สถานการณ์ฝุ่นจิ๋ว PM2.5 ในปี 2566 รุนแรงกว่าปีนี้ กรมอนามัยเตือนสวมหน้ากาก 2 ชั้น

สถานการณ์ฝุ่นจิ๋ว PM2.5 ในปี 2566 รุนแรงกว่าปีนี้ กรมอนามัยเตือนสวมหน้ากาก 2 ชั้น
Highlight

คาดปี 2566 สถานการณ์ฝุ่นจิ๋ว PM2.5 รุนแรงกว่าปีที่ผ่านมา เผยผลสำรวจคนไทย 68.9% กังวลต่อปัญหาสุขภาพ แพทย์ย้ำใส่หน้ากาก 2 ชั้น ป้องกันฝุ่นได้ ไม่แนะนำกลุ่มเสี่ยงอยู่กลางแจ้งในช่วงที่ปริมาณฝุ่น PM2.5 มีปริมาณมากเป็นสีเข้ม และไม่แนะนำให้สวมหน้ากากอนามัยวิ่งออกกำลังกาย อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประชาชนสามารถใช้เครื่องฟอกอากาศภายในบ้าน โดยเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานมอก. และติดตั้ง Application เพื่อเช็คสภาพฝุ่นในอากาศ เช่น Air 4 Thai



สถานการณ์เรื่องมลพิษทางอากาศและความเสี่ยงต่อสุขภาพ จากข้อมูลกรมอนามัย พบว่า ในแต่ละปีมีประชาชนเสียชีวิตประมาณ 7 ล้านคน โดยแหล่งกำเนิดมลพิษ ได้แก่ การเผาในที่โล่ง การขนส่ง การผลิตไฟฟ้าใช้ฟอกซิลในการผลิต  อุตสาหกรรม Hazard ที่ยังเกินมาตรฐาน PM10 PM2.5 และสารอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile organic Compounds : VOCs) ในพื้นที่อุตสาหกรรม

ขณะที่ พื้นที่เสี่ยงมลพิษทางอากาศ พบว่า พื้นที่ PM2.5 และ PM10 มีทั้งหมด 46 จังหวัด พื้นที่อุตสาหกรรม/โรงไฟฟ้า/เหมืองโพแตช 11 จังหวัด

โดย 56 ล้านคน อยู่ในพื้นที่มลพิษทางอากาศเกินค่ามาตรฐานและมีความเสี่ยงต่อสุขภาพ และ 22 ล้านคน เป็นกลุ่มเสี่ยง แบ่งเป็น ผู้สูงอายุ 41%  เด็กเล็ก 39% กลุ่มที่มีโรคประจำตัว 19% และหญิงตั้งครรภ์ 1% 

สำหรับความท้าทายที่เกิดขึ้น ด้วยอุตสาหกรรมและความเป็นเมืองมากขึ้น อาจทำให้มลพิษเพิ่มขึ้น กลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยเฉพาะผู้สูงอายุมากขึ้น โอกาสการเจ็บป่วย ค่าใช้จ่ายด้วยสุขภาพเพิ่มมากขึ้น มีการปรับค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศที่เข้มข้นมากขึ้น

ทั้งนี้ สำหรับผลอนามัยโพล “คนไทยรับมือกับฝุ่นอย่างไร” ซึ่งเป็นผลสำรวจระหว่างวันที่ 25 พ.ย.ถึง 18 ธ.ค.2565 มีจำนวนผู้ตอบ 2,392 ราย พบว่า

68.9% ของคนไทยมีความกังวลต่อปัญหา PM2.5
52.4% ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กในระยะยาว
44.5% ทำให้โรคประจำตัวมีอาการรุนแรงมากขึ้น
25.1% ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันฝุ่น
18.3% ไม่รู้วิธีป้องกันอันตรายจากฝุ่น 
10.1% กังวลเรื่องอื่นๆ เช่น โรคที่เกิดจากPM2.5 โควิด-19 และไข้หวัดใหญ่มีความรุนแรงและส่งผลให้เกิดโรคอุบัติใหม่มากขึ้น ความไม่มั่นใจต่อปริมาณฝุ่นในอากาศเนื่องจากไม่สามารถมองเห็นได้ เป็นต้น

วิธีการเตรียมตัวของประชาชน 5 อันดับแรก ได้แก่ 

1. เตรียมหน้ากากป้องกันฝุ่น 82.66%  

2. ดูแลสุขภาพให้ร่างกายแข็งแรง 71.25%

3. ทำความเข้าใจระดับสี PM2.5 59.8%  

4. ทำความสะอาดบ้าน ล้างแอร์ พัดลม 52.53%

5. ปลูกต้นไม้ เพื่อดักฝุ่น 40.16%

ขณะที่ ประเด็นความต้องการทราบข้อมูล 3 อันดับแรก คือ

66.5% อาการ/ผลกระทบต่อสุขภาพ PM2.5  
58.7% ความรู้เกี่ยวกับ PM2.5 
58.6% คำแนะนำการดูแลสุขภาพเมื่อฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน 

นพ.อรรถพล อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า มาตรการดำเนินการงานด้านการแพทย์และสุขภาพ โดยแผนเฉพาะกิจเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง ปี 2566 จะมี 3 มาตรการหลัก ดังนี้

