สธ.ประกาศห้ามใช้กัญชา-กัญชงในสถานศึกษา อายุต่ำกว่า 20 ห้ามมีครอบครอง!

สธ.ประกาศห้ามใช้กัญชา-กัญชงในสถานศึกษา อายุต่ำกว่า 20 ห้ามมีครอบครอง!
Highlight

แม้จะมีการปลดล็อกกัญชาจากสารเสพติดเป็น ‘สมุนไพรควบคุม’ ตั้งแต่ 9 มิถุนายน แล้วก็ตาม แต่สำหรับการใช้กัญชาสำหรับเด็กและสตรีมีครรภ์ไม่เป็นผลดี เพราะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาสมอง อาการทางจิต และระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกายของนักเรียน นักศึกษา หรือบุคลากรได้ ดังนั้นห้ามนำอาหาร หรือเครื่องดื่มที่มีการผสมส่วนใดๆ ของกัญชา หรือกัญชง เข้ามาบริโภคในสถานศึกษาโดยเด็ดขาด


น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้เปิดเผยว่า ได้ลงนามในประกาศ ศธ. เรื่อง แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับกัญชา หรือกัญชง ในสถานศึกษา ส่วนราชการ หรือหน่วยงานในสังกัด และในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 16 มิถุนายน ซึ่งเป็นประกาศที่สอดรับกับประกาศกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เรื่อง สมุนไพรควบคุม (กัญชา) พ.ศ.2565 กำหนดให้ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ไม่สามารถใช้และเข้าถึงกัญชาได้

ดังนั้น ศธ. สธ. และราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ประชุมร่วมกันเพื่อกำหนดแนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับกัญชา หรือกัญชง ในสถานศึกษา ส่วนราชการ หรือหน่วยงานในสังกัด และในกำกับของกระทรวงให้เหมาะสม

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจึงออกประกาศแนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับกัญชา หรือกัญชง ของสถานศึกษา ส่วนราชการ หรือหน่วยงานในสังกัดหรือในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการไว้ ดังต่อไปนี้

ประกาศห้ามใช้กัญชา-กัญชงในสถานศึกษา-ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น 

1. สถานศึกษา ส่วนราชการ หรือหน่วยงานในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ ห้ามใช้กัญชา หรือกัญชงกับนักเรียน นักศึกษา หรือบุคลากรโดยเด็ดขาด เพราะอาจมีผลต่อการพัฒนาสมองของนักเรียน นักศึกษา หรือบุคลากร

2. ห้ามมิให้นักเรียน นักศึกษา หรือบุคลากร ของสถานศึกษา ส่วนราชการ หรือหน่วยงานในสังกัด และในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ ใช้กัญชา หรือกัญชง เพื่อการนันทนาการใดๆ เพราะอาจเกิดผลกระทบต่อสุขภาพได้ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เช่น อาการทางจิต และระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกาย

3. ให้ผู้บริหารสถานศึกษา ส่วนราชการ หรือหน่วยงานในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการกำกับควบคุมร้านค้าที่จำหน่ายอาหาร หรือเครื่องดื่มในบริเวณสถานศึกษา ส่วนราชการ หรือหน่วยงานในสังกัด และในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ ให้งดจำหน่ายอาหาร หรือเครื่องดื่มที่มีการผสม ส่วนใดๆ ของกัญชา หรือกัญชง

อีกทั้งห้ามมิให้นักเรียนนักศึกษา หรือบุคลากรของสถานศึกษา ส่วนราชการ หรือหน่วยงานในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการนำอาหาร หรือเครื่องดื่มที่มีการผสมส่วนใดๆ ของกัญชา หรือกัญชง เข้ามาบริโภคในสถานศึกษา ส่วนราชการ หรือหน่วยงานในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการอย่างเด็ดขาด

ย้ำสถานศึกษาสร้างความรู้คงามเข้าใจ เกี่ยวกับการใช้ กัญชา-กัญชง

4. ให้ผู้บริหารสถานศึกษา ส่วนราชการ หรือหน่วยงานในสังกัด และในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรม การจัดการเรียนการสอน การฝึกอบรม หรือการผลิตสื่อนวัตกรรมเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้กัญชา หรือกัญชง

อันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้สารสกัดจากทุกส่วนของพืชกัญชา หรือกัญชง ที่เกินปริมาณตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดให้แก่นักเรียนนักศึกษา บุคลากร ผู้ปกครองประชาชน หรือชุมชนที่อยู่ หรืออาศัยบริเวณใกล้เคียงกับสถานศึกษา หรือหน่วยงาน เพื่อสร้างสังคมที่ปลอดภัยจากอันตรายของกัญชา หรือกัญชง

5. การใช้กัญชา หรือกัญชงเพื่อการรักษาต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์ หรือการใช้กัญชา หรือกัญชงเพื่อการศึกษาวิจัย ต้องอยู่ภายใต้การกำกับ ควบคุม และดูแลอย่างใกล้ชิดของผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าส่วนราชการ หรือหัวหน้าหน่วยงานนั้นๆ

6. นอกจากแนวทางที่กำหนดไว้ในประกาศฉบับนี้แล้ว ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าส่วนราชการ หรือหัวหน้าหน่วยงาน ของสถานศึกษาส่วนราชการ หรือหน่วยงานในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการอาจออกมาตรการ

หรือแนวทางปฏิบัติเพิ่มเติม เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดจากกัญชา หรือกัญชงได้ ทั้งนี้ เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ส่วนราชการ หรือหน่วยงานในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการนั้นๆ ได้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย เผยคำแนะนำเกี่ยวกับ "กัญชา" สำหรับประชาชนทั่วไป ผู้ใช้ว่าต้องใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด หลังจากที่มีการ "ปลดล็อกกัญชา" กัญชง เมื่อวันที่ 9 มิ.ย.2565 ที่ผ่านมา

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ กล่าวถึงเรื่องของ "กัญชา" ระบุว่า ในปัจจุบันข่าวสารเกี่ยวกับประโยชน์ของกัญชามีออกมาเป็นระยะๆ แต่สารทุกสิ่งในโลกนี้มีสองด้านเสมอ
 
กัญชา ก็จัดเป็นพืชที่มีสารเสพติดและเป็นอันตรายต่อสุขภาพเช่นกัน เราจึงควรจะต้องมีความรู้เท่าทันที่จะใช้ประโยชน์จากกัญชา แต่มีวิธีการในการปกป้องตนเองและบุคคลที่เรารักจากอันตรายของกัญชา ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ได้ตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ จึงมีคำแนะนำดังต่อไปนี้

ปัญหาจากการใช้กัญชาที่อาจเกิดขึ้นได้
 
1. สำหรับประชาชน 

  • ไม่ใช้กัญชาเพื่อสันทนาการอย่างเด็ดขาด
  • ให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชน ให้ทราบถึงอันตรายจากการใช้กัญชา เพื่อเป็นการสร้างภูมิต้านทานที่สำคัญ
  • ช่วยกันสอดส่องดูแล ให้เด็กและเยาวชนห่างไกลจากกัญชา
  • ช่วยกันสร้างสังคม บ้าน โรงเรียนและชุมชนให้ปลอดกัญชา

2. สำหรับผู้ที่กำลังจะใช้กัญชารักษาโรค

  • ขอให้ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ วิธีการใช้กัญชาและผลข้างเคียงจากกัญชาอย่างถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจ
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว ขอให้ปรึกษากับแพทย์ที่ให้การรักษา เกี่ยวกับโรคและยาที่รับประทานอยู่ ว่าจะมีผลต่อกันหรือไม่ เพราะกัญชาอาจจะทำให้โรคประจำตัวที่มีอยู่ทรุดลง หรืออาจจะมีอันตกริยาระหว่างยากับกัญชา จนทำให้เกิดอันตรายได้
  • หากจะใช้กัญชา ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์

