05 ตุลาคม 2567
161
สื่อนอกตีแผ่ไทยติด Top 10 คนตายบนถนนมากที่สุดในโลก
สื่อนอกรายงานไทยติดอันดับต้นๆ ของโลกที่มีอุบัติเหตุบนท้องถนน และมีผู้เสียชีวิตมากที่สุด เรื่องนี้ถูกหยิบยกขึ้นมาตีแผ่อีกครั้งหลังเหตุการณ์โศกนาฏกรรมรถบัสนักเรียนทัศนศึกษาเกิดอุบัติเหตุมีผู้เสียชีวิตถึง 23 ราย เมื่อ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา
จึงมีคำถามเกิดขึ้นว่า หรือแท้จริงแล้วประเทศไทยไทยขาดวัฒนธรรมความปลอดภัย (safety culture) ซึ่งนำไปสู่ความสูญเสียอย่างต่อเนื่องทั้งตัวเลขผู้เสียชีวิตและมูลค่าทางเศรษฐกิจ ?
🚩 ไทยติดอันดับ 9 ของโลก ที่มีคนตายบนท้องถนนเยอะที่สุด
ตามข้อมูลจากรายงานสถานะความปลอดภัยทางถนนโลก ฉบับล่าสุดที่ตีพิมพ์เมื่อปี 2566 โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า ไทยรั้งอันดับที่ 9 ประเทศที่มีอัตราผู้เสียชีวิตบนท้องถนนเยอะที่สุดในโลก คือราว 25.4 คน ต่อประชากร 100,000 คน (คำนวณจากสถิติของปี 2564) หรือคิดเป็นตัวเลขผู้เสียชีวิต 50 ราย/วัน
.
แม้สถิติจะดีขึ้นจากการสำรวจครั้งก่อน ๆ ที่ไทยเคยรั้งอันดับประเทศที่มีสถิติผู้เสียชีวิตบนท้องถนนสูงที่สุดเป็นอันดับที่2 ของโลกตามรายงานในปี 2558 คือมีผู้เสียชีวิตถึง 36.2 คน ต่อประชากร 100,000 คน แต่ปัจจุบันไทยก็ยังนับเป็นประเทศที่มีปัญหาด้านความปลอดภัยบนท้องถนนสูงอยู่ดี
.
▪️ สาเหตุของความเรื้อรัง เรื่องความปลอดภัยบนท้องถนนในไทย
.
เมื่อเดือน ม.ค. 2567 วารสาร Political Geography เผยแพร่งานศึกษาเรื่อง “Their lives don't matter to politicians”: The necropolitical ecology of Thailand's dangerous and unequal roads (แปลเป็นไทยได้ว่า “ชีวิตของพวกเขาไม่สำคัญต่อบรรดานักการเมือง”: ระบบนิเวศวิทยาการเมืองมรณะของอันตรายและความไม่เท่าเทียมกันบนท้องถนนไทย)
.
ทั้งนี้ แม้บทความดังกล่าวมุ่งเน้นไปที่อุบัติเหตุของผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ซึ่งเป็นชนชั้นล่างและรายได้น้อยเป็นหลัก แต่ก็ชี้ให้เห็นถึงปัญหาความปลอดภัยบนท้องถนนของไทยในมิติต่าง ๆ ดังนี้
.
- การทุจริตของผู้ควบคุมกฎจราจร
ผู้เขียนบอกว่าตำรวจจราจรในไทยมีเงินเดือนระดับต่ำสุดในประเทศอาเซียน จึงมีแรงจูงใจให้เจ้าหน้าที่ไม่ต้องทำงานหนัก แต่พยายามหาวิธีดึงสินบนจากผู้ขับขี่แทนที่จะริเริ่มโครงการลดอุบัติเหตุ
.
