รัฐเคาะมาตรการเยียวยากระทบจากโควิด-19 เพิ่มเงิน “เราชนะ - ม33เรารักกัน” ต่ออายุ “คนละครึ่ง” - ผุด “ยิ่งใช้ยิ่งได้”

รัฐเคาะมาตรการเยียวยากระทบจากโควิด-19 เพิ่มเงิน “เราชนะ - ม33เรารักกัน” ต่ออายุ “คนละครึ่ง” - ผุด “ยิ่งใช้ยิ่งได้”
Highlight

ครม. เคาะมาตรการเยียวยาผลกระทบจากโควิด-19 เพิ่มวงเงินโครงการเราชนะ - ม33เรารักกัน อีก 2,000 บาท ต่ออายุ “คนละครึ่ง เฟส 3” พร้อมผุดโครงการใหม่ “ยิ่งใช้ยิ่งได้” รัฐสนับสนุน E - Voucher ให้ ปชช. ซื้อสินค้าและบริการ สูงสุดคนละ 7,000 บาท!!!


เมื่อวานนี้ (5 พ.ค.64) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า  มีมติเห็นชอบมาตรการบรรเทาผลกระทบของประชาชนและผู้ประกอบการธุรกิจจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในระลอกเดือนเมษายน 2564 ดังนี้

 

“เราชนะ”

กลุ่มเป้าหมาย : 32.9 ล้านคน 

สิทธิ : เพิ่มเงิน 2,000 บาท (สัปดาห์ละ 1,000 บาท เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์)

ระยะเวลา : สิ้นสุด 30 มิถุนายน 2564

งบประมาณ : 67,000 ล้านบาท

 

“ม33เรารักกัน”

กลุ่มเป้าหมาย : 9.27 ล้านคน 

สิทธิ : เพิ่มเงิน 2,000 บาท (สัปดาห์ละ 1,000 บาท เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์)

ระยะเวลา : สิ้นสุด 30 มิถุนายน 2564

งบประมาณ : 18,500 ล้านบาท

“เพิ่มกำลังซื้อ”

กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3 ประมาณ 13.65 ล้านคน กลุ่มผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ 2.5 ล้านคน

สิทธิ : เพิ่มเงิน เดือนละ 200 บาท

ระยะเวลา : 6 เดือน (เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2564)

 

“คนละครึ่ง ระยะที่ 3 

กลุ่มเป้าหมาย : 31 ล้านคน

สิทธิ : ไม่เกิน 3,000 บาท/คน (รัฐจ่ายสมทบไม่เกิน 150 บาท/คน/วัน)

ระยะเวลา : 6 เดือน (เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2564)

 

“ยิ่งใช้ยิ่งได้” 

กลุ่มเป้าหมาย : 4 ล้านคน

สิทธิ : รัฐสนับสนุน E - Voucher ให้กับประชาชนที่ใช้จ่ายซื้อสินค้า ค่าอาหาร และเครื่องดื่มและค่าบริการกับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่เกิน 5,000 บาท/คน/วัน สูงสุดไม่เกิน 7,000 บาท/คน

ระยะเวลา : 5 เดือน (เดือนสิงหาคม - ธันวาคม 2564)

 

“ลดค่าไฟฟ้า”

สำหรับบ้านอยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็ก (ไม่รวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ) ดังนี้

1. ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้า “ไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน” 

- ให้สิทธิใช้ไฟฟ้าฟรี 90 หน่วยแรก

2. ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยต่อเดือน ให้ส่วนลดค่าไฟฟ้า ดังนี้

กรณีหน่วยการใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าหรือเท่ากับใบแจ้งค่าไฟฟ้าเดือนเมษายน 2564

