SCB ปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ ตั้ง SCBX เป็นโฮลดิ้ง ยกระดับสู่การเป็นสถาบันการเงินระดับภูมิภาค ตั้งเป้ามาร์เก็ตแคปโต 1 ล้านล้านบาทใน 5 ปีข้างหน้า

SCB ปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ ตั้ง SCBX เป็นโฮลดิ้ง ยกระดับสู่การเป็นสถาบันการเงินระดับภูมิภาค ตั้งเป้ามาร์เก็ตแคปโต 1 ล้านล้านบาทใน 5 ปีข้างหน้า
Highlight

SCBX  ที่ถูกเรียกว่า 'ยานแม่' เป็นโฮลดิ้ง คอมปานี ที่จะแยกธุรกิจแบบดั้งเดิมคือธนาคารไทยพาณิชย์ ออกจากธุรกิจใหม่ๆ ที่มีโอกาสเติบโตสูงและสามารถ Spin off ไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯได้  ถายใต้โครงสร้างใหม่ จะนำพาธุรกิจของ SCB ปลดล็อกสู่โลกการเงินในยุคดิจิตอลได้อย่างแท้จริงมากขึ้น โดยมีขั้นตอนที่สำคัญคือ

1. ตั้งบริษัท SCBX
2. ถอด SCB ออกจากตลาดหลักทรัพย์ และ Share Swaps ให้ผู้ถือหุ้นเดิม มาถือหุ้นในบริษัท SCBX แทน โดย SCBX จะเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์แทน
3. จ่ายปันผล 7 หมื่นล้านบาทให้ SCBX


การปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ของธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ได้ประกาศผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อวานนี้  (22 กันยายน ) เป็นข่าวใหญ่ในแวดวงการเงินไทย ที่ได้ธนาคารพานิชย์ที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่ง กล้าที่จะเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับทิศทางธุรกิจและวิสัยทัศน์ให้สอดคล้องกับเทรนด์ใหม่รองรับยุค post-Covid 

นี่เป็นการเปลี่ยนครั้งสำคัญของ SCB สะท้อนความเปลี่ยนแปลงของโลกการเงิน ที่ผู้เล่นรายใหญ่ต้องปรับตัวกับการมาของ Decentralized Finance Technology ที่ทำให้ธนาคารถูกลดบทบาทลง หรืออีกนัยหนึ่งการถูก technology disruption ที่สร้างความสั่นไหวใ้ห้ธุรกิจการเงินแบบดั้งเดิมมาตลอดในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา 

SCB เป็นหนึ่งในสถาบันการเงินที่มีความตื่นตัวกับกระแส disruption อย่างเห็นได้ชัดเช่นการจัดตั้ง SCB 10X โดยเป็นบริษัทรายแรกในไทย ที่มุ่งเน้นเรื่องของ Decentralized Finance แต่ด้วยกลไกบางอย่าง อาจทำให้ SCB ยังขาดความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ ภายใต้การเป็นธนาคารพาณิชย์

SCBX  จึงเป็นการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ ที่ถูกเรียกว่า 'ยานแม่' ซึ่งจะพาธุรกิจของ SCB ปลดล็อกสู่โลกใบใหม่ได้อย่างแท้จริง เริ่มด้วยวิธีการสร้างยานแม่คือ

1. ตั้งบริษัท SCBX

2. ถอด SCB ออกจากตลาดหลักทรัพย์ และ Share Swaps ให้ผู้ถือหุ้นเดิม มาถือหุ้นในบริษัท SCBX แทน โดย SCBX จะเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์แทน

3. จ่ายปันผล 7 หมื่นล้านบาทให้กับ SCBX 

โครงสร้างใหม่ของ SCBX 

เมื่อการโยกย้ายทรัพย์สินและจัดตั้งบริษัทใหม่เข้าสู่ตลาดเรียบร้อยแล้ว จากเดิมที่บริษัทในเครืออยู่ภายใต้ SCB Bank ก็จะถูกแยกออกมาเป็น

1. ธุรกิจธนาคารแบบเดิมๆ (Cash Cow) : SCB Bank 

2. ธุรกิจใหม่ (New Growth) คือ

  • Digital Platforms : Token X , monix , Robinhood
  • External Fund Raisings : SCB ABACUS        
  • VC Investment SCB 10X   
  • Tech Dev & Global Partner : Digital Ventures , SCB TechX

