05 ธันวาคม 2566
3,446
เปิด 3 แคนดิเดต ศึกชิงเก้าอี้ CEO ปตท.
รายงานข่าวระบุว่า วันที่ 1 ธ.ค. 2566 ปตท.ได้ประกาศรับสมัครบุคคลเพื่อรับการคัดเลือกเข้าดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ อย่างเป็นทางการโดยสมัครได้ตั้งแต่วันที่ 12 ธ.ค. 2566 ถึง 3 ม.ค. 2567 ระหว่างเวลา 08.30 - 17.30 น. (เว้นวันหยุดราชการ) เผยชื่อ 3 แคนดิเดต สุดปังร่วมชิงตำแหน่ง
เนื่องจากนายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) CEO ปตท.คนที่ 10 จะครบวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี ในเดือน พ.ค.2567 หลังจากเข้ามารับตำแหน่งในเดือนพ.ค. 2563 ซึ่งตามกระบวนการจะต้องเริ่มดำเนินการสรรหาก่อน 6 เดือน
แหล่งข่าวจากวงการพลังงาน เปิดเผยว่า รายชื่อแคนดิเดต 3 คนที่คาดว่าจะร่วมลงชิงตำแหน่ง CEO คนที่ 11 ได้แก่
นายคงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC เกิดวันที่ 21 เม.ย. 2510 มีอายุ 56 ปี
นายนพดล ปิ่นสุภา ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท.ปตท. จำกัด (มหาชน) มีอายุ 58 ปี
นายบัณฑิต ธรรมประจำจิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) อายุ 53 ปี
โดยแคนดิเดต CEO ปตท. คนที่ 11 ทั้ง 3 คนมีคุณสมบัติครบทั้งความรู้ความสามารถและอายุไม่เกิน 58 ปี มีวิสัยทัศน์ทางด้านธุรกิจพลังงาน ปิโตรเลียม ปิโตรเคมี รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง มีความรอบรู้และประสบการณ์ในการบริหารองค์กรขนาดใหญ่
อ้างอิงกรุงเทพธุรกิจ แหล่งข่าวระบุว่า ผู้บริหารสังกัดกระทรวงพลังงาน ต่างยกน้ำหนักไปที่ นายคงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ที่มีความรู้ความสามารถและมีประสบการถือเป็นลูกหม้อ ปตท.มาเป็นเวลานาน
“เท่าที่ดูรายชื่อทั้งบุคคลภายในระดับรอง CEO ที่นั่งเป็น CEO บริหารให้กับบริษัทลูก ทุกคนล้วนแล้วแต่มีความรู้ความสามารถทั้งนั้น ไม่งั้นก็คงไม่ได้นั่งบริหารบริษัทใหญ่ของ กลุ่มปตท. ได้ จึงต้องลงมาดูในเรื่องของคุณสมบัติด้านอายุที่กำหนดไว้ไม่เกิน 58 ปี ซึ่ง CEO ท่านเดิมก็สมัครได้อีกทั้งที่ผ่านมานายอรรถพล ก็สามารถนำพาปตท. ผ่านพ้นวิกฤติโควิด และปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ได้อย่างดี" แหล่งข่าว ระบุ
ทั้งนี้ คุณสมบัติของ CEO ยังระบุด้วยว่า ในกรณีที่เป็นหรือเคยเป็นผู้บริหารภาคเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจ ต้องดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับรองผู้บริหารสูงสุดขององค์กรนั้น ที่มีรายได้ไม่ต่ำกว่า 50,000 ล้านบาทต่อปี โดยมีงบการเงินและโครงสร้างองค์กร หรือรายงานประจำปีในขณะดำรงตำแหน่งมาแสดงด้วย
รวมถึงมีความเป็นผู้นำ มีคุณธรรมและจริยธรรม ยึดมั่นในหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีมนุษยสัมพันธ์ดี สามารถติดต่อประสานงานได้เป็นอย่างดีทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นต้น
เนื่องจากนายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) CEO ปตท.คนที่ 10 จะครบวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี ในเดือน พ.ค.2567 หลังจากเข้ามารับตำแหน่งในเดือนพ.ค. 2563 ซึ่งตามกระบวนการจะต้องเริ่มดำเนินการสรรหาก่อน 6 เดือน
แหล่งข่าวจากวงการพลังงาน เปิดเผยว่า รายชื่อแคนดิเดต 3 คนที่คาดว่าจะร่วมลงชิงตำแหน่ง CEO คนที่ 11 ได้แก่
นายคงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC เกิดวันที่ 21 เม.ย. 2510 มีอายุ 56 ปี
นายนพดล ปิ่นสุภา ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท.ปตท. จำกัด (มหาชน) มีอายุ 58 ปี
นายบัณฑิต ธรรมประจำจิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) อายุ 53 ปี
โดยแคนดิเดต CEO ปตท. คนที่ 11 ทั้ง 3 คนมีคุณสมบัติครบทั้งความรู้ความสามารถและอายุไม่เกิน 58 ปี มีวิสัยทัศน์ทางด้านธุรกิจพลังงาน ปิโตรเลียม ปิโตรเคมี รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง มีความรอบรู้และประสบการณ์ในการบริหารองค์กรขนาดใหญ่
อ้างอิงกรุงเทพธุรกิจ แหล่งข่าวระบุว่า ผู้บริหารสังกัดกระทรวงพลังงาน ต่างยกน้ำหนักไปที่ นายคงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ที่มีความรู้ความสามารถและมีประสบการถือเป็นลูกหม้อ ปตท.มาเป็นเวลานาน
“เท่าที่ดูรายชื่อทั้งบุคคลภายในระดับรอง CEO ที่นั่งเป็น CEO บริหารให้กับบริษัทลูก ทุกคนล้วนแล้วแต่มีความรู้ความสามารถทั้งนั้น ไม่งั้นก็คงไม่ได้นั่งบริหารบริษัทใหญ่ของ กลุ่มปตท. ได้ จึงต้องลงมาดูในเรื่องของคุณสมบัติด้านอายุที่กำหนดไว้ไม่เกิน 58 ปี ซึ่ง CEO ท่านเดิมก็สมัครได้อีกทั้งที่ผ่านมานายอรรถพล ก็สามารถนำพาปตท. ผ่านพ้นวิกฤติโควิด และปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ได้อย่างดี" แหล่งข่าว ระบุ
ทั้งนี้ คุณสมบัติของ CEO ยังระบุด้วยว่า ในกรณีที่เป็นหรือเคยเป็นผู้บริหารภาคเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจ ต้องดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับรองผู้บริหารสูงสุดขององค์กรนั้น ที่มีรายได้ไม่ต่ำกว่า 50,000 ล้านบาทต่อปี โดยมีงบการเงินและโครงสร้างองค์กร หรือรายงานประจำปีในขณะดำรงตำแหน่งมาแสดงด้วย
รวมถึงมีความเป็นผู้นำ มีคุณธรรมและจริยธรรม ยึดมั่นในหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีมนุษยสัมพันธ์ดี สามารถติดต่อประสานงานได้เป็นอย่างดีทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นต้น