29 สิงหาคม 2565
1,049

Fed เขย่าหุ้นโลกร่วงหนักต่อเนื่อง! ยืนยันจะขึ้นดอกเบี้ยจนกว่าเงินเฟ้อจะลง

Fed เขย่าหุ้นโลกร่วงหนักต่อเนื่อง! ยืนยันจะขึ้นดอกเบี้ยจนกว่าเงินเฟ้อจะลง
Highlight

ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ช็อคโลกด้วยการส่งสัญญาณชัดเจน จะขึ้นดอกเบี้ยโดยไม่เบามือเพื่อดึงเงินเฟ้อลงมาให้ได้ก่อนเกิดความเสียหายครั้งใหญ่ ทำให้ตลาดหุ้น Bitcoin ร่วงหนักอย่างต่อเนื่อง ตลาดหุ้นเอเชียเช้าวันที่ 29 ส.ค. ร่วงกว่า 1%  ทั้งนี้บล.กรุงศรีคาดตลาดหุ้นไทยปรับลงตามสถานการณ์ตลาดโลก และต้องติดตามนโยบายการเงินธนาคารกลางทั่วโลกและไทยจะรับมืออย่างไร หุ้นที่น่าสนใจเป็นกลุ่มธนาคาร หุ้นเปิดเมือง หลีกเลี่ยงการลงทุนทองคำในช่วงนี้


เมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) กล่าวสุนทรพจน์ช็อคโลกที่การประชุม Jackson Hole โดยใช้เวลาราว 9 นาที  สรุปไ้ด้ว่า เงินเฟ้อยิ่งปล่อยยิ่งแย่ หากปล่อยต่อไป ในปี 1970-1980 มันจะนำไปสู่ความเสียหายที่หนักขึ้นดังนั้นต้องหยุดเงินเฟ้อให้ได้

ต้องหยุดดีมานด์ให้ได้ คือทำลายความต้องการให้ได้ เพื่อหยุดการซื้อ ดังนั้นคำตอบค่อเรื่องดอกเบี้ย ต้องขึ้นจนกว่าจะเอาเงินเฟ้ออยู่หมัด ต้องหยุดตลาดหุ้น ทำลายการคาดการณ์เงินเฟ้อ ซึ่งเป็นตัวเร่งขึ้นราคาสินค้าล่วงหน้า วิธีการทำให้กลัวคือต้องทำให้รู้สึกว่าเศรษฐกิจมันแย่ และทำเงินเฟ้อให้ถึงเป้าหมาย 2% ให้นานพอจนเงินเฟ้อไม่กลับมาอีก

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล วิเคราะห์ผ่านเฟสบุ๊ก ถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและผลกระทบกับตลาดหุ้นหลังถ้อยแถลงของ Fed ว่า เป็น 9 เขย่าโลก! ทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐ และสินทรัพย์เสี่ยงต่างๆ ร่วงหนักทันที โดยที่ Dow Jones -1,008 จุด หรือ -3.03%  Nasdaq -498 จุด หรือ -3.94% Bitcoin -1,500 ดอลลาร์ ลงมาเหลือ 20,200 หรือ -6.75% Ethereum -200 ดอลลาร์ ลงมาเหลือ 1,500 หรือ -12%

ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะนักลงทุนแอบหวังว่า เงินเฟ้อสหรัฐที่ลงมาให้เห็น 1 เดือนแล้ว เป็นสัญญาณที่ดี หมายความว่า ดอกเบี้ยขึ้นไปไม่มาก แค่ 3.66% ก็จะจบ  ต้นปีหน้า เฟดน่าจะพอแล้ว  และน่าจะเริ่มลดดอกเบี้ยในช่วงกลางปี แต่สิ่งที่ท่านประธานเฟดพูดเมื่อคืน มันช่างต่างจากที่นักลงทุนคิดไว้มาก

นายพาวเวล กล่าวว่า “สิ่งที่คณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐหมกหมุ่น focus อยู่ ก็คือ เอาเงินเฟ้อลงมาที่ 2% หน้าที่ของเรา คือ การสยบเงินเฟ้อให้ได้ ถ้า Fed ผิดพลาดเรื่องนี้ เศรษฐกิจก็จะไม่สามารถขยายตัวอย่างยั่งยืน   เงินเฟ้อจะสร้างความเสียหายแก่ทุกคน การเอาเงินเฟ้อกลับเข้าเป้า “ต้องใช้เวลา”  ต้องใช้นโยบายที่ “เข้มข้น” เข้าจัดการ จะนำมาซึ่ง เศรษฐกิจที่ขยายตัวต่ำกว่าปกติ. คนต้องตกงาน ธุรกิจต้องปิด คนทั่วไป อาจจะไม่สามารถจ่ายหนี้ได้ แต่นี่คือต้นทุนที่เราต้องแบกรับไว้ เพราะถ้าพลาดจะเสียหายยิ่งกว่านี้

