26 พฤศจิกายน 2566
564
“ลอยกระทง” ไม่ได้มีแค่ในไทย แต่เป็นวัฒนธรรมร่วมเอเชีย ที่มีความต่าง
วันลอยกระทงไม่ได้มีแค่ชาวไทยเท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายประเทศที่มีวัฒนธรรมนี้ร่วมกัน บางหลักฐานเชื่อว่าถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บ้างก็เชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที หรือเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์ ทำให้แต่ละประเทศมีการจัดงานที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
อย่างไรก็ตามแม้วัตถุประสงค์การจัดงานจะแตกต่างกันไปบ้าง แต่มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ “การลอยกระทง” มาดูกันว่าแต่ละประเทศจะเป็นอย่างไร
▪️ ไทย “พิธีจองเปรียง” หรือ “ลอยพระประทีป”
ประเพณีลอยกระทงของไทยปีนี้ ตรงกับวันจันทร์ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ตามความเชื่อ การลอยกระทง เป็นประเพณีที่จัดขึ้นเพื่อขอขมาพระแม่คงคา และตอบแทนพระคุณที่ได้มีน้ำให้ใช้สอย
ประเพณีลอยกระทงมีมานานตั้งแต่กรุงสุโขทัย อยุธยา และสืบทอดมาถึงปัจจุบัน ที่แม้ละครดังเรื่อง “พรหมลิขิต” ก็ยังมีฉากพระนาง ร่วมลอยกระทงในงาน “จองเปรียง”
ในปัจจุบันยังมีประเพณีลอยกระทงของไทยที่โด่งดังในแต่ละพื้นที่ และเรียกชื่อแตกต่างกันออกไป เช่น “เผาเทียน เล่นไฟ สุโขทัย” และ “ประเพณียี่เป็ง เชียงใหม่”
▪️ ลาว “งานไหลเฮือไฟ”
ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 มีประเพณีการแข่งเรือที่ริมแม่น้ำโขง, ลอยประทีป และไหลเรือไฟ เป็นการบูชาคุณแม่น้ำโขง และเพื่อบูชาพระพุทธเจ้าซึ่งเสด็จกลับมาจากการเทศนาโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
▪️ เมียนมา “จุดไฟตามประทีป”
การลอยกระทงในเมียนมา เริ่มมาจากความเชื่อทางพุทธศาสนา โดยพระเจ้าอชาตศัตรูมีพระดำริที่จะฟังธรรมเทศนา หมอชีวกโกมารจึงถวายคำแนะนำให้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ สวนมะม่วงของตัวเอง เหล่าเสนาอำมาตย์เห็นดังนั้นจึงจุดไฟตามประทีบในขบวนเสด็จ เป็นที่มาของประเพณีลอยกระทง หรือที่ชาวเมียนมาเรียกกันว่า “จุดไฟตามประทีบ” นั่นเอง
ประเพณีจุดไฟตามประทีปนั้น เป็นการจุดไฟตามประทีปบริเวณเจดีย์ในช่วงเดือนแปด เพื่อบูชาพระพุทธเจ้า บางชุมชมอาจจุดไฟโดยไม่ได้นำไปลอยน้ำ แต่ชุมชนบางแห่งก็มีพิธีกรรมการลอยกระทงคล้ายกับของไทย
▪️ กัมพูชา “เทศกาลน้ำ”
การลอยกระทงในกัมพูชจะจัดขึ้นทุกปี ตั้งแต่วันขึ้น 14 ค่ำ ไปจนถึงแรม 1 ค่ำ โดยคาดว่ามีมาตั้งแต่สมัยพระนคร (พุทธศตวรรษที่ 18) ตามหลักฐานที่ปรากฎในภาพสลักศิลาในสมัยนั้น เป็นภาพของสตรีทรงเครื่องคล้ายกษัตริย์ที่กำลังลอยกระทงรูปดอกบัวไปตามกระแสน้ำ แต่ยังไม่มีปรากฎแน่ชัดว่าเป็นการลอยด้วยวัตถุประสงค์ใด แต่เชื่อว่าเป็นการลอยเพื่อรำลึกถึงบุญคุณ และแสดงความขอบคุณต่อแม่น้ำโขง และทะเลสาบโตนเลสาบ
▪️ จีน "ลอยโคมประทีป"
ชาวจีนเรียกการลอยกระทงว่า “ลอยโคมประทีบ” หรือ “ฟั่งเหอเติง” (ภาษาจีน) ซึ่งหากเรียงลำดับตามความเก่าแก่แล้ว อาจพูดได้ว่าจีนเป็นประเทศแรกที่มีการลอยกระทง โดยเทศกาลนี้จะจัดขึ้นในช่วงเทศกาลสารทจีน และจะลอยตัวกระทงที่มีลักษณะเป็นดอกบัวลอยไปตามน้ำ มีความเชื่อหลักอยู่ 2 ส่วน คือลอยเพื่อบูชาเทพเจ้าตี้กวน หรือการเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ
▪️ อินเดีย "ทีปาวลี" หรือ "ดิวาลี"
จัดขึ้นบริเวณริมแม่น้ำคงคา ในช่วงเวลาตามปฏิทินฮินดูในคืนวันแรม 15 ค่ำ เดือน 12 ผู้คนนิยมจุดประทีปใส่กระทงที่ทำจากใบไม้แห้ง ประดับด้วยดอกกุหลาบ และดาวเรือง เพื่อเฉลิมฉลองการนิวัติกลับนครอโยธยาของพระราม (อวตารของพระนารายณ์หรือวิษณุ เป็นเทวดาในภาคมนุษย์) และนางสีดา (อวตารของพระลักษมี มเหสีเอกของพระนารายณ์)
