29 มีนาคม 2566
27,334

แบงก์ชาติขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ตามคาด มีผลทันที !!

แบงก์ชาติขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ตามคาด มีผลทันที !!
Highlight

คณะกรรมการนโยบายทางการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประชุมเป็นนัดที่ 2 ของปีนี้ มีมติขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 1.75% ตามคาด บริษัทหลักทรัพย์เอเชีย พลัส ระบุว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยส่งผลให้ภาคธุรกิจธนาคารได้ประโยชน์ และคาดว่าจะกระทบตลาดหุ้นลดลงราว 70 จุด ภาคธุรกิจจะมีต้นทุนดอกเบี้ยสูงขึ้นและกระทบผลกำไรในปีนี้ ขณะที่ Yield Curve พันธบัตรรัฐบาลไทย ลดลงทุกช่วงอายุ

  • คณะกรรมการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปีจาก ร้อยละ 1.50 เป็นร้อยละ 1.75 ต่อปี โดยให้มีผลทันที

  • ธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชน เป็นสําคัญขณะที่การส่งออกสินค้าเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวจากที่หดตัวในช่วงก่อนหน้า และคาดว่าจะฟื้นตัวชัดเจนขึ้น ในช่วงครึ่งหลังของปี

  • อย่างไรก็ดีเศรษฐกิจโลกมีความไม่แนน่อนเพิ่มขึ้นส่วนหนงึ่จากแนวโน้มเงินเฟ้อและสถานการณ์ปัญหาสถาบันการเงินในประเทศเศรษฐกิจหลัก ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มเริ่มกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงกลางปีนี้

  • แต่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังทรงตัวในระดับสูงและมีความเสี่ยงด้านสูงจาก การส่งผ่านต้นทุนและแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ คณะกรรมการฯ เห็นว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อย่างต่อเนื่องยังสอดคลอ้งกบัแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อจึงเห็นควรให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี ในการประชุมครั้งนี้

  • เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.6 และ 3.8 ในปี 2566 และ 2567 ตามลําดับจากจํานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเกือบทุกสัญชาติที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องซึ่งส่งผลบวกต่อการจ้างงานและรายได้แรงงานรวมถึงเป็นแรงส่งต่อเนื่องไปยังการบริโภคภาคเอกชน

  • ขณะที่การส่งออกสินค้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 เริ่มเห็นสัญญาณฟื้นตัวจากที่หดตัวในช่วงก่อนหน้าโดยคาดว่าจะฟื้นตัวชัดเจนขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี อย่างไรก็ดีเศรษฐกิจโลกมีความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้นจากแนวโน้มเงินเฟ้อทที่อยู่ในระดับสูงรวมถึงปัญหาสถาบันการเงินในประเทศเศรษฐกิจหลัก

  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มเริ่มกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงกลางปี 2566 โดยจะอยู่ที่ร้อยละ 2.9 และ 2.4 ในปี 2566 และ 2567 ตามลําดับ ตามแรงกดดันด้านอุปทานจากค่าไฟฟ้าและราคาน้ํามันที่ทยอยคลี่คลาย ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับลดลงจากปี 2565 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.4 ในปี 2566 ก่อนจะทยอยปรับลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ในปี 2567

  • อย่างไรก็ดีอัตราเงินเฟ้อมีความเสี่ยงที่จะอยู่ในระดับสูงนานกว่าคาด จากการส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากผู้ประกอบการเผชิญภาวะต้นทุนสงูต่อเนื่อง อีกทั้งมีแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ จึงต้องติดตามความเสี่ยงเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด

 

