29 สิงหาคม 2565
730

KTAM ลุยออก 2 กองทุนโภคภัณฑ์ รับเทรนด์ราคาพลังงาน สู้เงินเฟ้อ ดอกเบี้ยขาขึ้น!

KTAM ลุยออก 2 กองทุนโภคภัณฑ์  รับเทรนด์ราคาพลังงาน สู้เงินเฟ้อ ดอกเบี้ยขาขึ้น!
Highlight

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน)หรือ KTAM แนะลงทุนกลุ่มสินทรัพย์โภคภัณฑ์ หลังแนวโน้มพลังงานยังคงทรงตัวในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง แนะ 2 กองทุน KT-ENERGY และ KT-MINING ซึ่งเป็นกองทุนรวมลงทุนด้านพลังงาน น้ำมัน และก๊าซ สอดรับกับเทรนด์ขาขึ้น ช่วยผ่อนคลายแรงกดดันในการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลาง นอกจากนี้น้ำมันและก๊าซยังคงมีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ซัพพลายยังจำกัด ส่งผลให้อุตสาหกรรมพลังงานน่าสนใจมากในช่วงนี้


นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTAM เปิดเผยว่า KTAM แนะลงทุนในกองทุนกลุ่มสินทรัพย์โภคภัณฑ์ หลังแนวโน้มพลังงานยังคงทรงตัวในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง โดยมี 2 กองทุน KT-ENERGY และ KT-MINING ซึ่งมีความน่าสนใจเนื่องจากมีการลงทุนในสินทรัพย์ด้านพลังงาน น้ำมัน และก๊าซ มีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดี สอดรับกับเทรนด์ราคาพลังงานขาขึ้น

นางชวินดา กล่าวว่า สัญญาณเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลงบ้าง ช่วยผ่อนคลายแรงกดดันในการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางในระยะยาว ทำให้เศรษฐกิจโลกกลับมาสู่ทิศทางการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ส่วนการบริโภคสินค้าโภคภัณฑ์ก็ยังคงมีแนวโน้มปรับตัวขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มพลังงานที่แนวโน้มการลงทุนยังสดใส

จากมุมมองนักวิเคราะห์ที่เชื่อว่า น้ำมันและก๊าซยังคงมีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ซัพพลายยังจำกัด ส่งผลให้อุตสาหกรรมพลังงานน่าสนใจมากในช่วงนี้

“สินค้าโภคภัณฑ์และพลังงานเป็นอีกหนึ่งธีมการลงทุนที่น่าสนใจในช่วงนี้ ด้วยสถานการณ์ที่ผ่อนคลายลงของโควิด-19 ทำให้แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมีความชัดเจนมากขึ้น รวมถึงราคาพลังงานที่น่าจะทรงตัวอยู่ในระดับสูงที่ยาวนานจากภาวะที่พลังงานขาดแคลนอันเนื่องมาจากการแก้ปัญหาโลกร้อน

ทำให้ในอุตสาหกรรมนี้มีจำนวนบริษัทที่ผูกขาดตลาดอยู่ค่อนข้างน้อย ส่งผลให้ซัพพลายโตไม่ทันความต้องการซื้อ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยผลักดันให้กลุ่มธุรกิจนี้นำมาซึ่งอัตรากำไรที่สูง มีกำไรต่อหุ้นเติบโตขึ้นต่อเนื่อง เหมาะกับการลงทุนเพื่อรองรับภาวะเงินเฟ้อที่ค่อนข้างยาวนานและพลังงานขาดแคลนได้ดี จึงแนะนำให้นักลงทุนกระจายการลงทุนมายังประเภทสินค้าโภคภัณฑ์บ้าง” นางชวินดา กล่าว

KTAM จึงได้แนะนำ 2 กองทุนที่สอดคล้องกับสถานการณ์ในช่วงนี้ ได้แก่ กองทุนเปิดเคแทม เวิลด์ เอ็นเนอร์จี ฟันด์ (KT-ENERGY) ที่เน้นลงทุนในกองทุนหลัก BGF World Energy Fund เพียงกองทุนเดียว โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยกองทุนหลักเน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทชั้นนำทั่วโลกซึ่งมีธุรกิจหลักในการสำรวจ พัฒนา ผลิต และจัดจำหน่ายพลังงาน

