ศบค. ปรับพื้นที่ "สีเขียวทั้งประเทศ" ถอดหน้ากากอนามัย ยกเลิก Thailand Pass เริ่ม 1 ก.ค.

ศบค. ปรับพื้นที่ "สีเขียวทั้งประเทศ" ถอดหน้ากากอนามัย  ยกเลิก Thailand Pass เริ่ม 1 ก.ค.
Highlight

ศบค.ชุดใหญ่ ปรับพื้นที่เป็นสีเขียวทั่วราชอาณาจักร มีผลนับตั้งแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ยกเลิก Thailand pass คนต่างชาติ  ไม่บังคับสวมหน้ากากอนามัย แต่แนะนำควรสวมในพื้นที่แออัดและสถานที่ปิด ขยายเวลาปิดสถานบันเทิง ผับ-บาร์ ถึงตี 2 ตามที่กฎหมายกำหนด เตรียมความพร้อมโควิดสู่โรคประจำถิ่น


คณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (ศบค.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการ ศบค.เป็นประธาน ได้ประชุมเมื่อ 17 มิ.ย. 2565  มีมติเห็นชอบปรับระดับพื้นที่สถานการณ์ทั่วราชอาณาจักร มีผลนับตั้งแต่ประกาศราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ดังนี้

  • พื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด 0 จังหวัด – พื้นที่ควบคุมสูงสุด 0 จังหวัด
  • พื้นที่ควบคุม 0 จังหวัด – พื้นที่เฝ้าระวังสูง 0 จังหวัด
  • พื้นที่เฝ้าระวัง 77 จังหวัด – ยกเลิกพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว

นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค.  แถลงว่า ที่ประชุม ศบค.ชุดใหญ่มีมติให้ผ่อนคลายมาตรการป้องกันควบคุมโรคในประเทศเพิ่มเติม ดังนี้

1. พื้นที่สถานการณ์ ให้ปรับระดับพื้นที่สถานการณ์เป็นระดับเฝ้าระวัง (สีเขียว) ทั้งประเทศ และยกเลิกการกำหนดพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว

2. มาตรการการใส่หน้ากากอนามัย ให้ปรับเป็นข้อแนะนำว่าควรสวมหน้ากาก และให้สวมหน้ากากตลอดเวลาเมื่ออยู่ในที่แออัด สถานที่ปิด หรือมีการอยู่ใกล้ชิดกับคนจำนวนมาก

3. การบริโภคสุราหรือแอลกอฮอล์ในร้านอาหาร ให้เปิดบริการได้ตามปกติโดยต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค รวมทั้งกฎหมาย กฎ หรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง

4. สถานประกอบการประเภทสถานบันเทิง ฯลฯ เปิดให้บริการและให้ผู้รับบริการดื่มแอลกอฮอล์ได้ โดยเปิดให้บริการตามกฎหมายเดิมกำหนด

5. การเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าว ผ่อนคลายให้การดำเนินการเป็นไปตามปกติ

6. การคัดกรองอุณหภูมิ ไม่มีความจำเป็นต้องคัดกรองอุณหภูมิในอาคารสถานที่ (อาจให้มีการคัดกรองอุณหภูมิในสถานที่เสี่ยงหรือพื้นที่ระบาด)

7. การเว้นระยะห่าง แนะนำให้มีการเว้นระยะห่างตามความเหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่โรค

8. มาตรการรวมกลุ่ม ให้ตรวจคัดกรอง ATK กรณีเป็นผู้ป่วยสงสัยที่มีอาการทางเดินหายใจ หากมีการรวมกลุ่มมากกว่า 2,000 คน ขอให้แจ้งทางคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดกหรือกรุงเทพมหานคร (กทม.) เพื่อเฝ้าระวังการระบาด

นอกจากนั้น ยังให้ยกเว้นการลงทะเบียน Thailand Pass ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติที่จะเดินทางเข้าประเทศตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 65 พร้อมทั้งยกเลิกข้อกำหนดเงินประกันการเดินทางสำหรับชาวต่างชาติ แต่จะแนะนำให้มีการซื้อประกันแทน

นอกจากนี้ ที่ประชุมศบค.ยังเห็นชอบการปรับมาตรการป้องกันโรคสำหรับการเดินทางเข้าราชอาณาจักร โดยให้บางมาตรการบังคับใช้หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา และบางมาตรการมีผลทันที ดังนี้

