โมเดลเศรษฐกิจ BCG กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เตรียมเฮ ! รัฐจัดงบอุดหนุนกว่า 1 พันล้านบาท

โมเดลเศรษฐกิจ BCG กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เตรียมเฮ ! รัฐจัดงบอุดหนุนกว่า 1 พันล้านบาท
Highlight

รัฐบาลเตรียมสนับสนุนงบประมาณกว่า 1 พันล้านบาทส่งเสริมโครงการนำร่องตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG ในระดับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 786 กองทุน โดยมุ่งเป้าสนับสนุนการลงทุนติดตั้งเทคโนโลยีเศรษฐกิจแบบ BCG 5 รูปแบบได้แก่ เทคโนโลยีการเกษตรอัจฉริยะ ทั้งแบบกลางแจ้งหรือในร่ม, การเกษตรและอาหารครบวงจร, ผลิตเชื้อเพลิงพลังงาน และโครงการผลิตน้ำดื่ม เป็นต้น


  • ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาเห็นชอบการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 1,037.48 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการนำร่องตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ตามที่สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (สทบ.) เสนอ

  • น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ทั้งนี้ สทบ.ได้ริเริ่มโครงการดังกล่าวเนื่องจากเล็งเห็นความเดือดร้อนของสมาชิกกองทุนฯ ตลอดจนประชาชนที่อาศัยในหมู่บ้านและชุมชนต้องแบกรับภาระเรื่องต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น แต่ผลผลิตหรือรายได้ลดลง จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนต้องดำเนินโครงการโดยนำโมเดลเศรษฐกิจแบบ BCG เข้ามาขับเคลื่อน

  • ตามโครงการจะสนับสนุนให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ทั้งหมด 786 กองทุน ดำเนินการติดตั้งเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจแบบ BCG 5 รูปแบบกิจกรรม ได้แก่

1. เทคโนโลยีการเกษตรอัจฉริยะ แบบกลางแจ้ง/ระบบเปิด เช่น การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์และจัดทำระบบจ่ายน้ำอัตโนมัติด้วยโดรน

2. เทคโนโลยีการเกษตรอัจฉริยะแบบในร่ม/ระบบปิด เช่น การติดตั้งระบบการใช้น้ำอย่างประหยัดด้วยระบบน้ำหยด

3. เทคโนโลยีผลิตส่งเสริมทางด้านการเกษตรและอาหารครบวงจร เช่น การใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อลดต้นทุนการผลิต และการผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทน

4. เทคโนโลยีการผลิตเชื้อเพลิงพลังงาน ผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหรือขยะ เช่น การนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาทำปุ๋ยหมัก/จุลินทรีย์

5. เทคโนโลยีผลิตน้ำดื่มแบบครบวงจร เช่น การใช้ระบบโซล่าเซลล์เข้ามาช่วยในกระบวนการผลิตเพื่อลดต้นทุนการผลิตน้ำดื่ม

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า สทบ.ประเมินว่าโครงการจะสามารถยกระดับการผลิต การค้าและการบริการในระดับชุมชน และยังเป็นการกระตุ้นการบริโภคและลงทุนของชุมชนจากผลผลิตตามโครงการ เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เข้มแข็ง และโครงการนี้จะเป็นการนำร่องตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG กระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบใหม่ในระดับฐานรากที่ต่อเนื่องต่อไป สำหรับขั้นตอนการดำเนินโครงการ สทบ.จะประกาศให้สมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองทราบในรายละเอียดต่อไป

รู้จักโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG”

รัฐบาลประกาศขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG เป็นวาระแห่งชาติปี 2564-2569 เป็นนโยบาย ขับเคลื่อนประเทศล่าสุด โมเดล BCG เป็นรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจแบบใหม่ซึ่งต่อยอดจากโมเดลเดิม สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โมเดล BCG ประกอบด้วยเศรษฐกิจหลัก 3 ด้านที่จะต้องขับเคลื่อนไปพร้อมกัน ได้แก่

B = เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เป็นการนาความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาพัฒนาต่อยอดจากฐาน ความเข้มแข็งเดิมนั่นก็คือทรัพยากรชีวภาพหรือการผลิตทางการเกษตรเพื่อเพ่ิมมูลค่าให้กับสินค้าเช่นการพัฒนาพันธุ์ ข้าวท่ีมีธาตุอาหารสูงเป็นต้น

C =เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) การนาทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและที่สาคัญคือการมุ่ง ไปที่การลดปริมาณของเสียให้น้อยลงหรือเท่ากับศูนย์ ด้วยกระบวนการผลิต

G = เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) การมุ่งเน้นการลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืนโดยเฉพาะความย่ังยืน ด้านสิ่งแวดล้อมเช่นการใช้เอนไซม์จากจุลินทรีย์เพื่อการฟอกกระดาษการใช้สารชีวภัณฑ์กาจัดแมลงศัตรูพืชทดแทน การใช้สารเคมีเป็นต้น

ที่มา : https://www.opsmoac.go.th/km-km_article-files-431491791792


ติดตาม ทันข่าวToday ช่องทางอื่น ๆ

🔺 Website : https://www.thunkhaotoday.com/
🔺 Facebook : https://www.facebook.com/thunkhaotoday
🔺 Line Today : https://bit.ly/3ifSuDr
🔺 ติดต่อโฆษณา : https://line.me/ti/p/9mjGVL4nhC
ติดต่อโฆษณา!