นอกจากนั้น กองทุนหลักยังอาจลงทุนในบริษัทที่มุ่งเน้นการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากพลังงานทดแทน ซึ่งถ้าราคาพลังงานยังคงทรงตัวในระดับสูง กองทุนนี้จะน่าสนใจมากยิ่งขึ้น เพราะบริษัทในอุตสาหกรรมพลังงานที่ได้อานิสงส์จากราคาที่เพิ่มขึ้น มีแนวโน้มกำไรที่สูงขึ้น จ่ายปันผลได้เพิ่มขึ้น ขณะที่ราคาของหุ้นยังต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงอยู่มาก

อีกหนึ่งกองทุน ได้แก่ กองทุนเปิด เคแทม เวิลด์ เมทัล แอนด์ ไมน์นิ่ง ฟันด์ (KT-MINING) ที่เน้นลงทุนในกองทุนหลัก Allianz Global Metals and Mining Fund เพียงกองทุนเดียว โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน

โดยกองทุนหลักเน้นลงทุนในหุ้นที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับโลหะและแร่ต่างๆ เช่น การสำรวจ ขุดเจาะ แปรรูป และการทำเหมืองต่างๆ เป็นต้น โดยโลหะและแร่ต่างๆ เป็นหนึ่งในสินค้าโภคภัณฑ์ที่ระดับราคาปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ตามการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

นอกจากนี้ โลหะบางประเภท เช่น ทองแดง นิกเกิล และอลูมิเนียม ก็เป็นวัตถุดิบที่สำคัญของอุตสาหกรรมพลังงานสะอาด ไม่ว่าจะเป็น โซล่าร์เซลล์ กังหันลม หรือยานยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น ดังนั้น KT-MINING จึงเป็นอีกกองทุนที่น่าสนใจ และมีแนวโน้มที่จะเติบโตในระยะยาวอีกด้วย

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานในวันนี้ (29 ส.ค.) ว่าราคาน้ำมันดิบพุ่งขึ้น 1% ในวันจันทร์ เนื่องจากคาดว่าองค์การกลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันออก หรือโอเปก (OPEC) จะลดกำลังการผลิตหากจำเป็น ท่ามกลางความขัดแย้งในลิเบียและความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาก๊าซธรรมชาติที่พุ่งสูงขึ้นในยุโรปช่วยชดเชยแนวโน้มการเติบโตที่เลวร้ายในสหรัฐ

ทั้งนี้ราคาน้ำมันดิบล่วงหน้า West Texas Intermediate (WTI) ของสหรัฐพุ่งขึ้น 1.09 ดอลลาร์ หรือ 1.2% สู่ 94.15 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลที่ 02.41 GMT เพิ่มขึ้น 2.5% ในสัปดาห์ที่แล้ว

ส่วนราคาน้ำมันดิบเบรนท์เพิ่มขึ้น 89 เซนต์หรือ 0.9% สู่ 101.88 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 4.4% ในสัปดาห์ที่แล้ว

นักวิเคราะห์สินค้าโภคภัณฑ์ของธนาคารแห่งชาติออสเตรเลียระบุว่า “ราคาน้ำมันแข็งค่าขึ้นท่ามกลางแรงกดดันอย่างต่อเนื่องต่อความต้องการเชื้อเพลิงจากวิกฤติพลังงานของยุโรป และข้อจำกัดด้านกำลังการผลิต” 

โดยราคาน้ำมันได้แรงหนุนจากคำแนะนำจากซาอุดิอาระเบียและสมาชิกอื่นๆ ขององค์กรประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและพันธมิตร (OPEC+) ว่าพวกเขาสามารถลดการผลิตลงเพื่อสร้างสมดุลให้กับตลาด


อ้างอิง :  บลจ.กรุงไทย

https://www.reuters.com/markets/commodities/oil-mixed-opec-supply-cut-prospect-offsets-demand-fears-2022-08-29/

ติดต่อโฆษณา!