- ระดับความรู้ของผู้ขับขี่
ในผลสำรวจปี 2021 ของศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย (Thailand Accident Research Center - TARC) พบว่า 78% ของผู้ขับขี่รถยนต์ และ 82% ของผู้ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ ขาดการฝึกอบรมที่เหมาะสม วัฒนธรรมบางอย่างของคนไทย เช่น ประมาทชอบเมาแล้วขับ ขับรถเร็วในที่ชุมชน โรงเรียน เป็นต้น
.
- ขนส่งมวลชนที่ไม่ทั่วถึง
.
การขนส่งสาธารณะในไทยมีจำกัด โดยเฉพาะเขตนอกพื้นที่กรุงเทพมหานคร และการใช้รถไฟฟ้าก็มีราคาแพงมากสำหรับคนจนในเมือง แต่ที่น่าสนใจคือแม้แต่หัวเมืองตามภูมิภาคต่าง ๆ ของไทย เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต อุดรธานี ก็ไม่มีระบบขนส่งมวลชนที่ดี รถโดยสารสาธารณะซึ่งส่วนใหญ่เป็นรถตู้สาธารณะหรือรถบัส วิ่งด้วยความเร็วเพื่อทำรอบในแต่ละวันให้มากที่สุด และขับเคลื่อนด้วยก๊าซหรือปิโตรเลียมเหลวซึ่งง่ายต่อการติดไฟ
.
- ระบบราชการแบบแยกกันทำ
.
อุปสรรคสำคัญที่ทำให้การบรรลุความปลอดภัยบนท้องถนนของไทยเป็นไปได้ยาก คือการกำกับดูแลการขนส่งที่ซับซ้อน อ่อนแอ และกระจัดกระจายของไทย ซึ่งเป็นผลสะท้อนจาก “ไซโล เอ็ฟเฟ็ค (Silo effect)” ของระบบราชการไทยที่มีหน่วยงานด้านนี้จำนวนมาก แต่ไม่ได้ทำงานให้สอดคล้องประสานกันได้ นอกจากนี้งบของกระทรวงคมนาคมก็มุ่งเน้นไปที่การก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่และขยายโครงข่ายทางหลวง ขณะที่มีงบประมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่ถูกนำมาใช้ในงานด้านความปลอดภัยบนท้องถนน
.
- ผู้มีอำนาจทางการเมืองไม่ค่อยให้ความสำคัญกับปัญหานี้
.
งานศึกษาระบุด้วยว่า โดยทั่วไปแล้วสาธารณชนไม่ได้กดดันให้นักการเมืองลงมือทำอะไรสักอย่างเพื่อแก้ไขปัญหาความปลอดภัยบนท้องถนน และการอภิปรายถกเถียงเกี่ยวกับปัญหาความปลอดภัยบนถนนก็ถูกลดทอนความสำคัญในทางการเมือง ตรงกันข้าม ผู้คนกลับเลือกโทษเหยื่อ หรือวัฒนธรรมไทย ๆ มากกว่าจะโทษความเพิกเฉยของรัฐบาล
.
สาธารณชนมักพูดว่าเป็นความ “โชคร้าย” ของเหยื่อที่เกิดอุบัติเหตุขึ้น ซึ่งนำไปสู่ “การยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างง่ายดาย” ผู้เขียนงานศึกษาดังกล่าวระบุด้วยว่า แนวคิดนี้ได้รับอิทธิพลจากหลักศาสนาพุทธที่เกี่ยวกับเรื่องเวรกรรมซึ่งทำให้ผู้คนยอมรับว่าหากเกิดอะไรเลวร้ายขึ้นก็เป็นเพราะกรรมไม่ดีของพวกเขา
.
WHO ที่ตีพิมพ์ในปี 2020 ซึ่งระบุว่า หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ไทยต้องเผชิญกับปัญหาความปลอดภัยบนท้องถนน ก็เนื่องจากประเด็นนี้ยังไม่ได้รับความสนใจมากพอในทางการเมือง ซึ่งนำไปสู่การขาดกลยุทธ์ ไร้แนวทางที่แน่นอน ไม่มีตัวชี้วัดที่ใช้งานได้ รวมไปถึงการขาดแหล่งทรัพยากรที่เพียงพอ
.