นอกจากนี้ยังมีบริษัทใหม่ได้แก่

  • Card X ธุรกิจบัตรเครดิต
  • Auto X ธุรกิจสินเชื่อรถยนต์
  • AISCB ธุรกิจสินเชื่อร่วมกับ AIS
  • Alpha X ธุรกิจสินเชื่อรถหรู ร่วมกับ Millenium Group
  • Data X 
  • CPG-SCB (VC Fund) กองทุนใหม่ร่วมกับ CP Group

การตั้งบริษัทใหม่ หรือ spin-off บริษัทย่อยออกมาจากธุรกิจธนาคารเดิม ยังส่งเสริมให้ SCBx คล่องตัวขึ้นกว่าเก่า ด้วยการทำงานที่จะไม่ยึดติดกรอบแบบ Traditional Bank และการคิดใหม่ ทำใหม่ นำทัพบริหารของคนรุ่นใหม่ ยกตัวอย่าง SCBAIS มีประธานบริหารเป็นคุณกวีวุฒิ เต็มภูวภัทร หรือ การตั้ง Venture Capital ร่วมกับ CP Group ที่มีผู้บริหารหลักคือ ดร. อารักษ์ สุธีวงศ์ เป็นต้น

นอกจากการหาน่านน้ำใหม่ๆ หรือการก้าวเข้าสู่โลก Decentralized Finance จะสังเกตเห็นว่าธุรกิจต่อจากนี้ คือเรื่องของสินเชื่อ และข้อมูล ดังนั้นการที่ SCB มีแพลตฟอร์มอย่าง Robinhood หรือการจับมือกับ AIS , CP Group จะทำให้ SCB ขับเคลื่อน Data มหาศาล ช่วยปลดล็อกข้อจำกัดทางการเงินให้กับกลุ่ม Micro ดังเช่นที่ Tech Company รายใหญ่ๆ กำลังเดินหน้าอยู่ 

แผน 5 ปีของ SCBX ตั้งเป้ามาร์เก็ตแคบถึง 1 ล้านล้านบาท

ด้วยโครงสร้างใหม่นี้ นอกจากธุรกิจธนาคาร SCBX ตั้งเป้าเดินหน้าเป็น Tech Company ที่จะขับเคลื่อนธุรกิจสู่ตลาดภูมิภาค โดยตั้งเป้า 5 ปีจากนี้คือ

  • มีลูกค้า 200 ล้านราย ด้วยการเป็นผู้นำแพลตฟอร์มในภูมิภาค Southeast Asia 
  • มีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 1 ล้านล้าน ด้วยบริษัทย่อยและ Startup ที่เป็นยูนิคอร์น
  • เป็นผู้นำด้าน Digital Asset และ Blockchain
  • เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี AI และ Data Analytics
  • รายได้เติบโต 1.5 เท่า

“ในปี 68 การมาถึงของ decentralized finance technology การขยายตัวและการบุกของแพลตฟอร์มระดับโลกเข้าสู่ธุรกิจการเงิน พฤติกรรมของผู้บริโภคหลังโควิด (post-covid) จะเปลี่ยนไป” นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และประธานกรรมการบริหาร กล่าว

นับต่อจากนี้  SCB อาจจะปลดล็อกที่ไม่ต้องจำกัดตัวเองอยู่ที่ธุรกิจธนาคารแบบดั้งเดิมอีกต่อไป ภายใต้การเป็น SCBX สามารถดำเนินธุรกิจเข้าสู่ยุคดิจิตอลผ่านโฮลดิ้ง เข้าสู่ฐานธุรกิจใหม่อย่างเต็มตัว ในขณะที่ธุรกิจธนาคารแบบดั้งเดิมยังคงมีความมั่นคง และรักษาฐานลูกค้าเก่าเอาไว้  แต่มีความคล่องตัวและเพิ่มขีดความสามารถในการขยายธุรกิจได้ครบทุกรูปแบบ โดยมีแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยี (technology platform) เข้ามาสนับสนุน จั้งเป้าไว้ว่าอีก 5 ปี มาร์เก็ตแคป จะถึง 1 ล้านล้านบาท ..

ต่อไปต้องติดตามธนาคารพานิชน์รายใหญ่อื่นๆ จะลุกขึ้นมาปฎิวัติโครงสร้างหรือปรับยุทธศาสตร์ในการแข่งขันและปรับตัวไปกับยุค Technology Disruption อย่างไร

ที่มา : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย,  ธนาคารไทยพานิชย์, techsource
 

ติดต่อโฆษณา!