12 ตุลาคม 2567
139
คนไทยครองแชมป์ ใช้มือถือสแกนจ่าย มากที่สุดในอาเซียน
ซ่า (VISA) หนึ่งผู้นำการให้บริการการชำระเงินดิจิทัลระดับโลก เผยข้อมูลจากการศึกษาเรื่องทัศนคติการชำระเงินของผู้บริโภคประจำปีฉบับล่าสุดของวีซ่า (Visa Consumer Payment Attitudes Study) เผยประเทศไทยเป็นผู้นำด้านความถี่ในการใช้แอปพลิเคชันโมบายแบงก์กิ้ง (Mobile Banking) มากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
▪️ สถิติการใช้งานแอปพลิเคชันโมบายแบงก์กิ้งอย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์หรือมากกว่านั้น
.
ร้อยละ 97 ผู้บริโภคชาวไทย
ร้อยละ 95 ผู้บริโภคชาวเวียดนาม
ร้อยละ 90 ผู้บริโภคชาวอินโดนีเซีย
.
นายปุณณมาศ วิจิตรกุลวงศา ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย เผยการชำระเงินแบบดิจิทัลกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะผู้บริโภคมีทางเลือกในการชำระเงินมากขึ้น
.
รูปแบบที่เลือกใช้ในการชำระเงินได้แก่ การชำระผ่านบัตรคอนแทคเลส (Contactless payment) สมาร์ตโฟน และการสแกนคิวอาร์โค้ด (QR Code)
.
“การชำระเงินแบบดิจิทัลได้รับการยอมรับมากขึ้นเรื่อย ๆ ในทุกธุรกิจไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ตั้งแต่ร้านอาหารขนาดย่อมไปจนถึงผู้ประกอบการขนส่งสาธารณะ”
.
เมื่อการใช้จ่ายในรูปแบบดิจิทัลโดยเป็นที่นิยมมากขึ้น การพกพาเงินสดก็ลดลงเรื่อยๆ โดยการศึกษาของวีซ่าระบุว่า ร้อยละ 46 ของผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พกเงินสดน้อยลงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
.
ซึ่งเหตุผลหลักที่ทำให้พกเงินสดน้อยลง คือ ใช้จ่ายผ่านการชำระเงินแบบดิจิทัลในรูปแบบคอนแทคเลส หรือไร้สัมผัสมากขึ้น มีสถานที่รับชำระเงินแบบดิจิทัลมากขึ้น และกังวลว่าเงินสดจะสูญหายหรือถูกขโมย
.
นอกจากนี้ไทยยังเป็นประเทศที่มีการชำระเงินแบบเรียลไทม์ (Real-time payments หรือ RTP) อันดับต้นของภูมิภาค และก็เป็นอีกทางเลือกที่กำลังแพร่หลายอย่างรวดเร็วเช่นกัน
.
แม้การชำระเงินแบบเรียลไทม์จะเป็นที่รู้จักและมีอัตราการยอมรับสูง แต่ผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ยังคงสงวนท่าทีในการเลือกชำระเงินในรูปแบบนี้โดยข้อกังวลลำดับต้น ๆ ที่ทำให้ลังเลคือ
.
• ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อยู่ที่ร้อยละ 44
• ชอบชำระเงินดิจิทัลรูปแบบอื่นมากกว่า เช่น บัตรเครดิต/บัตรเดบิต ร้อยละ 42
• ขาดความเข้าใจในการใช้งาน ร้อยละ 41
.
ในส่วนของเทคโนโลยี Generative AI หรือ Gen AI ก็ค่อย ๆ เป็นที่รู้จักเพิ่มขึ้นโดยบริการที่ผู้บริโภคในภูมิภาคนี้กำลังมองหาจาก Gen AI ในการทำธุรกรรมมากที่สุดสามอันดับแรก คือ การแจ้งเตือนธุรกรรมที่อาจเกิดการฉ้อโกงหรือตรวจจับการฉ้อโกงร้อยละ 79 การโต้ตอบกับลูกค้าที่สอบถามเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการร้อยละ 73 และการแนะนำผลิตภัณฑ์ด้านการเงินแบบเฉพาะบุคคลอีกร้อยละ 71
.
