17 พฤศจิกายน 2565
1,118

เกมพลิก! นาโต ระบุขีปนาวุธที่ตกในโปแลนด์ เป็นของยูเครน

เกมพลิก! นาโต ระบุขีปนาวุธที่ตกในโปแลนด์ เป็นของยูเครน

Highlight

เหตุการณ์ขีปนาวุธตกใส่หมู่บ้านเชโวดู ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของโปแลนด์ ซึ่งอยู่ห่างจากพรมแดนยูเครนประมาณ 6 ก.ม. เมื่อช่วงเช้าวันที่ 15 พ.ย. ที่ผ่านมา ส่งผลให้คนงานชาวโปแลนด์ที่ทำงานในฟาร์มที่ขีปนาวุธตกใส่เสียชีวิต 2 คน ทั้งยูเครน และรัสเซียต่างปฏิเสธ หลังนาโตเข้าตรวจสอบแล้วแถลงข่าวว่า ยูเครน เป็นผู้ยิงสกัดอาวุธรัสเซีย และตกใส่ในพื้นที่ของโปแลนด์จนเกิดความเสียหาย และกล่าวทิ้งท้ายว่า รัสเซียควรหยุดโจมตียูเครน เพื่อยุติปัญหา นับเป็นทางออกให้นาโตไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับความขัดแย้งแบบตรงๆในครั้งนี้ไปได้


ในช่วงบ่ายของวันที่ 15 พฤศจิกายน ทางการโปแลนด์เปิดเผยว่า เกิดเหตุขีปนาวุธลูกหนึ่งระเบิดขึ้นใกล้ ๆ กับหมู่บ้านเชโวดู ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากพรมแดนที่ติดกับยูเครน และมีผู้เสียชีวิต 2 ราย

ในเบื้องต้น เจ้าหน้าที่ยูเครนและสื่อบางแห่งรายงานว่า เหตุที่เกิดขึ้นเป็นฝีมือของรัสเซียซึ่งทำการยิงขีปนาวุธจำนวนมากเข้าใส่โครงสร้างพื้นฐานด้านไฟฟ้าและเป้าหมายอื่น ๆ มากมายทั่วยูเครน ขณะที่ ประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี เรียกการโจมตีใส่โปแลนด์ว่า เป็น “การยกระดับสงครามอย่างมีนัยสำคัญ”

ทางฝ่ายรัสเซีย กระทรวงกลาโหมในมอสโกออกคำปฏิเสธคำกล่าวหานี้ทันที ผ่านแอปพลิเคชั่น เทเลแกรม ว่า “สื่อและเจ้าหน้าที่รัฐบาลโปแลนด์ทำการยั่วยุอย่างจงใจเพื่อยกระดับสถานการณ์ ด้วยคำแถลงที่กล่าวอ้างถึงจรวด 'รัสเซีย' ในเชโวดู”

ประเด็นนี้ถือเป็นการทำให้สังคมเข้าใจผิด

ความเป็นจริงนั้น ในวันต่อมา ทางการโปแลนด์เปิดเผยว่า เหตุระเบิดนั้นน่าจะเกิดจากขีปนาวุธป้องกันทางอากาศของยูเครนและไม่ได้เป็นการโจมตีอย่างจงใจโดยรัสเซีย และการที่รัสเซียจะโจมตีโปแลนด์อย่างจงใจนั้นทำให้เกิดกระแสความกลัวว่า สหรัฐฯ และพันธมิตรองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) ซึ่งรวมถึงโปแลนด์ จะถูกลากเข้ามาร่วมความขัดแย้งกับรัสเซียทันที

แต่ทั้งนี้ เยนส์ สโตลเทนเบิร์ก เลขาธิการนาโต้ กล่าวได้ถูกต้องว่าการยั่วยุนั้นเป็นฝีมือของรัสเซีย ไม่ใช่ของโปแลนด์หรือของยูเครน โดยระบุว่า “ผมขอพูดให้ชัดเลย รัสเซียต้องเป็นผู้รับผิดชอบทุกอย่าง ขณะที่ยังคงเดินหน้าทำสงครามอันผิดกฎหมายในยูเครนต่อไปอยู่”

ปธน.เซเลนสกี กล่าวว่า ในการโจมตีครั้งล่าสุดนี้ รัสเซียยิงขีปนาวุธราว 85 ลูกเข้าใส่โรงไฟฟ้าทั่วยูเครน ซึ่งทำให้เกิดไฟฟ้าดับในหลายจุด ขณะที่ กองกำลังปกป้องยูเครนอ้างว่า ตนยิงขีปนาวุธรัสเซียตกไปราว 70 ลูก

รายงานข่าวระบุว่า นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่รัสเซียพุ่งเป้าการโจมตีไปยังพลเรือน โดยหลังทำการระดมยิงคล้าย ๆ กันด้วยขีปนาวุธแบบร่อนและโดรนของอิหร่านไปเมื่อกลางเดือนตุลาคม เออร์ซูลา ฟ็อน แดร์ ไลเอิน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป กล่าวว่า รัสเซียได้ก่ออาชญากรรมสงครามไปแล้ว

