ครม.ไฟเขียว คลังค้ำประกันเงินกู้ให้ กฟผ. 8.5 หมื่นล้านบาทบริหารค่า Ft

ครม.ไฟเขียว คลังค้ำประกันเงินกู้ให้ กฟผ. 8.5 หมื่นล้านบาทบริหารค่า Ft

Highlight

คณะรัฐมนตรี (ครม.)ไฟเขียว การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กู้เงิน 8.5 หมื่นล้านบาท เสริมสภาพคล่อง โดยมีกระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้ หลังดูแลค่า บริหารภาระค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) ช่วงค่าไฟฟ้าขาขึ้น ส่วนมาตรการดูแลค่าไฟฟ้ากลุ่มเปราะบาง คาดกระทรวงพลังงานนำเข้าสู่การพิจารณา ครม. 13 ก.ย.นี้


คณะรัฐมนตรี (ครม.)ไฟเขียว การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กู้เงิน 8.5 หมื่นล้านบาท เสริมสภาพคล่อง โดยมีกระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้ หลังดูแลค่า บริหารภาระค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) ช่วงค่าไฟฟ้าขาขึ้น ส่วนมาตรการดูแลค่าไฟฟ้ากลุ่มเปราะบาง คาดกระทรวงพลังงานนำเข้าสู่การพิจารณา ครม. 13 ก.ย.นี้

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อ 6 ก.ย.65 ซึ่งมีพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รักษาการนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในที่ประชุม โดยเปิดเผยว่า ครม.เห็นชอบการกู้เงินเพื่อบริหารภาระค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (FT) ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) วงเงิน 8.5 หมื่นล้านบาทเพื่อเป็นวงเงินเสริมสภาพคล่องให้ กฟผ. โดยมีกระทรวงการคลังค้ำประกัน

 

นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กฟผ. สามารถปรับโครงสร้างหนี้ได้จนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น เพื่อให้เกิดความเหมาะสมตามสภาพคล่อง และสภาวะตลาดเงินในขณะนั้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการภาระหนี้

 

นอกจากนี้ ครม. ยังรับทราบผลการบริหารอัตราค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่า Ft ของ กฟผ. ตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 4/ 2565 เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2565

 

สำหรับสถานการณ์ราคาพลังงานปัจจุบัน ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ กฟผ. ยังคงต้องรับภาระอัตราค่า Ft ที่เพิ่มขึ้น โดยชะลอการนำค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงงวดตั้งแต่เดือนกันยายน-ธันวาคม 2565 (งวดปัจจุบัน) จากราคาพลังงานที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ผลักภาระเป็นค่าใช้จ่ายของประชาชนตามนโยบายของรัฐบาล นายอนุชา กล่าว

 

การที่ กฟผ. ช่วยรับภาระค่า Ft ที่เพิ่มขึ้น ชะลอการนำค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง ตั้งแต่งวดเดือนกันยายน-ธันวาคม 2564 จนถึงงวดเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2565 เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 87,849 ล้านบาท  ที่จะเรียกเก็บกับประชาชนในระยะนี้เลื่อนออกไปก่อน

 

ส่งผลให้ กฟผ. ต้องรับภาระอัตราค่า Ft ทำให้สภาพคล่องทางการเงินลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยมีการประมาณการกระแสเงินสดของ กฟผ. ว่า จะขาดเงินสูงสุดในวันที่ 30 มีนาคม 2566 จำนวนเงินประมาณ 74,000 ล้านบาท

 

ครม.เห็นถึงความจำเป็นต้องกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงินเพิ่มเติมในปีงบประมาณ 2566 เพื่อบริหารภาระค่า Ft ตามนโยบายของรัฐบาล ภายใต้กรอบวงเงินไม่เกิน 84,000 ล้านบาท ประกอบด้วย สัญญากู้ยืมเงิน (Term Loan) กู้เบิกเกินบัญชี ตั๋วสัญญาใช้เงิน การทำ Trust Receipt (T/R) และการทำสัญญากู้เงินเมื่อทวงถาม (Call Loan) ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการค้ำประกันการชำระหนี้ของหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการเงินของภาครัฐ

 

ส่วนกรณีการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าให้กับประชาชนกลุ่มเปราะบางโดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยนั้นจะนำเอามติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)ที่มีการประชุมฯที่กระทรวงพลังงานไปก่อนหน้านี้เข้า ครม.ในวันที่ 13 ก.ย.นี้  โดยเรียนกับ พล.อ.ประวิตร ในการประชุม ครม.แล้ว ว่าจะนำเรื่องที่กบง.เห็นชอบเข้าสู่การประชุม ครม. ในสัปดาห์หน้าส่วนค่า Ft รอบใหม่ที่จะดูแลให้กับกลุ่มเปราะบาง 2 กลุ่มนั้นจะดำเนินการให้ทันบิลค่าไฟฟ้าเดือน ก.ย.ที่จะเรียกเก็บปลายเดือนนี้ นายอนุชากล่าว

ติดต่อโฆษณา!