สถานการณ์ฝุ่นจิ๋ว PM2.5 ในปี 2566 รุนแรงกว่าปีนี้ กรมอนามัยเตือนสวมหน้ากาก 2 ชั้น

สถานการณ์ฝุ่นจิ๋ว PM2.5 ในปี 2566 รุนแรงกว่าปีนี้ กรมอนามัยเตือนสวมหน้ากาก 2 ชั้น
Highlight

คาดปี 2566 สถานการณ์ฝุ่นจิ๋ว PM2.5 รุนแรงกว่าปีที่ผ่านมา เผยผลสำรวจคนไทย 68.9% กังวลต่อปัญหาสุขภาพ แพทย์ย้ำใส่หน้ากาก 2 ชั้น ป้องกันฝุ่นได้ ไม่แนะนำกลุ่มเสี่ยงอยู่กลางแจ้งในช่วงที่ปริมาณฝุ่น PM2.5 มีปริมาณมากเป็นสีเข้ม และไม่แนะนำให้สวมหน้ากากอนามัยวิ่งออกกำลังกาย อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประชาชนสามารถใช้เครื่องฟอกอากาศภายในบ้าน โดยเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานมอก. และติดตั้ง Application เพื่อเช็คสภาพฝุ่นในอากาศ เช่น Air 4 Thai



สถานการณ์เรื่องมลพิษทางอากาศและความเสี่ยงต่อสุขภาพ จากข้อมูลกรมอนามัย พบว่า ในแต่ละปีมีประชาชนเสียชีวิตประมาณ 7 ล้านคน โดยแหล่งกำเนิดมลพิษ ได้แก่ การเผาในที่โล่ง การขนส่ง การผลิตไฟฟ้าใช้ฟอกซิลในการผลิต  อุตสาหกรรม Hazard ที่ยังเกินมาตรฐาน PM10 PM2.5 และสารอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile organic Compounds : VOCs) ในพื้นที่อุตสาหกรรม

ขณะที่ พื้นที่เสี่ยงมลพิษทางอากาศ พบว่า พื้นที่ PM2.5 และ PM10 มีทั้งหมด 46 จังหวัด พื้นที่อุตสาหกรรม/โรงไฟฟ้า/เหมืองโพแตช 11 จังหวัด

โดย 56 ล้านคน อยู่ในพื้นที่มลพิษทางอากาศเกินค่ามาตรฐานและมีความเสี่ยงต่อสุขภาพ และ 22 ล้านคน เป็นกลุ่มเสี่ยง แบ่งเป็น ผู้สูงอายุ 41%  เด็กเล็ก 39% กลุ่มที่มีโรคประจำตัว 19% และหญิงตั้งครรภ์ 1% 

สำหรับความท้าทายที่เกิดขึ้น ด้วยอุตสาหกรรมและความเป็นเมืองมากขึ้น อาจทำให้มลพิษเพิ่มขึ้น กลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยเฉพาะผู้สูงอายุมากขึ้น โอกาสการเจ็บป่วย ค่าใช้จ่ายด้วยสุขภาพเพิ่มมากขึ้น มีการปรับค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศที่เข้มข้นมากขึ้น

ทั้งนี้ สำหรับผลอนามัยโพล “คนไทยรับมือกับฝุ่นอย่างไร” ซึ่งเป็นผลสำรวจระหว่างวันที่ 25 พ.ย.ถึง 18 ธ.ค.2565 มีจำนวนผู้ตอบ 2,392 ราย พบว่า

68.9% ของคนไทยมีความกังวลต่อปัญหา PM2.5
52.4% ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กในระยะยาว
44.5% ทำให้โรคประจำตัวมีอาการรุนแรงมากขึ้น
25.1% ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันฝุ่น
18.3% ไม่รู้วิธีป้องกันอันตรายจากฝุ่น 
10.1% กังวลเรื่องอื่นๆ เช่น โรคที่เกิดจากPM2.5 โควิด-19 และไข้หวัดใหญ่มีความรุนแรงและส่งผลให้เกิดโรคอุบัติใหม่มากขึ้น ความไม่มั่นใจต่อปริมาณฝุ่นในอากาศเนื่องจากไม่สามารถมองเห็นได้ เป็นต้น

วิธีการเตรียมตัวของประชาชน 5 อันดับแรก ได้แก่ 

1. เตรียมหน้ากากป้องกันฝุ่น 82.66%  

2. ดูแลสุขภาพให้ร่างกายแข็งแรง 71.25%

3. ทำความเข้าใจระดับสี PM2.5 59.8%  

4. ทำความสะอาดบ้านล้างแอร์พัดลม 52.53%

5. ปลูกต้นไม้เพื่อดักฝุ่น 40.16%

ขณะที่ประเด็นความต้องการทราบข้อมูล 3 อันดับแรกคือ

66.5% อาการ/ผลกระทบต่อสุขภาพ PM2.5  
58.7% ความรู้เกี่ยวกับ PM2.5 
58.6% คำแนะนำการดูแลสุขภาพเมื่อฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน 

นพ.อรรถพลอรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่ามาตรการดำเนินการงานด้านการแพทย์และสุขภาพโดยแผนเฉพาะกิจเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองปี 2566 จะมี 3 มาตรการหลักดังนี้