▪️ หรือไทยมีปัญหา safety culture (วัฒนธรรมด้านความปลอดภัย) ?
.
ดร.สุเมธ องกิตติกุล ผอ.การวิจัยด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ (TDRI) บอกกับบีบีซีไทยว่า ไม่ใช่ว่าไทยไม่มีวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยเสียเลย เพียงแต่ในแต่ละระดับหรือในบางกิจกรรมอาจมีความเข้มข้นด้านวัฒนธรรมความปลอดภัยแตกต่างกัน
.
เช่นในอุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ ไทยผลิตได้ดีตามมาตรฐบานการส่งออกไปทั่วโลก แต่สำหรับรถบัสการส่งออกมีน้อย ส่วนใหญ่ใช้ในประเทศและใช้ในระยะยาว 10-50 ปี ไทยมีรถโดยสารไม่ประจำทางรวมกันประมาณ 10,000 คันทั่วประเทศ ในจำนวนนี้มีรถเก่าราว 70-80% ที่ยังไม่ได้มาตรฐานใหม่ตามที่กรมการขนส่งยกระดับล่าสุด
.
ข้อมูลจาก TDRI ที่ร่วมติดตามประเมินผลและกำหนดตัวชี้วัดที่สะท้อนมาตรการลดอุบัติเหตุทางถนนของไทย พบว่า ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา (2555-2566) มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนเฉลี่ย 17,914 คน/ปี และในช่วง 5 ปี (2560-2565) มีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัส 228,740 คน/ปี
.
แบ่งเป็น ชาย 75.7% หญิง 24.3% โดยผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 36-60 ปี ตามด้วยช่วงอายุ 25-35 ปี ส่วนประเภทรถที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุแล้วมีผู้เสียชีวิตมากที่สุด หนีไม่พ้น รถจักรยานยนต์ 82% รองลงมาคือ รถยนต์ 18%
.
ความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการเสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัสที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุทางถนนในปี 2022 คาดการณ์ว่ามีมูลค่า 5.31 แสนล้านบาทไทย ซึ่งเทียบเท่ากับ 3.06% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP).
.
ที่มา : BBC News
จึงมีคำถามเกิดขึ้นว่า หรือแท้จริงแล้วประเทศไทยไทยขาดวัฒนธรรมความปลอดภัย (safety culture) ซึ่งนำไปสู่ความสูญเสียอย่างต่อเนื่องทั้งตัวเลขผู้เสียชีวิตและมูลค่าทางเศรษฐกิจ ?
🚩 ไทยติดอันดับ 9 ของโลก ที่มีคนตายบนท้องถนนเยอะที่สุด
ตามข้อมูลจากรายงานสถานะความปลอดภัยทางถนนโลก ฉบับล่าสุดที่ตีพิมพ์เมื่อปี 2566 โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า ไทยรั้งอันดับที่ 9 ประเทศที่มีอัตราผู้เสียชีวิตบนท้องถนนเยอะที่สุดในโลก คือราว 25.4 คน ต่อประชากร 100,000 คน (คำนวณจากสถิติของปี 2564) หรือคิดเป็นตัวเลขผู้เสียชีวิต 50 ราย/วัน
.
แม้สถิติจะดีขึ้นจากการสำรวจครั้งก่อน ๆ ที่ไทยเคยรั้งอันดับประเทศที่มีสถิติผู้เสียชีวิตบนท้องถนนสูงที่สุดเป็นอันดับที่2 ของโลกตามรายงานในปี 2558 คือมีผู้เสียชีวิตถึง 36.2 คน ต่อประชากร 100,000 คน แต่ปัจจุบันไทยก็ยังนับเป็นประเทศที่มีปัญหาด้านความปลอดภัยบนท้องถนนสูงอยู่ดี
.