เอเชียพลัส คาดกระทบหุ้น 67-70 จุด เงินบาทอ่อนค่า 1%

  • บริษัทหลักทรัพย์ เอเซียพลัส จำกัด (ASPS) เปิดเผยว่า จับตาการประชุมคณะกรรมการนโยบายทางการเงิน (กนง.) นัดที่ 2 ของปี ในวันนี้ โดยตลาดคาดการณ์ขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% มาที่ 1.75% ซึ่งประเด็นสำคัญอยู่ที่ทิศทางอัตราดอกเบี้ยช่วงที่เหลือของปี ในมุมมองฝ่ายวิจัยอัตราดอกเบี้ยที่ 1.75% ถือเป็นระดับเท่ากับต้นปี 2562 สอดรับกับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่กำลังทยอยกลับสู่ฐานปี 2562

  • จึงมองว่าอัตราดังกล่าวเป็น Terminal rate ของอัตราดอกเบี้ยนโยบายไทยในปีนี้ เพราะหากพิจาณาการเติบโตของ GDP ไทยปี 2562 อยู่ที่ระดับ 2.2% YoY โดยช่วงดังกล่าวมีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทย 40 ล้านคน ทำให้ประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่สูงกว่าระดับปี 2562 อาจเปิด Downside ต่อการขยายตัวของ GDP ไทย หรือกรณีที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายไทยขึ้นเกินระดับดังกล่าวมองว่าไม่น่ายืนได้ในระยะยาว

  • สำหรับผลต่อกลุ่มธนาคาร โดยการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะบวกทันทีต่อ อัตราดอกเบี้ย Interbank (สัดส่วน 4% ของรายได้ดอกเบี้ยรับปี 2565) ที่อิงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และคาดหมายเห็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยกลุ่ม M-Rate (MLR, MORและ MRR) ของธนาคาร ในช่วงถัดไป รวมถึงฝั่งต้นทุนเงินฝากประจำ และอาจรวมถึงเงินฝากออมทรัพย์ของ ธ.พ. ใหญ่ ที่มีสัดส่วน CASA สูงราว 80% ของเงินฝาก อย่าง KBANK, KTB, SCB ปัจจุบันอยู่ที่ 0.25% ต่ำกว่าปี 2562 ที่ 0.50% ส่วน BBL มีการปรับเพิ่มอัตรา ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ช่วงที่ผ่านมาจนอยู่ในระดับใกล้เคียงปี 2562 ที่ 0.50%

  • ภาพรวมการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเกิดขึ้นช่วงปลาย 1Q66 ดังนั้นการรับรู้ผลบวกเต็มไตรมาสจะเกิดขึ้นช่วง Q2/66 คาดบวกต่อรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิ (NII) กลุ่มฯ ในงวด Q2/66 ขณะที่ผลต่อประมาณการกำไรสุทธิกลุ่มฯ (8 ธนาคาร) ทั้งปี 2566 ที่ 2.1 แสนล้านบาทสูงขึ้น 9% YoY อิงกับเป้าหมาย NIM ปี 2566 ของแต่ละธนาคาร ซึ่งอยู่บนสมมติฐานอัตราดอกเบี้ยนโยบายไทยที่ 1.75% - 2.00% ทำให้ปัจจัยด้านอัตราดอกเบี้ยสะท้อนในประมาณการของฝ่ายวิจัยและตลาดแล้ว

 

5 ธนาคารที่ได้ประโยชน์สูงสุดจากการขึ้นดอกเบี้ย

1. TISCO (ราคาเป้าหมาย 108 บ.) จาก Coverage Ratio ที่ 259% (VS ค่าเฉลี่ยกลุ่มฯ ที่ 177%), BIS Ratio ที่ 23% สูงสุดใน กลุ่มฯ และเกณฑ์ขั้นต่ำที่ 11%

2. BBL (ราคาเป้าหมาย 174 บ.) จากการตั้งสำรองเด่นสุดในกลุ่มฯ บน Coverage Ratio ที่ 261%

3. KTB (ราคาเป้าหมาย 20.3 บ.) ROE มีพัฒนาการดีขึ้น และการขยายตัวด้าน Digital ผ่านEcosystem ของธนาคารฯ ทั้ง เป๋าตังและถุงเงิน

