ลาวขาดแคลนแรงงานหนัก รัฐบาลวอนกลับบ้านเกิด

ลาวขาดแคลนแรงงานหนัก รัฐบาลวอนกลับบ้านเกิด
สปป.ลาว กำลังต่อสู้กับวิกฤติการขาดแคลนแรงงานอย่างรุนแรง หนุ่มสาววัยทำงานต่างออกไปแสวงหาโอกาสทำงานต่างประเทศเพื่อค่าตอบแทนที่สูงกว่า 

🚩กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมของ สปป.ลาว จึงได้เรียกร้องให้ชาวลาวทั้งในประเทศและต่างประเทศหันกลับมาพิจารณาโอกาสการจ้างงานภายในประเทศ ซึ่งนับเป็นความพยายามที่จะรักษาแรงงานเอาไว้
.
🚩ขณะที่ช่องว่างระหว่างค่าแรงขั้นต่ำและค่าครองชีพของ สปป.ลาว ยังคงกว้างมาก ส่งผลให้คนลาวจำนวนมากมองหาโอกาสในประเทศต่าง ๆ ที่มีการเสนอค่าจ้างที่แข่งขันได้  
.
🚩ประเทศจุดหมายปลายทางของแรงงานชาวลาวคือ ไทย เกาหลีใต้ มาเลเซีย และญี่ปุ่น กลายเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมสำหรับแรงงานชาวลาว ซึ่งก่อให้เกิดความท้าทายด้านอุปทานแรงงานในประเทศ
.
ทั้งนี้ ประกาศที่ออกโดยกระทรวงฯ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม แสดงให้เห็นว่าภาคธุรกิจต่างๆ ของ สปป.ลาว กำลังประสบปัญหาการขาดแคลนบุคลากรอย่างหนัก โดยได้มีความพยายามต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ได้แก่ 
.
🚩แนวทางในการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลลาว ได้แก่ การริเริ่มความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและองค์กรต่างๆ เช่น สมาพันธ์สหภาพแรงงานลาว และสมาคมธุรกิจการจ้างงานลาว โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับแรงงาน ส่งเสริมแนวปฏิบัติทางอุตสาหกรรมที่ดีขึ้น และเพิ่มความสามารถในการเจรจากับนายจ้างและหน่วยงานที่มีอำนาจ
.
🚩นอกจากนี้ หน่วยงานท้องถิ่นต่าง ๆ ได้รับคำสั่งให้รวบรวมข้อมูลจำนวนแรงงานที่ทำงานอยู่นอกประเทศ จำนวนผู้ว่างงาน รวมถึงผู้มีรายได้น้อยที่ต้องการโอกาสในการทำงานที่ดีขึ้น 
.
โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการรวบรวมข้อมูลที่แม่นยำในการแก้ปัญหาการว่างงาน ผลกระทบของการเก็บสถิติการจ้างงานที่ไม่เพียงพอในกระบวนการจัดหางาน รวมถึงการขาดตัวชี้วัดต่างๆ สำหรับตลาดแรงงาน
.
🚩ขณะเดียวกัน รัฐบาลของ สปป.ลาว ได้กระตุ้นให้ผู้ที่กำลังหางานไปที่ศูนย์จัดหางานต่างๆ ที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมจัดตั้งขึ้น หรือเข้าไปที่เว็บไซต์ของกระทรวงฯ เพื่อหางานที่ตรงกับทักษะของตนเอง โดยแพลตฟอร์มเหล่านี้จะช่วยค้นหางานและช่วยระบุตำแหน่งงานว่างที่เหมาะสมให้
.
🚩แต่ดูเหมือนว่า สปป.ลาว ยังคงต้องต่อสู้กับปัญหาการขาดแคลนแรงงานอย่างต่อเนื่องจากปัจจัยต่างๆ เช่น ค่าแรงที่ต่ำ อัตราเงินเฟ้อ และการอ่อนค่าของสกุลเงินกีบ 
.
แม้รัฐบาลได้เริ่มใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อขึ้นค่าแรงขั้นต่ำแล้ว แต่นายจ้างบางรายก็ไม่เต็มใจที่จะปรับขึ้นค่าจ้าง ซึ่งทำให้การจัดการกับปัญหาดังกล่าวไม่คืบหน้าเท่าที่ควร
.
ที่มา : Bangkok Bank, AEC Connect

ติดต่อโฆษณา!