▪️ สาเหตุของความเรื้อรัง เรื่องความปลอดภัยบนท้องถนนในไทย
.
เมื่อเดือน ม.ค. 2567 วารสาร Political Geography เผยแพร่งานศึกษาเรื่อง “Their lives don't matter to politicians”: The necropolitical ecology of Thailand's dangerous and unequal roads (แปลเป็นไทยได้ว่า “ชีวิตของพวกเขาไม่สำคัญต่อบรรดานักการเมือง”: ระบบนิเวศวิทยาการเมืองมรณะของอันตรายและความไม่เท่าเทียมกันบนท้องถนนไทย)
.
ทั้งนี้ แม้บทความดังกล่าวมุ่งเน้นไปที่อุบัติเหตุของผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ซึ่งเป็นชนชั้นล่างและรายได้น้อยเป็นหลัก แต่ก็ชี้ให้เห็นถึงปัญหาความปลอดภัยบนท้องถนนของไทยในมิติต่าง ๆ ดังนี้
.
- การทุจริตของผู้ควบคุมกฎจราจร
ผู้เขียนบอกว่าตำรวจจราจรในไทยมีเงินเดือนระดับต่ำสุดในประเทศอาเซียน จึงมีแรงจูงใจให้เจ้าหน้าที่ไม่ต้องทำงานหนัก แต่พยายามหาวิธีดึงสินบนจากผู้ขับขี่แทนที่จะริเริ่มโครงการลดอุบัติเหตุ
.
- ระดับความรู้ของผู้ขับขี่
ในผลสำรวจปี 2021 ของศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย (Thailand Accident Research Center - TARC) พบว่า 78% ของผู้ขับขี่รถยนต์ และ 82% ของผู้ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ ขาดการฝึกอบรมที่เหมาะสม วัฒนธรรมบางอย่างของคนไทย เช่น ประมาทชอบเมาแล้วขับ ขับรถเร็วในที่ชุมชน โรงเรียน เป็นต้น
.
- ขนส่งมวลชนที่ไม่ทั่วถึง
.
การขนส่งสาธารณะในไทยมีจำกัด โดยเฉพาะเขตนอกพื้นที่กรุงเทพมหานคร และการใช้รถไฟฟ้าก็มีราคาแพงมากสำหรับคนจนในเมือง แต่ที่น่าสนใจคือแม้แต่หัวเมืองตามภูมิภาคต่าง ๆ ของไทย เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต อุดรธานี ก็ไม่มีระบบขนส่งมวลชนที่ดี รถโดยสารสาธารณะซึ่งส่วนใหญ่เป็นรถตู้สาธารณะหรือรถบัส วิ่งด้วยความเร็วเพื่อทำรอบในแต่ละวันให้มากที่สุด และขับเคลื่อนด้วยก๊าซหรือปิโตรเลียมเหลวซึ่งง่ายต่อการติดไฟ
.
- ระบบราชการแบบแยกกันทำ
.
อุปสรรคสำคัญที่ทำให้การบรรลุความปลอดภัยบนท้องถนนของไทยเป็นไปได้ยาก คือการกำกับดูแลการขนส่งที่ซับซ้อน อ่อนแอ และกระจัดกระจายของไทย ซึ่งเป็นผลสะท้อนจาก “ไซโล เอ็ฟเฟ็ค (Silo effect)” ของระบบราชการไทยที่มีหน่วยงานด้านนี้จำนวนมาก แต่ไม่ได้ทำงานให้สอดคล้องประสานกันได้ นอกจากนี้งบของกระทรวงคมนาคมก็มุ่งเน้นไปที่การก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่และขยายโครงข่ายทางหลวง ขณะที่มีงบประมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่ถูกนำมาใช้ในงานด้านความปลอดภัยบนท้องถนน
.
- ผู้มีอำนาจทางการเมืองไม่ค่อยให้ความสำคัญกับปัญหานี้
.