ฟ็อน แดร์ ไลเอิน ระบุว่า “การโจมตีโดยพุ่งเป้าไปยังโครงสร้างพื้นฐานพลเรือนด้วยจุดประสงค์อันชัดเจนที่จะต้องการตัดขาดน้ำ ไฟฟ้า และระบบทำความร้อน ออกจาก ชาย หญิง และเด็ก ๆ ในขณะที่ฤดูหนาวกำลังจะมาถึง

วันนี้ (17 พ.ย.) เลขาธิการองค์การนาโตให้สัมภาษณ์กับบีบีซีว่า ขีปนาวุธที่ตกในโปแลนด์ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 คน น่าจะมาจากฝั่งยูเครน

“มีความเป็นไปได้สูงที่จะเป็นระบบขีปนาวุธต่อต้านอากาศยานของยูเครน”

เยนส์ สโตลเทนเบิร์ก เลขาธิการนาโต กล่าวกับบีบีซี พร้อมเสริมว่า กำลังดำเนินการสืบสวนถึงเหตุดังกล่าวที่เกิดขึ้นใกล้กับพรมแดนยูเครน แต่เขาย้ำว่า รัสเซียเป็นฝ่ายผิดและต้องรับผิดชอบต่อการรุกรานยูเครน ที่นำมาสู่สถานการณ์นี้

ด้านรัฐบาลยูเครนยืนกรานว่า ขีปนาวุธดังกล่าวเป็นของกองทัพรัสเซีย

“ผมเชื่อมั่นว่า นั่นไม่ใช่ขีปนาวุธของเรา” ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ของยูเครน ประกาศในการปราศรัยถ่ายทอดสดผ่านโทรทัศน์ “ผมเชื่อว่านั่นเป็นขีปนาวุธรัสเซีย ตามรายงานทางกองทัพของเรา”

ผู้นำยูเครนยังชี้ว่า ยูเครนควรได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมในการสอบสวนถึงเหตุโจมตีที่เกิดขึ้นห่าง 6 กิโลเมตร จากพรมแดนยูเครน
เกิดอะไรขึ้น

ขีปนาวุธดังกล่าวตกใส่หมู่บ้านเพรโวโดฟ ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของโปแลนด์ ซึ่งอยู่ห่างจากพรมแดนยูเครนประมาณ 6 ก.ม. เมื่อช่วงเช้าวันที่ 15 พ.ย. ที่ผ่านมา ส่งผลให้คนงานชาวโปแลนด์ที่ทำงานในฟาร์มที่ขีปนาวุธตกใส่เสียชีวิต 2 คน 

ในเบื้องต้นเจ้าหน้าที่โปแลนด์รายงานว่า ขีปนาวุธดังกล่าวเป็นชนิดที่ผลิตขึ้นในรัสเซีย อย่างไรก็ตาม รัสเซียปฏิเสธข้อกล่าวหานี้อย่างสิ้นเชิง โดยกระทรวงกลาโหมรัสเซียระบุว่าข้อกล่าวหานี้เป็น “การจงใจยั่วยุให้สถานการณ์รุนแรงขึ้น” 

นายดมิทรี เปสคอฟ โฆษกทำเนียบประธานาธิบดีรัสเซียระบุว่ายังไม่มีข้อมูลเรื่องนี้ ขณะที่ Ria Novosti สำนักข่าวของทางการรัสเซียชี้ว่าขีปนาวุธดังกล่าวเป็นของยูเครน  

นายดมิโทร คูเลบา รัฐมนตรีต่างประเทศยูเครนระบุว่า ข้อกล่าวหาว่ายูเครนเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุระเบิดครั้งนี้เป็น “ทฤษฎีสมคบคิด” ของรัสเซีย และผู้ที่ขยายข้อความนี้กำลังเผยแพร่ “โฆษณาชวนเชื่อของรัสเซีย” 

ขณะที่ประธานาธิบดีอันเดรจ ดูดา ของโปแลนด์ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่าขณะนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และทีมสืบสวนกำลังเร่งประเมินความเป็นไปได้ทั้งหมด  

“ขณะนี้เรายังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าใครคือผู้ยิงขีปนาวุธลูกนี้...มีความเป็นไปได้สูงว่ามันคือขีปนาวุธที่ผลิตขึ้นโดยรัสเซีย แต่เรื่องนี้ยังอยู่ในระหว่างการสืบสวน” เขากล่าว

อย่างไรก็ดี เขาระบุในเวลาต่อมาว่า “มีความเป็นไปได้มาก” ว่าขีปนาวุธดังกล่าวมาจากระบบป้องกันภัยทางอากาศของยูเครน

ภาพที่เผยแพร่ทางออนไลน์แสดงให้เห็นหลุมขนาดใหญ่ในบริเวณที่สื่อโปแลนด์รายงานว่าเป็นพื้นที่เพาะปลูก ส่วนอีกรูปเผยให้เห็นเศษชิ้นส่วนขีปนาวุธ