การยกเว้นการลงทะเบียน TP หรือ CoE ของคนต่างชาติ โดยขอให้สำแดงเอกสารวัคซีนหรือผลการตรวจหาเชื้อแบบต่าง ๆ โดยให้มีการสุ่มตรวจเอกสาร ณ ช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ
ยกเลิกมาตรการคัดกรองอุณหภูมิและอาการทางเดินหายใจ ณ ช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ
ยกเลิกการกำหนดเงินประกัน (ส่งเสริมการซื้อประกัน)
ให้ปรับระบบ Thailand Pass สำหรับใช้คัดกรองและลงทะเบียนในรูปแบบ Health Declaration Form เพื่อควบคุมโรคติดต่อ เช่น ไข้เหลือง

ข้อเสนอมาตรการการเข้าราชอาณาจักร เริ่ม 1 ก.ค.|

  • ยกเว้นการลงทะเบียนระบบ Thailand Pass ทั้งชาวไทยและต่างชาติ
  • ผู้เดินทางแสดงเอกสารการฉีดวัคซีน หรือผลตรวจเชื้อ
  • ให้ดำเนินการสุ่มตรวจผู้เดินทาง (หากสุ่มแล้วผู้เดินทางไม่มีเอกสารรับรองใด ๆ จะดำเนินการตรวจ pro-ATK ที่สนามบิน) จนกว่าจะยกเลิก พรก. ฉุกเฉิน
  • คงระบบ และเปลี่ยนหน้าที่ Thailand Pass สำหรับโรคโควิด-19 เพื่อให้ผู้เดินทางใช้แจ้งรายงาน
  • กรณีมีอาการต้องสงสัยโรคติดต่ออันตราย และโรคติดต่อที่ต้องรายงานตามประกาศกระทรวง
    สาธารณสุข

ผู้ว่า กทม.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รับทราบแนวปฎิบัติ ศบค.

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้เข้าร่วมประชุม ศบค. และรับแนวทางปฎิบัติเพื่อเตรียมความ กทม.สู่โรคประจำถิ่น

1. มาตรการ Universal Vaccination วัคซีนเข็มกระตุ้นให้ครอบคลุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 เป็น 1 ในเงี่อนไข การเข้าสู่ “โรคประจำถิ่น”

2. โควิด-19 ได้มีการใช้จ่ายงบประมาณ งบกลาง/งบเงินกู้ ขอหน่วยงาน ช่วยพิจารณาการใช้งบประมาณในช่วงปลายปีงบประมาณนี้อย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ

3. แนะสถานการณ์โควิด-19 ปรับตัวดีขึ้น พิจารณาปรับลดการใช้งบในส่วนที่การรองรับ (ผู้ป่วย) เช่น รพ.สนาม จะช่วยทำให้ลด/ประหยัดงบประมาณลงได้

4. มอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กท. ททท. เตรียมความพร้อม ประเมินการท่องเที่ยว พัฒนาการท่องเที่ยว (วัฒนธรรม กีฬา สุขภาพ ฯลฯ) เป็นรายได้ประเทศ เพื่อส่งต่อไปช่วง high Season ในปลายปี โดยเฉพาะการรักษาตลาดนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะประเทศเพี่อนบ้าน รอบบ้าน เพี่อรักษาการจ้างงานในอุตสาหกรรม ทท เศรษฐกิจฐานราก ต้องยอมรับรายได้การท่องเที่ยวหายไป ยังไม่กลับมา

5. หลายประเทศชี่นชม การแก้ปัญหาโควิด พร้อมร่วมมือกับไทย สำคัญไทยต้องรักษามาตรฐานการควบคุม ดูแล โควิด-19

6. รัฐบาลเดินหน้าจัดเก็บ big data สมบูรณ์ ทันสมัย เก็บรักษาข้อมูลคามหลักการของกฏหมาย เพื่อประโยชน์ในการบริหารประเทศอำนวยความสะดวกประชาชน

7. บูรณาการประชาสัมพันธ์ การสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้อง รวดเร็ว และขอให้หน่วยงานประชาสัมพันธ์ เมื่อเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารแล้ว ช่วยประเมินว่า ประชาชนมีการเข้าถึงมากน้อย

ติดต่อโฆษณา!