23 กุมภาพันธ์ 2566
1,078

คดีมิจฉาชีพออนไลน์พุ่งเกือบ 2 แสนคดี ในรอบ 1 ปี

คดีมิจฉาชีพออนไลน์พุ่งเกือบ 2 แสนคดี ในรอบ 1 ปี
Highlight

จากสถิติการรับแจ้งความคดีเกี่ยวกับภัยออนไลน์ในรอบหนึ่งปีที่ผ่านมาพบว่า มีการแจ้งความอาชญากรรมทางเทคโนโลยีเกือบ 2 แสนคดีมูลค่าความเสียหายเกือบ 3 หมื่นล้านบาท ความถี่ในการแจ้งความประมาณ 1,000 รายต่อวัน สามารถอายัดได้ทันกว่า 445 ล้านบาท กลโกงมิจฉาชีพส่วนใหญ่ เช่น การหลอกลวงให้ซื้อสินค้า การโอนเงินหารายได้พิเศษ การหลอกให้กู้เงิน คอลเซ็นเตอร์ การหลอกให้ลงทุน เป็นต้น

นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าจากสถิติการรับแจ้งความคดีเกี่ยวกับภัยออนไลน์ตั้งแต่ 1 มีนาคม 2565 – 6 กุมภาพันธ์ 2566 มีการแจ้งความอาชญากรรมทางเทคโนโลยี จำนวนทั้งสิ้น 192,031 คดี เท่ากับมีสถิติคดีแจ้งความประมาณ 1,000 รายต่อวัน มูลค่าความเสียหายรวมกว่า 2.95 หมื่นล้านบาท

ทั้งนี้ สามารถติดตามอาญัติบัญชี 65,872 บัญชี อายัดได้ทัน 445,265,908 บาท มีผู้เสียหายสูงสุดมูลค่าถึง 100 ล้านบาท จึงเป็นสถานการณ์ขั้นวิกฤต ส่วนรูปแบบกลโกงของมิจฉาชีพ 5 อันดับแรก ได้แก่

• การหลอกลวงซื้อสินค้า

• การโอนเงินหารายได้พิเศษ

• การหลอกให้กู้เงิน

• คอลเซ็นเตอร์

• การหลอกให้ลงทุน

 

ปัญหาที่เกิดขึ้น พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมไซเบอร์ที่สร้างความเสียหายให้ประชาชนคนไทยเพิ่มขึ้นทุกปี

• นายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นว่าเมื่อร่างพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ.... มีผลบังคับใช้จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยธนาคารสามารถระงับธุรกรรมที่ผิดปกติ หรือต้องสงสัยได้ทันที

• พล.อ.ประยุทธ์ ได้สั่งการให้พิจารณาแนวทางดำเนินการเพื่อแก้ไข ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติร่วมกับกระทรวงดีอี เสนอออกพระราชกำหนดปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เพิ่มอำนาจในการสืบสวนสอบสวนให้มีประสิทธิภาพพร้อมประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรู้เท่าทัน

• การร่วมมือของภาครัฐและภาคเพื่อเป็นเครือข่ายในการยับยั้ง ป้องกัน และสร้างภูมิคุ้มกัน (Cyber Vaccine) แก่ประชาชนเพื่อให้รู้เท่าทันกลโกงของมิจฉาชีพ ล่าสุดได้ร่างพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ... คาดการณ์ว่าจะมีผลบังคับใช้ภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้

• สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์มือถือ และ NT ผู้ให้บริการโซเชียลมีเดีย ได้ร่วมกันดำเนินการ ดังนี้ ตรวจสอบปิดไลน์ปลอมของธนาคาร ควบคุมและจัดการ ชื่อผู้ส่ง SMS (SMS Sender) ปลอม ปิดกั้น URL ที่เป็นอันตราย

• รวมทั้งหารือแนวทางกับธนาคารสมาชิก พัฒนาระบบความปลอดภัยแชร์เทคนิคและแนวทางการป้องกันภัย เช่น พัฒนาการป้องกันและควบคุมบริการธุรกรรมออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันของสถาบันการเงิน (Mobile Banking Application) กรณีมือถือมีการเปิดใช้งาน Accessibility Service เพิ่มระบบการพิสูจน์ตัวตน (Authentication) ด้วย Biometrics Comparison เช่น ลายนิ้วมือ รูม่านตา และโครงสร้างใบหน้า เป็นต้น



ติดตาม ทันข่าวToday ช่องทางอื่น ๆ

🔺 Website : https://www.thunkhaotoday.com/
🔺 Facebook : https://www.facebook.com/thunkhaotoday
🔺 Line Today : https://bit.ly/3ifSuDr
🔺 ติดต่อโฆษณา : https://line.me/ti/p/9mjGVL4nhC

ติดต่อโฆษณา!