ผู้นำโลกที่ G20 ออกแถลงการณ์ประนาม

เหตุระเบิดครั้งนี้เกิดขึ้นในขณะที่บรรดาผู้นำโลกกำลังร่วมการประชุมจี 20 ที่เกาะบาหลีของอินโดนีเซีย 

ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ระบุว่า “ไม่น่าเป็นไปได้” ที่รัสเซียจะยิงขีปนาวุธลูกนี้ พร้อมเผยว่าได้โทรศัพท์พูดคุยกับประธานาธิบดีโปแลนด์แล้ว 

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานอ้างข้อมูลจากเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ผู้ไม่เปิดเผยนามหลายคนที่ระบุว่า ข้อมูลในเบื้องต้นบ่งชี้ว่าขีปนาวุธอาจมาจากระบบป้องกันภัยทางอากาศของยูเครน ที่พยายามยิงสกัดขีปนาวุธที่รัสเซียยิงเข้าโจมตี  

ขณะที่นายกรัฐมนตรี ริชี ซูแน็ก กล่าวในงานแถลงข่าวที่ประชุมจี 20 ว่า สหราชอาณาจักรและพันธมิตรกำลังพยายามตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีที่เกิดขึ้น 

อย่างไรก็ตาม บรรดาผู้นำชาติตะวันตกที่ไปร่วมประชุมจี 20 ได้ออกแถลงการณ์ประณาม “การโจมตีด้วยขีปนาวุธที่ป่าเถื่อน” ของรัสเซียต่อเมืองต่าง ๆ ทั่วยูเครน

ด้านจีนเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอยู่ในความสงบและใช้ความอดทนอดกลั้นต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อไม่ให้สถานการณ์บานปลาย 

ประธานาธิบดีอาลาร์ เคอริส ของเอสโตเนียบอกกับบีบีซีว่า เรื่องนี้เป็นเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว แต่ชี้ว่าสงครามครั้งนี้ต้องยุติโดยเร็วที่สุด 

ประธานาธิบดี เรเจป ทายยิป แอร์โดอัน ของตุรกีกล่าวว่า เคารพแถลงการณ์ของรัสเซียที่ปฏิเสธข้อกล่าวหาว่าเป็นผู้ยิงขีปนาวุธใส่ดินแดนโปแลนด์ และเชื่อว่ารัฐบาลรัสเซียไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ 

นายเพกกา ฮาวิสโต รัฐมนตรีต่างประเทศฟินแลนด์ระบุว่า เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทราบรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และจัดการเรื่องนี้อย่างเหมาะสม 

ขณะที่นางเออร์ซูลา ฟอน เดอร์ เลเยน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรปกล่าวว่าคณะผู้แทนกลุ่ม จี7 และนาโต พร้อมให้ความช่วยเหลือโปแลนด์ในการสืบสวนเรื่องนี่

ทำไมเหตุระเบิดครั้งนี้จึงเป็นเรื่องใหญ่

เนื่องจากโปแลนด์เป็นหนึ่งในสมาชิกของนาโต จึงทำให้กลุ่มพันธมิตรด้านการทหารนี้เฝ้าจับตาสถานการณ์นี้อย่างใกล้ชิด โดยทูตนาโตได้เรียกประชุมฉุกเฉินในกรุงบรัสเซลส์ในวันนี้ (16 พ.ย.) เพื่อประเมินการรับมือต่อกรณีที่เกิดขึ้น

นายเยนส์ สโตลเทนเบิร์ก เลขาธิการนาโตระบุว่า ได้พูดคุยกับประธานาธิบดี ดูดา ของโปแลนด์แล้ว และนาโตกำลัง “เฝ้าติดตามสถานการณ์ 

หลายฝ่ายชี้ว่ากรณีที่เกิดขึ้นอาจทำให้โปแลนด์ขอความช่วยเหลือด้านการทหารจากนาโต 

นายยาเซก เซียเวียรา หัวหน้าสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติโปแลนด์ระบุว่า “เรากำลังตรวจสอบกรณีที่เกิดขึ้น ซึ่งเราอาจใช้มาตรา 4”  

มาตรา 4 ที่เขาระบุหมายถึง ตามมาตรา 4 ของนาโต ที่ระบุว่าชาติสมาชิกสามารถหารือต่อที่ประชุมนาโตถึงข้อกังวลว่ากรณีที่เกิดขึ้นถือเป็นภัยคุกคามต่อบูรณภาพแห่งดินแดน เอกราชทางการเมือง หรือความมั่นคงของชาติหรือไม่ ซึ่งหากเห็นพ้องว่าเป็นภัยคุกคามจริงก็จะเข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 5 ที่ชาติสมาชิกนาโตทั้งหมดต้องเข้าร่วมกันปกป้องชาติสมาชิกที่ถูกโจมตี

ติดต่อโฆษณา!