- คิดค่าไฟฟ้าตามหน่วยการใช้ไฟฟ้าจริง

กรณีหน่วยการใช้ไฟฟ้ามากกว่าใบแจ้งค่าไฟฟ้าเดือนเมษายน 2564

สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 500 หน่วยต่อเดือน

- คิดค่าไฟฟ้าเท่ากับหน่วยการใช้ไฟฟ้าของใบแจ้งค่าไฟฟ้าเดือนเมษายน 2564

สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้ามากกว่า 500 หน่วยต่อเดือน แต่ไม่เกิน 1,000 หน่วยต่อเดือน

- คิดค่าไฟฟ้าเท่ากับหน่วยการใช้ไฟฟ้าของใบแจ้งค่าไฟฟ้าเดือนเมษายน 2564 บวกด้วยหน่วยการใช้ไฟฟ้าที่มากกว่าหน่วยการใช้ไฟฟ้าใบแจ้งค่าไฟฟ้าเดือนเมษายน 2564 ในอัตราร้อยละ 50

สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้ามากกว่า 1,000 หน่วย

- คิดค่าไฟฟ้าเท่ากับหน่วยการใช้ไฟฟ้าของใบแจ้งค่าไฟฟ้าเดือนเมษายน 2564 บวกด้วยหน่วยการใช้ไฟฟ้าที่มากกว่าหน่วยการใช้ไฟฟ้าของใบแจ้งค่าไฟฟ้าเดือนเมษายน 2564 ในอัตราร้อยละ 70 โดยให้เป็นส่วนลดค่าไฟฟ้า ก่อนการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม

3. ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทกิจการขนาดเล็ก (ไม่รวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ) 

- ให้สิทธิใช้ไฟฟ้าฟรี 50 หน่วยแรก

ระยะเวลา : 2 เดือน (ตามใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้าเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2564)  

 

“ลดค่าน้ำประปา”

เฉพาะบ้านที่อยู่อาศัย และกิจการขนาดเล็ก (ไม่รวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ)

- ลด 10%

ระยะเวลา : 2 เดือน (ตามใบแจ้งหนี้ค่าน้ำประปาเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2564)                               

 

“สินเชื่อสู้ภัยโควิด-19 

กลุ่มเป้าหมาย : ผู้มีรายได้ประจำ เช่น พนักงาน , ลูกจ้างหน่วยงานเอกชนที่มีเงินเดือนประจำ , ผู้ประกอบอาชีพอิสระ เช่น ผู้ประกอบการรายย่อย , พ่อค้า , แม่ค้า , หาบเร่แผงลอย และเกษตรกรรายย่อยหรือลูกจ้างภาคการเกษตรที่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินฉุกเฉิน

หลักการดำเนินงาน : ธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อวงเงินรวม 20,000 ล้านบาท (ธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. แห่งละ 10,000 ล้านบาท) คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ (Flat Rate) ไม่เกินร้อยละ 0.35 ต่อเดือน ระยะเวลากู้ไม่เกิน 3 ปี (ปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 งวดแรก)

ระยะเวลา : นับตั้งแต่ ครม.เห็นชอบ ถึง 31 ธันวาคม 2564

 

“พักชำระหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) 

สถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) ขยายระยะเวลาพักชำระหนี้ให้แก่ลูกค้ารายย่อยออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ตามความสมัครใจ โดยการพักชำระเงินต้นเพื่อลดภาระการชำระหนี้เป็นการชั่วคราวให้แก่ลูกหนี้ หรือเพื่อนำเงินงวดที่จะต้องชำระหนี้ไปเป็นสภาพคล่องในการดำเนินชีวิตประจำวัน หรือเพื่อการประกอบธุรกิจในช่วงที่มีความไม่แน่นอนสูง โดยวิธีการชำระหนี้ที่พักชำระไว้ จะต้องไม่เพิ่มภาระให้แก่ลูกหนี้มากจนเกินควรเมื่อพิจารณาอัตราดอกเบี้ยตลอดระยะเวลาสัญญาเงินกู้ ซึ่งรวมถึงดอกเบี้ยกรณีที่ SFIs ได้พิจารณาพักชำระไว้ด้วย
ติดต่อโฆษณา!