▪️ สิงคโปร์ "ทีปาวลี"
มีความคล้ายคลึงกับที่อินเดีย เนื่องจากเป็นเทศกาลที่จัดขึ้นโดยคนอินเดียที่อาศัยอยู่ในสิงคโปร์โซน "Little India"
อย่างไรก็ตามแม้วัตถุประสงค์การจัดงานจะแตกต่างกันไปบ้าง แต่มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ “การลอยกระทง” มาดูกันว่าแต่ละประเทศจะเป็นอย่างไร
▪️ ไทย “พิธีจองเปรียง” หรือ “ลอยพระประทีป”
ประเพณีลอยกระทงของไทยปีนี้ ตรงกับวันจันทร์ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ตามความเชื่อ การลอยกระทง เป็นประเพณีที่จัดขึ้นเพื่อขอขมาพระแม่คงคา และตอบแทนพระคุณที่ได้มีน้ำให้ใช้สอย
ประเพณีลอยกระทงมีมานานตั้งแต่กรุงสุโขทัย อยุธยา และสืบทอดมาถึงปัจจุบัน ที่แม้ละครดังเรื่อง “พรหมลิขิต” ก็ยังมีฉากพระนาง ร่วมลอยกระทงในงาน “จองเปรียง”
ในปัจจุบันยังมีประเพณีลอยกระทงของไทยที่โด่งดังในแต่ละพื้นที่ และเรียกชื่อแตกต่างกันออกไป เช่น “เผาเทียน เล่นไฟ สุโขทัย” และ “ประเพณียี่เป็ง เชียงใหม่”
▪️ ลาว “งานไหลเฮือไฟ”
ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 มีประเพณีการแข่งเรือที่ริมแม่น้ำโขง, ลอยประทีป และไหลเรือไฟ เป็นการบูชาคุณแม่น้ำโขง และเพื่อบูชาพระพุทธเจ้าซึ่งเสด็จกลับมาจากการเทศนาโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
▪️ เมียนมา “จุดไฟตามประทีป”
การลอยกระทงในเมียนมา เริ่มมาจากความเชื่อทางพุทธศาสนา โดยพระเจ้าอชาตศัตรูมีพระดำริที่จะฟังธรรมเทศนา หมอชีวกโกมารจึงถวายคำแนะนำให้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ สวนมะม่วงของตัวเอง เหล่าเสนาอำมาตย์เห็นดังนั้นจึงจุดไฟตามประทีบในขบวนเสด็จ เป็นที่มาของประเพณีลอยกระทง หรือที่ชาวเมียนมาเรียกกันว่า “จุดไฟตามประทีบ” นั่นเอง
ประเพณีจุดไฟตามประทีปนั้น เป็นการจุดไฟตามประทีปบริเวณเจดีย์ในช่วงเดือนแปด เพื่อบูชาพระพุทธเจ้า บางชุมชมอาจจุดไฟโดยไม่ได้นำไปลอยน้ำ แต่ชุมชนบางแห่งก็มีพิธีกรรมการลอยกระทงคล้ายกับของไทย
▪️ กัมพูชา “เทศกาลน้ำ”
การลอยกระทงในกัมพูชจะจัดขึ้นทุกปี ตั้งแต่วันขึ้น 14 ค่ำ ไปจนถึงแรม 1 ค่ำ โดยคาดว่ามีมาตั้งแต่สมัยพระนคร (พุทธศตวรรษที่ 18) ตามหลักฐานที่ปรากฎในภาพสลักศิลาในสมัยนั้น เป็นภาพของสตรีทรงเครื่องคล้ายกษัตริย์ที่กำลังลอยกระทงรูปดอกบัวไปตามกระแสน้ำ แต่ยังไม่มีปรากฎแน่ชัดว่าเป็นการลอยด้วยวัตถุประสงค์ใด แต่เชื่อว่าเป็นการลอยเพื่อรำลึกถึงบุญคุณ และแสดงความขอบคุณต่อแม่น้ำโขง และทะเลสาบโตนเลสาบ
▪️ จีน "ลอยโคมประทีป"
ชาวจีนเรียกการลอยกระทงว่า “ลอยโคมประทีบ” หรือ “ฟั่งเหอเติง” (ภาษาจีน) ซึ่งหากเรียงลำดับตามความเก่าแก่แล้ว อาจพูดได้ว่าจีนเป็นประเทศแรกที่มีการลอยกระทง โดยเทศกาลนี้จะจัดขึ้นในช่วงเทศกาลสารทจีน และจะลอยตัวกระทงที่มีลักษณะเป็นดอกบัวลอยไปตามน้ำ มีความเชื่อหลักอยู่ 2 ส่วน คือลอยเพื่อบูชาเทพเจ้าตี้กวน หรือการเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ
▪️ อินเดีย "ทีปาวลี" หรือ "ดิวาลี"
จัดขึ้นบริเวณริมแม่น้ำคงคา ในช่วงเวลาตามปฏิทินฮินดูในคืนวันแรม 15 ค่ำ เดือน 12 ผู้คนนิยมจุดประทีปใส่กระทงที่ทำจากใบไม้แห้ง ประดับด้วยดอกกุหลาบ และดาวเรือง เพื่อเฉลิมฉลองการนิวัติกลับนครอโยธยาของพระราม (อวตารของพระนารายณ์หรือวิษณุ เป็นเทวดาในภาคมนุษย์) และนางสีดา (อวตารของพระลักษมี มเหสีเอกของพระนารายณ์)
▪️ สิงคโปร์ "ทีปาวลี"
มีความคล้ายคลึงกับที่อินเดีย เนื่องจากเป็นเทศกาลที่จัดขึ้นโดยคนอินเดียที่อาศัยอยู่ในสิงคโปร์โซน "Little India"