อินเดียจ่อแซงญี่ปุ่น-เยอรมนี ขึ้นแท่นประเทศเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 3 ของโลก ภายในปี 2573

อินเดียจ่อแซงญี่ปุ่น-เยอรมนี ขึ้นแท่นประเทศเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 3 ของโลก  ภายในปี 2573
Highlight

ด้วยขนาดประชากรที่มีอยู่กว่า 1,400 ล้านคน ใกล้เคียงกับจีนและการเติบโตทางเศรษฐกิจที่อาจจะสูงที่สุดในโลกในปีนี้  ทำให้อินเดียเป็นประเทศที่น่าจับตา เพราะคาดว่าขนาดเศรษฐกิจผงาดขึ้นเป็นอันดับ 3 ของโลก ซึ่งจะแซงญี่ปุ่นกับเยอรมันได้ในปี 2573  อย่างไรก็ตาม ความท้าทายที่อินเดียต้องเผชิญ คือวิกฤตเศรษฐกิจโลก ค่าเงิน เงินเฟ้อ และดอกเบี้ย ถ้าไม่สะดุดขาตนเองล้ม อินเดียจะเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ทรงอิทธิพลทางเศรษฐกิจของโลกในทศวรรษนี้

เอสแอนด์พี โกลบอล (S&P Global) และมอร์แกน สแตนลีย์คาดการณ์ว่า อินเดียอาจกลายมาเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกแซงหน้าญี่ปุ่นและเยอรมนี

ทั้งนี้ เอสแอนด์พีคาดการณ์ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) รายปีของอินเดียมีแนวโน้มเติบโตเฉลี่ย 6.3% จนถึงปี 2573 สอดคล้องกับคาดการณ์ของมอร์แกน สแตนลีย์ที่มองว่า GDP อินเดีย มีแนวโน้มจะเติบโตเป็นเท่าตัวจากระดับปัจจุบันภายในปี 2574

นักวิเคราะห์จากมอร์แกน สแตนลีย์นำโดยริดัม เดไซและกิริช แอคคิปาเลีย ระบุว่า “อินเดียมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยแรงขับเคลื่อนจากการทำธุรกิจในต่างประเทศ การลงทุนด้านการผลิต การเปลี่ยนแปลงด้านพลังงาน และโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่ล้ำสมัยของประเทศ โดยปัจจัยเหล่านี้จะทำให้อินเดียกลายเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจและตลาดหุ้นใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกก่อนสิ้นสุดทศวรรษนี้”

อินเดียรายงานว่า GDP ในช่วงเดือน ก.ค.-ก.ย. ขยายตัวที่ระดับ 6.3% เมื่อเทียบรายปี ซึ่งสูงกว่าผลสำรวจของรอยเตอร์ที่คาดไว้ที่ 6.2% เล็กน้อย ขณะที่ก่อนหน้านี้ อินเดียรายงานว่า GDP ขยายตัว 13.5% สำหรับช่วงเดือนเม.ย.-มิ.ย. เมื่อเทียบรายปี โดยได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ภาคบริการในประเทศที่แข็งแกร่ง

นอกจากนี้ รีฟินิทิฟ (Refinitiv) ระบุว่า GDP ของอินเดียขยายตัวสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 20.1% สำหรับเดือนเม.ย.- มิ.ย. 2564 เมื่อเทียบเป็นรายปี

สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจของนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจของอินเดียมีแนวโน้มขยายตัว 7.0-7.5% ในปีงบประมาณหน้า

ส่วนในปีงบประมาณปัจจุบัน รัฐบาลอินเดียคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจจะขยายตัว 10.5% หลังจากหดตัวลง 7.3% ในปีที่ผ่านมา โดยรัฐบาลมีแนวโน้มที่จะประกาศงบประมาณปีหน้าในวันที่ 1 ก.พ. 2565

ทั้งนี้ ปีงบประมาณของอินเดียจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.ของทุกปี และสิ้นสุดในวันที่ 31 มี.ค.ของปีถัดไป

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า สภาที่ปรึกษาฯซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 7 ราย รวมถึงนายราเคช โมฮาน อดีตรองผู้ว่าการธนาคารกลางอินเดียเปิดเผยหลังจากประชุมเมื่อวานนี้ว่า "ภาคธุรกิจที่ต้องสัมผัส/พบปะกับผู้คน (contact intensive sectors) และภาคการก่อสร้าง จะฟื้นตัวในปีงบประมาณหน้า (2565/2566) และเมื่ออัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรม (Capacity Utilization) ปรับตัวดีขึ้น ภาคการลงทุนเอกชนก็จะฟื้นตัวตามไปด้วย"

นอกจากนี้ ข้อมูลเศรษฐกิจที่มีการเปิดเผยเมื่อเร็ว ๆ นี้ อาทิ การเก็บภาษี การส่งออก ยอดค้าปลีก และอุปสงค์พลังงาน บ่งชี้ว่า อัตราการฟื้นตัวของเศรษฐกิจดีกว่าคาด ซึ่งทำให้นักเศรษฐศาสตร์บางรายปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจอินเดีย

ด้าน Morgan Stanley วาณิชธนกิจรายใหญ่จากสหรัฐ มีมุมมองในทิศทางเดียวกัน โดยคาดว่า GDP ของอินเดียมีโอกาสเติบโตกว่า 2 เท่า ภายในปี 2031 จากอานิสงส์การย้ายฐานการผลิตของต่างชาติ การลงทุนขยายฐานการผลิต การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด และโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่ล้ำหน้ากว่าประเทศอื่นๆ ใน

นอกจากนี้ Morgan Stanley ยังเผยว่า สัดส่วนของ GDP ที่มาจากภาคการผลิตของอินเดีย จะเพิ่มจาก 15.6% ในปัจจุบัน สู่ 21% ในปี 2031 สะท้อนให้เห็นว่า รายได้จากภาคการผลิตอาจโตได้ถึง 3 เท่าตัว จาก 4.47 แสนล้านดอลลาร์ (15.6 ล้านล้านบาท) เป็น 1.49 ล้านล้านดอลลาร์ (52.1 ล้านล้านบาท)

อย่างไรก็ดี ในระยะใกล้นี้ อินเดียก็ยังมีความท้าทายที่ทำให้หลายสถาบันระดมหั่น GDP ในปีหน้าลง เช่น Goldman Sachs ได้ปรับคาดการณ์การเติบโตของ GDP ในปี 2023 ลงเหลือ 5.9% เทียบกับการเติบโต 6.9% ในปี 2022 จากปัจจัยด้านต้นทุนการกู้ยืม หรือแรงส่งแง่บวกจากเศรษฐกิจช่วงเปิดประเทศที่เสื่อมลง หรือในสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนนี้ ด้าน Moody’s เอง ก็หั่นคาดการณ์การเติบโตของปี 2022 จาก 7.7% เหลือ 7% อันเนื่องมาจากเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย และการเติบโตของเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง 

สำหรับอันดับประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุด 5 อันดับจากการจัดอันดับของ World O Meter เป็นดังนี้

  1. สหรัฐอเมริกา GDP 19.485 ล้านล้านดอลลาร์
  2. จีน GDP 12.238 ล้านล้านดอลลาร์
  3. ญี่ปุ่น GDP 4.872 ล้านล้านดอลลาร์
  4. เยอรมนี GDP 3.693 ล้านล้านดอลลาร์
  5. อินเดีย GDP 2.651 ล้านล้านดอลลาร์

ที่มา : CNBC, WorldoMeter, รอยเตอร์

ติดต่อโฆษณา!