3. สำหรับผู้ใช้กัญชาที่อายุยังน้อย

  • หากท่านอายุน้อยกว่า 20 ปี ขอให้พิจารณาเลิกใช้กัญชาทันที
  • ถ้าเป็นไปได้ เลือกใช้กัญชาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนของโลหะหนัก และสารกำจัดศัตรูพืช
  • หลีกเลี่ยงการใช้ช่อดอกกัญชา เพราะเป็นส่วนที่มีสารแคนนาบินอยด์สูง ซึ่งจะก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพได้มาก
  • ขอให้สูบกัญชาในบริเวณที่ห่างไกลจากคนอื่น โดยเฉพาะเด็ก เยาวชนและสตรีมีครรภ์ เพราะบุคคลเหล่านี้อาจจะเป็นผู้สูบมือสองได้ และได้ผลกระทบจากควันกัญชาได้
  • ไม่ขับรถหรือทางานกับเครื่องจักรต่างๆภายใน 6 ชั่วโมง หลังได้รับกัญชา เพราะจะเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
  • ถ้าได้รับกัญชาแล้ว มีอาการผิดปกติ ให้รีบไปพบแพทย์ และแจ้งให้แพทย์ทราบเรื่องการได้รับกัญชา เพื่อที่จะได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องทันท่วงที
  • หากรู้สึกว่าต้องเพิ่มขนาดความถี่ของการใช้กัญชา หรือไม่สามารถหยุดใช้กัญชาได้โดยง่าย แสดงว่าติดกัญชาแล้ว ขอให้รีบพบแพทย์เพื่อการรักษาภาวะติดกัญชา
  • หากท่านปลูกกัญชาในบ้าน ขอให้หาวิธีไม่ให้เด็กและเยาวชนเข้าถึงได้โดยง่าย
  • กรณีท่านเป็นผู้ผลิตอาหารที่ใส่กัญชา ขอให้อย่าใช้ช่อดอก และต้องแจ้งให้ผู้บริโภคทราบเสมอว่ามีการใส่กัญชาในอาหารหรือไม่

การสูบกัญชาถูกกฎหมาย

  • ไม่มีความผิดกฎหมายยาเสพติด
  • แต่สูบกัญชาในที่สาธารณะ รบกวนสิทธิผู้อื่น มีความผิดตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 โทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 25,000 บาท
  • การสูบกัญชาในที่สาธารณะ ยังไม่มีกฎหมายควบคุมโดยตรงเช่น บุหรี่ ที่มี พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ควบคุมอยู่

บทลงโทษ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542

  • เน้นไปที่โทษของการอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมข้างต้น  
  • แต่มีบทลงโทษสำหรับ ผู้มีไว้ครอบครอบสมุนไพรควบคุมเกินจำนวน ตามมาตรา 79  ระบุว่า
  • ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 51 ให้ผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งสมุนไพรควบคุมเกินกว่าจํานวนหรือปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดตามมาตรา 45 (1) อยู่ในวันที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา กําหนดให้สมุนไพรน้ันเป็นสมุนไพรควบคุม แจ้งการครอบครองสมุนไพรควบคุมนั้นต่อนายทะเบียนสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตามพระราชบัญญัตินี้ภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในประกาศดังกล่าวสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
  • ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่ เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
     

นับตั้งแต่มีการประกาศปลดล็อกกัญชา 9 มิถุนายน ที่ผ่านมา จนวันนี้เป็นเวลา กว่าหนึ่งสัปดาห์ แรกเริ่ม ประกาศ สธ. เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ.2565 มีผลบังคับใช้เมื่อ 9 มิ.ย. 2565 ส่งผลให้ทุกส่วนของกัญชา กัญชง ไม่เป็นยาเสพติด ยกเว้นสารสกัดที่มีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนาบินอล (tetrahydrocannabinol - THC) เกิน 0.2 % ที่ยังเป็นยาเสพติด ถูกประกาศลงราชกิจจานุเบกษาตั้งแต่ 9 ก.พ. 2565  แต่ดารใช้กัญชาอย่างถูกวิธีและปลอดภัย ยังคงต้องมีความเข้าใจ เพราะยังไม่ได้มีการเปิดเสรีอย่างเต็มรูปแบบ และสำหรับเด็กและหญิงมีครรภ์ไม่ควรบริโภคกัญชา เพราะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ที่มา : กระทรวงศึกษาธิการ, BangkokBiznews

ติดต่อโฆษณา!