ที่มา : VISA (ประเทศไทย), SmartSME
▪️ สถิติการใช้งานแอปพลิเคชันโมบายแบงก์กิ้งอย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์หรือมากกว่านั้น
.
ร้อยละ 97 ผู้บริโภคชาวไทย
ร้อยละ 95 ผู้บริโภคชาวเวียดนาม
ร้อยละ 90 ผู้บริโภคชาวอินโดนีเซีย
.
นายปุณณมาศ วิจิตรกุลวงศา ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย เผยการชำระเงินแบบดิจิทัลกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะผู้บริโภคมีทางเลือกในการชำระเงินมากขึ้น
.
รูปแบบที่เลือกใช้ในการชำระเงินได้แก่ การชำระผ่านบัตรคอนแทคเลส (Contactless payment) สมาร์ตโฟน และการสแกนคิวอาร์โค้ด (QR Code)
.
“การชำระเงินแบบดิจิทัลได้รับการยอมรับมากขึ้นเรื่อย ๆ ในทุกธุรกิจไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ตั้งแต่ร้านอาหารขนาดย่อมไปจนถึงผู้ประกอบการขนส่งสาธารณะ”
.
เมื่อการใช้จ่ายในรูปแบบดิจิทัลโดยเป็นที่นิยมมากขึ้น การพกพาเงินสดก็ลดลงเรื่อยๆ โดยการศึกษาของวีซ่าระบุว่า ร้อยละ 46 ของผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พกเงินสดน้อยลงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
.
ซึ่งเหตุผลหลักที่ทำให้พกเงินสดน้อยลง คือ ใช้จ่ายผ่านการชำระเงินแบบดิจิทัลในรูปแบบคอนแทคเลส หรือไร้สัมผัสมากขึ้น มีสถานที่รับชำระเงินแบบดิจิทัลมากขึ้น และกังวลว่าเงินสดจะสูญหายหรือถูกขโมย
.
นอกจากนี้ไทยยังเป็นประเทศที่มีการชำระเงินแบบเรียลไทม์ (Real-time payments หรือ RTP) อันดับต้นของภูมิภาค และก็เป็นอีกทางเลือกที่กำลังแพร่หลายอย่างรวดเร็วเช่นกัน
.
แม้การชำระเงินแบบเรียลไทม์จะเป็นที่รู้จักและมีอัตราการยอมรับสูง แต่ผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ยังคงสงวนท่าทีในการเลือกชำระเงินในรูปแบบนี้โดยข้อกังวลลำดับต้น ๆ ที่ทำให้ลังเลคือ
.
• ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อยู่ที่ร้อยละ 44
• ชอบชำระเงินดิจิทัลรูปแบบอื่นมากกว่า เช่น บัตรเครดิต/บัตรเดบิต ร้อยละ 42
• ขาดความเข้าใจในการใช้งาน ร้อยละ 41
.
ในส่วนของเทคโนโลยี Generative AI หรือ Gen AI ก็ค่อย ๆ เป็นที่รู้จักเพิ่มขึ้นโดยบริการที่ผู้บริโภคในภูมิภาคนี้กำลังมองหาจาก Gen AI ในการทำธุรกรรมมากที่สุดสามอันดับแรก คือ การแจ้งเตือนธุรกรรมที่อาจเกิดการฉ้อโกงหรือตรวจจับการฉ้อโกงร้อยละ 79 การโต้ตอบกับลูกค้าที่สอบถามเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการร้อยละ 73 และการแนะนำผลิตภัณฑ์ด้านการเงินแบบเฉพาะบุคคลอีกร้อยละ 71
.
ที่มา : VISA (ประเทศไทย), SmartSME