิตาลี กล่าวผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ เรียกร้องในลักษณะคล้ายกันให้นานาชาติรับรองวัคซีนของจีน และเลิกกล่าวโทษจีนเป็นต้นตอของไวรัส โดยกล่าวว่า "การตีตราเรื่องไวรัสและการใช้ประเด็นสืบหาต้นตอไวรัสเพื่อแสวงประโยชน์ทางการเมืองเป็นการสวนทางกับการแสวงหาความสามัคคีเพื่อต่อสู้กับการระบาด"

ประธานาธิบดีจีน เรียกร้องให้ผู้นำชาติต่างๆผ่อนคลายข้อบังคับเรื่องการฉีดวัคซีนเพื่อให้วัคซีนทุกชนิดที่ได้รับการรับรองจากดับเบิลยูเอชโอ รวมถึงวัคซีนที่ผลิตโดยจีน สามารถนำไปใช้ได้อย่างกว้างขวาง พร้อมทั้งบอกว่า จีนพร้อมร่วมมือกับทุกฝ่ายเพื่อให้ชาติกำลังพัฒนาได้เข้าถึงวัคซีนด้วยราคาที่สามารถจัดซื้อได้

ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกในเดือนพฤษภาคม 2564 ระบุว่า มีวัคซีนโควิด 7 ยี่ห้อที่ประกาศให้การรับรองเพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน (WHOs Emergency Use Listing) ดังนี้

  • บริษัทไฟเซอร์ไบโอโนเทค เจ้าของและผู้ผลิตวัคซีน BNT162Ib2
  • บริษัทแอสตราเซเนกา ออกซฟอร์ด เจ้าของวัคซีน AZD1222 หรือ ChAdOx1
  • สถาบัน Serum Institute of India ผู้ผลิตวัคซีน Covishield
  • บริษัทแจนเซน เจ้าของและผู้ผลิตวัคซีน JNJ-78436735 หรือ Ad26.COV2.S
  • บริษัทโมเดอร์นา เจ้าของและผู้ผลิตวัคซีน Mrna-1273
  • สถาบัน Beijing Institute of Biological Products เจ้าของและผู้ผลิตวัคซีน Sinopharm BBIBP-CorV
  • บริษัท Sinovac Biotech เจ้าของและผู้ผลิตวัคซีน Sinovac CoronaVac COVID-19


ในขณะที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของไทย ได้อนุมัติทะเบียนวัคซีนโควิด-19 แล้ว จำนวน 6 รายการ คือ

  • วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 
  • วัคซีนโคโรนาแวค 
  • วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน 
  • วัคซีนโมเดอร์นา 
  • วัคซีนของซิโนฟาร์ม
  • วัคซีนโคเมอร์เนตีของไฟเซอร์  (ซึ่งเป็นวัคซีนชนิดเดียวกับที่ทางองค์การอนามัยโลกรับรอง) 

นอกจากนี้ยังมีวัคซีนอีก 2 ชนิดที่อยู่ระหว่างการอนุมัติ ได้แก่ “สปุตนิก วี พัฒนาโดย The Gamaleya Research Institute of Epidemiology and Microbiology ประเทศรัสเซีย นำเข้าโดยบริษัทคินเจน ไบโอเทค จำกัด และ “โควาซิน ผลิตโดยบารัทไบโอเทค ร่วมกับสถาบันวิจัย The Indian Council of Medical Research ประเทศอินเดีย นำเข้าโดยบริษัทไบโอจีนีเทค จำกัด (ข้อมูลเดือน กรกฎาคม)

อ้างอิง : https://www.aljazeera.com/news/2021/10/30/dishonest-competition-putin-addresses-g20-over-vaccines

https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=79780&filename=article_translate

https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/577/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%94-19%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%86/

ติดต่อโฆษณา!