4. SCB (ราคาเป้าหมาย 132 บ.) หลังราคาหุ้น Underperform กลุ่มฯ ช่วงที่ผ่านมาและการจ่ายเงินปันผลสูงขึ้น

5. KBANK (ราคาเป้าหมาย 159 บ.) KKP (ราคาเป้าหมาย 77 บ.)

  • Yield Curve พันธบัตรรัฐบาลของไทย ณ ปัจจุบันเมื่อเทียบกับปลายเดือน ก.พ. 66 จะเห็นได้ว่า Yield Curve Shift ลงทุกช่วงอายุ โดยช่วงอายุ 1 ปี ปรับตัวลง 1.9 bps ส่วนอายุคงเหลือยาวกว่า 1 ปี (3 ปี – 30 ปี) ปรับตัวลงมากถึง 19.5-26.0 bps โดยอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรช่วงอายุ 1-3 ปี อยู่ที่ ประมาณ 1.72-1.79% สอดรับกับนักลงทุนที่คาดกว่า กนง. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายรอบนี้ 25 bps มาอยู่ที่ 1.75%

  • เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังสูงกว่ากรอบเป้าหมายที่ กนง.ตั้งไว้ที่ 1-3% ท่ามกลางความเสี่ยงมากมายจากปัจจัยภายนอกประเทศ อาทิ Geopolitical Risk (รายละเอียดตามหัวข้อด้านบน) และความกังวลโดมิโน่ธนาคารล้มทั้งในสหรัฐฯ-ยุโรป

  • ซึ่งสาเหตุหลักคงมาจาก นักลงทุนต่างชาติส่วนใหญ่เพิ่มการถือครองตราสารหนี้ไทย โดยก.พ.66 มียอดซื้อสุทธิกว่า 1.8 หมื่นล้านบาท(ขณะที่ม.ค.66 ขายสุทธิสูงถึง 6.7 หมื่นล้านบาท) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการซื้อตราสารหนี้ระยะยาวกว่า 1.5 หมื่นล้านบาท (คิดเป็นสัดส่วนราว 83%) ด้วยเหตุนี้จึงเห็นค่าเงินบาทเริ่มอ่อนค่าแรงราว 1% จากช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา อยู่ระดับ 34.3 บาท/เหรียญฯ

  • หากพิจารณาเชิง Valuation ของ SET Index ตามกลไกจะเป็นตัวกดดันตลาดหุ้นฯให้ซื้อ ขายบน P/E ที่ลดน้อยลง ซึ่งทำให้ Target SET Index ณ ปลายปีลดลงเช่นกัน หากกนง. หากปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้จาก 1.50% เป็น 1.75% จะกดดันเป้าหมายดัชนีเพิ่มอีกราว 67-70 จุด

  • สรุป การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% สู่ระดับ 1.75% จาก Bond Yield ระยะสั้น (1 – 3 ปี) ที่อยู่ระดับใกล้เคียง 1.75% ถือเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นไทยในเชิง Valuation โดยจะทำให้ตลาดหุ้นถูกกดดันให้ซื้อขายบน P/E ที่ลดน้อยลง คาดกระทบ เป้าหมายดัชนีราว 67-70 จุด

อย่างไรก็ตาม ดัชนีตลาดหุ้นในภาคบ่ายเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ โดยเมื่อเวลา 14.48 น. อยู่ที่ 1,605.45 จุด ลดลง 1.29 จุด (-0.05%) มูลค่าการซื้อขายค่อนข้างเบาบางอยู่ที่ 2.94 หมื่นล้านบาท



ติดตาม ทันข่าวToday ช่องทางอื่น ๆ

🔺 Website : https://www.thunkhaotoday.com/
🔺 Facebook : https://www.facebook.com/thunkhaotoday
🔺 Line Today : https://bit.ly/3ifSuDr
🔺 ติดต่อโฆษณา : https://line.me/ti/p/9mjGVL4nhC

ติดต่อโฆษณา!