1.ลดและป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฝ้าระวังสถานการณ์ แจ้งเตือนความเสี่ยง ผลกระทบต่อสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ยกระดับการสื่อสารเชิงรุก สร้างความรอบรู้ และสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและประชาชน
2.จัดบริหารด้านการแพทย์และสาธารณสุข สนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลแก่กลุ่มเสี่ยง เปิดคลินิกมลพิษ/จัดเตรียมห้องปลอดฝุ่น จัดระบบปฎิบัติเชิงรุก เพื่อดูแลประชาชน เตรียมความพร้อมระบบรักษาส่งต่อ
3.เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการ ระบบบัญชาการเหตุเมื่อเข้าสู่ระยะวิกฤต ส่งเสริมและขับเคลื่อนกฎหมาย และส่งเสริมองค์กรลดมลพิษ

“ฝุ่น PM2.5 เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่หากทุกคนได้ศึกษาข้อมูล มีความรู้ความเข้าใจ จะทำให้สามารถใช้ชีวิตและป้องกันฝุ่นละอองได้  ดังนั้น ทุกคนต้องเข้าถึงข้อมูล ซึ่งขณะนี้มีแอปพลิเคชั่นต่างๆ ให้สามารถเช็กปริมาณฝุ่นได้  ถ้าเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขสามารถให้คำแนะนำได้ เพราะกลุ่มคนบางกลุ่มอาจจะไม่ได้เข้าถึงข้อมูล หรือแอปพลิเคชั่นได้ รวมถึงต้องศึกษาหาความรู้ และเข้าถึงเขาให้ได้" นพ.อรรถพล กล่าว

คำแนะนำหลีกเลี่ยงผลกระทบจากฝุ่น PM2.5

นพ.ชลพันธ์  ปิยถาวรอนันต์ ผู้ช่วยผู้อำนวยกองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กล่าวว่าการออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดี แต่เมื่อปริมาณฝุ่นPM 2.5 มากขึ้น อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ โดยแนะนำให้หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีปริมาณฝุ่นจำนวนมาก และตรวจเช็กระบบการเตือนภัยแต่ละสี  ซึ่งกลุ่มเสี่ยงต้องเฝ้าระวังเรื่องนี้เป็นพิเศษ และคอยติดตามอาการตัวเอง เวลาออกกำลังกายมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่

“ถ้าปริมาณฝุ่นอยู่ในระดับสีส้ม อยากแนะนำให้ออกกำลังกายในร่ม เช่น ว่ายน้ำ ปิงปอง บาส หรือเต้นออกกำลังกายต่างๆ แต่ถ้าเป็นกลุ่มเสี่ยง แนะนำไม่ให้ออกจากบ้านและเฝ้าระวังอาการของตนเอง หากมีอาการผิดปกติต้องรีบพบแพทย์ หรือสามารถตรวจดูแอปพลิเคชั่น Air 4 Thai หรือ ดูหลายๆ แอป เพื่อนำไปปฎิบัติให้เหมาะสม ถ้าออกกำลังเยอะในพื้นที่ฝุ่น เราจะใช้การหายใจเร็วขึ้น แรงขึ้น เราจะเสี่ยงสัมผัสฝุ่นมากขึ้น จึงไม่แนะนำให้ออกกำลังกายที่โล่งแจ้ง  และไม่แนะนำให้ใส่หน้ากากออกกำลังกาย เพราะอาจจะเป็นอันตรายได้”นพ.ชลพันธ์ กล่าว

ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์จำนวนมากเกี่ยวกับการป้องกันฝุ่น ดังนั้น อยากให้ประชาชน ผู้บริโภค เลือกผลิตภัณฑ์อย่างเหมาะสม ตรวจสอบก่อนซื้อ หรือเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ ขอให้เลือกจากแหล่งที่ถูกต้อง มีมาตรฐานมอก.ชัดเจน ส่วนบริเวณการตั้งเครื่องฟอกอากาศ อย่าตั้งหน้าประตู หน้าต่าง เพราะไม่สามารถช่วยอะไรได้ และอย่านำอุปกรณ์อะไรไปตั้งปังเครื่องฟอกอากาศ แต่ควรตั้งเครื่องฟอกอากาศ ในบริเวณที่ฟอกอากาศกระจายไปทั่วห้อง” ผศ.ดร.ประพัทธ์ กล่าว 

อย่างไรก็ตาม การเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพจากฝุ่น PM2.5 ได้ 6 แนวทาง คือ

1.ติดตามสถานการณ์มลพิษทางอากาศ

2.ประเมินอาการและความเสี่ยงต่อสุขภาพจากPM2.5  

3.ค้นหาห้องปลอดฝุ่น คลินิกมลพิษใกล้บ้าน

4.ปรึกษาแพทย์

5.ตรวจสอบประวัติอาการจากการรับสัมผัส PM2.5

6.ความรู้เกี่ยวกับ PM2.5

โดยสามารถเพิ่มเพื่อน รับข้อมูลสื่อสาร แจ้งเตือนและประเมินอาการทุกวัน ได้ที่

เว็บไซต์ : https://4health.anamai.moph.go.th

Line official : 4health_PM2.5

ติดต่อโฆษณา!