1.ลดและป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพโดยเฝ้าระวังสถานการณ์แจ้งเตือนความเสี่ยงผลกระทบต่อสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพยกระดับการสื่อสารเชิงรุกสร้างความรอบรู้และสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและประชาชน
2.จัดบริหารด้านการแพทย์และสาธารณสุขสนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลแก่กลุ่มเสี่ยงเปิดคลินิกมลพิษ/จัดเตรียมห้องปลอดฝุ่นจัดระบบปฎิบัติเชิงรุกเพื่อดูแลประชาชนเตรียมความพร้อมระบบรักษาส่งต่อ
3.เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการระบบบัญชาการเหตุเมื่อเข้าสู่ระยะวิกฤตส่งเสริมและขับเคลื่อนกฎหมายและส่งเสริมองค์กรลดมลพิษ

“ฝุ่น PM2.5 เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่หากทุกคนได้ศึกษาข้อมูล มีความรู้ความเข้าใจ จะทำให้สามารถใช้ชีวิตและป้องกันฝุ่นละอองได้  ดังนั้น ทุกคนต้องเข้าถึงข้อมูล ซึ่งขณะนี้มีแอปพลิเคชั่นต่างๆ ให้สามารถเช็กปริมาณฝุ่นได้  ถ้าเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขสามารถให้คำแนะนำได้ เพราะกลุ่มคนบางกลุ่มอาจจะไม่ได้เข้าถึงข้อมูล หรือแอปพลิเคชั่นได้ รวมถึงต้องศึกษาหาความรู้ และเข้าถึงเขาให้ได้" นพ.อรรถพลกล่าว

คำแนะนำหลีกเลี่ยงผลกระทบจากฝุ่น PM2.5

นพ.ชลพันธ์  ปิยถาวรอนันต์ผู้ช่วยผู้อำนวยกองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพกล่าวว่าการออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดีแต่เมื่อปริมาณฝุ่นPM 2.5 มากขึ้นอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพโดยแนะนำให้หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีปริมาณฝุ่นจำนวนมากและตรวจเช็กระบบการเตือนภัยแต่ละสี  ซึ่งกลุ่มเสี่ยงต้องเฝ้าระวังเรื่องนี้เป็นพิเศษและคอยติดตามอาการตัวเองเวลาออกกำลังกายมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่

“ถ้าปริมาณฝุ่นอยู่ในระดับสีส้ม อยากแนะนำให้ออกกำลังกายในร่ม เช่น ว่ายน้ำ ปิงปอง บาส หรือเต้นออกกำลังกายต่างๆ แต่ถ้าเป็นกลุ่มเสี่ยง แนะนำไม่ให้ออกจากบ้านและเฝ้าระวังอาการของตนเอง หากมีอาการผิดปกติต้องรีบพบแพทย์ หรือสามารถตรวจดูแอปพลิเคชั่น Air 4 Thai หรือ ดูหลายๆ แอป เพื่อนำไปปฎิบัติให้เหมาะสม ถ้าออกกำลังเยอะในพื้นที่ฝุ่น เราจะใช้การหายใจเร็วขึ้น แรงขึ้น เราจะเสี่ยงสัมผัสฝุ่นมากขึ้น จึงไม่แนะนำให้ออกกำลังกายที่โล่งแจ้ง  และไม่แนะนำให้ใส่หน้ากากออกกำลังกาย เพราะอาจจะเป็นอันตรายได้”นพ.ชลพันธ์กล่าว

ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์จำนวนมากเกี่ยวกับการป้องกันฝุ่นดังนั้นอยากให้ประชาชนผู้บริโภคเลือกผลิตภัณฑ์อย่างเหมาะสมตรวจสอบก่อนซื้อหรือเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ขอให้เลือกจากแหล่งที่ถูกต้องมีมาตรฐานมอก.ชัดเจนส่วนบริเวณการตั้งเครื่องฟอกอากาศอย่าตั้งหน้าประตูหน้าต่างเพราะไม่สามารถช่วยอะไรได้และอย่านำอุปกรณ์อะไรไปตั้งปังเครื่องฟอกอากาศแต่ควรตั้งเครื่องฟอกอากาศในบริเวณที่ฟอกอากาศกระจายไปทั่วห้อง” ผศ.ดร.ประพัทธ์กล่าว 

อย่างไรก็ตาม การเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพจากฝุ่น PM2.5 ได้ 6 แนวทาง คือ

1.ติดตามสถานการณ์มลพิษทางอากาศ

2.ประเมินอาการและความเสี่ยงต่อสุขภาพจากPM2.5  

3.ค้นหาห้องปลอดฝุ่นคลินิกมลพิษใกล้บ้าน

4.ปรึกษาแพทย์

5.ตรวจสอบประวัติอาการจากการรับสัมผัส PM2.5

6.ความรู้เกี่ยวกับ PM2.5

โดยสามารถเพิ่มเพื่อน รับข้อมูลสื่อสาร แจ้งเตือนและประเมินอาการทุกวัน ได้ที่

เว็บไซต์ : https://4health.anamai.moph.go.th

Line official : 4health_PM2.5

ติดต่อโฆษณา และบริการ
089-969-2100

รูปแบบบริการที่สนใจ * (เลือกอย่างน้อย 1 บริการ)