งานศึกษาระบุด้วยว่า โดยทั่วไปแล้วสาธารณชนไม่ได้กดดันให้นักการเมืองลงมือทำอะไรสักอย่างเพื่อแก้ไขปัญหาความปลอดภัยบนท้องถนน และการอภิปรายถกเถียงเกี่ยวกับปัญหาความปลอดภัยบนถนนก็ถูกลดทอนความสำคัญในทางการเมือง ตรงกันข้าม ผู้คนกลับเลือกโทษเหยื่อ หรือวัฒนธรรมไทย ๆ มากกว่าจะโทษความเพิกเฉยของรัฐบาล
.
สาธารณชนมักพูดว่าเป็นความ “โชคร้าย” ของเหยื่อที่เกิดอุบัติเหตุขึ้น ซึ่งนำไปสู่ “การยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างง่ายดาย” ผู้เขียนงานศึกษาดังกล่าวระบุด้วยว่า แนวคิดนี้ได้รับอิทธิพลจากหลักศาสนาพุทธที่เกี่ยวกับเรื่องเวรกรรมซึ่งทำให้ผู้คนยอมรับว่าหากเกิดอะไรเลวร้ายขึ้นก็เป็นเพราะกรรมไม่ดีของพวกเขา
.
WHO ที่ตีพิมพ์ในปี 2020 ซึ่งระบุว่า หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ไทยต้องเผชิญกับปัญหาความปลอดภัยบนท้องถนน ก็เนื่องจากประเด็นนี้ยังไม่ได้รับความสนใจมากพอในทางการเมือง ซึ่งนำไปสู่การขาดกลยุทธ์ ไร้แนวทางที่แน่นอน ไม่มีตัวชี้วัดที่ใช้งานได้ รวมไปถึงการขาดแหล่งทรัพยากรที่เพียงพอ
.
▪️ หรือไทยมีปัญหา safety culture (วัฒนธรรมด้านความปลอดภัย) ?
.
ดร.สุเมธ องกิตติกุล ผอ.การวิจัยด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ (TDRI) บอกกับบีบีซีไทยว่า ไม่ใช่ว่าไทยไม่มีวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยเสียเลย เพียงแต่ในแต่ละระดับหรือในบางกิจกรรมอาจมีความเข้มข้นด้านวัฒนธรรมความปลอดภัยแตกต่างกัน
.
เช่นในอุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ ไทยผลิตได้ดีตามมาตรฐบานการส่งออกไปทั่วโลก แต่สำหรับรถบัสการส่งออกมีน้อย ส่วนใหญ่ใช้ในประเทศและใช้ในระยะยาว 10-50 ปี ไทยมีรถโดยสารไม่ประจำทางรวมกันประมาณ 10,000 คันทั่วประเทศ ในจำนวนนี้มีรถเก่าราว 70-80% ที่ยังไม่ได้มาตรฐานใหม่ตามที่กรมการขนส่งยกระดับล่าสุด
.
ข้อมูลจาก TDRI ที่ร่วมติดตามประเมินผลและกำหนดตัวชี้วัดที่สะท้อนมาตรการลดอุบัติเหตุทางถนนของไทย พบว่า ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา (2555-2566) มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนเฉลี่ย 17,914 คน/ปี และในช่วง 5 ปี (2560-2565) มีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัส 228,740 คน/ปี
.
แบ่งเป็น ชาย 75.7% หญิง 24.3% โดยผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 36-60 ปี ตามด้วยช่วงอายุ 25-35 ปี ส่วนประเภทรถที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุแล้วมีผู้เสียชีวิตมากที่สุด หนีไม่พ้น รถจักรยานยนต์ 82% รองลงมาคือ รถยนต์ 18%
.
ความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการเสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัสที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุทางถนนในปี 2022 คาดการณ์ว่ามีมูลค่า 5.31 แสนล้านบาทไทย ซึ่งเทียบเท่ากับ 3.06% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP).
.
ที่มา : BBC News