Fed จะปรับดอกเบี้ยไประดับที่เข้มข้น ที่ชะลอเศรษฐกิจลงมา ระดับปัจจุบันที่ 2.25-2.5% เป็นระดับที่เรียกว่า Neutral rate แต่จุดนี้ไม่ใช่จุดที่เฟดจะหยุดหรือชะลอการขึ้นดอกเบี้ย โดยการขึ้นดอกเบี้ยครั้งหน้า อาจจะเป็น 0.75%  เราจะดูข้อมูลที่ออกมาอีก 1 เดือน แล้วตัดสินใจว่าเหมาะสมหรือไม่ ทั้งนี้ ในอนาคต เมื่อเฟดขึ้นดอกเบี้ยไปได้สูงพอ อัตราการขึ้นอาจจะชะลอลงได้

ในการที่จะเอาเงินเฟ้อลงมา เฟดคงต้อง “คงดอกเบี้ยในระดับสูงเป็นเวลาที่นานพอควร” เพราะบทเรียนในอดีตชี้ว่า การลดลงเร็วเกินไป เชื้อเงินเฟ้อจะไม่ตาย และจะเกิดปัญหาอีกรอบได้โดยเมื่อมิถุนายน กรรมการมองว่าจุดสูงสุดของดอกเบี้ยรอบนี้ต้องขึ้นไปอย่างน้อยใกล้ๆ 4% แต่ในการประชุมครั้งหน้าจะบอกอีกทีว่าจะต้องปรับเพิ่มขึ้นอีกหรือไม่ เท่าไหร

สิ่งที่กรรมการคิด หารือแนวทางจัดการเงินเฟ้อ ตั้งอยู่บนบทเรียนสำคัญจากอดีต 3 เรื่อง

เรื่องแรก – เป็นหน้าที่ของธนาคารกลางในการจัดการเงินเฟ้อ ธนาคารกลางมีเครื่องมือในการสู้ศึกดังกล่าว ที่เคยใช้ได้ผลมาในอดีต รอบนี้ก็เช่นกัน “ต้องเอาเงินเฟ้อลงมาให้ได้ อย่างไม่มีเงื่อนไขใดใด”

“We are committed to doing that job” Fed มุ่งมั่นที่จะดำเนินการเรื่องนี้ โดยไม่ลังเล

(หมายความว่า เศรษฐกิจจะถดถอย คนจะตกงาน บริษัทจะปิดกิจการ ล้มละลาย รัฐบาลสหรัฐจะจ่ายหนี้ยากขึ้น เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องไปปรับตัวเอง)

เรื่องที่สอง – การคาดการณ์เงินเฟ้อของทุกคนสำคัญมากในช่วง 1970 เงินเฟ้อสูง คนเคยชิน ยิ่งเฟ้อ ก็ยิ่งเอามาใช้ในการปรับขึ้นราคาสินค้า เงินเดือน

Paul Volcker บอกว่า หน้าที่ของเฟดคือ ตีหลังของเงินเฟ้อให้หัก และทำให้เงินเฟ้อไม่สามารถต่อยอดตนเองได้

Alan Greenspan บอกว่า เป้าหมายคือ เราต้องทำให้เงินเฟ้อต่ำ ต่ำจนทุกคนไม่ได้ใส่ใจ แต่ปัญหาใหญ่ของเราก็คือ ช่วงนี้ เงินเฟ้ออยู่ในใจทุกคน ยิ่งปล่อยไว้นาน เงินเฟ้อก็จะสามารถฝังรากลึก ต่อยอดตัวเองได้

เรื่องที่สาม - เราต้องไม่วอกแวก ลังเล อดีตสอนว่า ยิ่งช้า ยิ่งเสียหาย ก่อนที่ Paul Volcker จะจัดการเงินเฟ้อสำเร็จ  Fed ล้มเหลวแล้ว ล้มเหลวอีก เป็นเวลา 15 ปี (ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะใจอ่อน เปลี่ยนนโยบายเร็วเกินไป เชื้อยังไม่ตาย ก็รีบเลิกให้ยา)

นโยบายการเงินที่เข้มข้น ดอกเบี้ยที่สูง ที่ค้างไว้ยาวนานพอ คือ หัวใจสำคัญในการหยุดเงินเฟ้อไม่ให้เพิ่มขึ้น และเอาเงินเฟ้อลงมา

A lengthy period of very restrictive monetary policy was ultimately needed to stem the high inflation and start the process of getting inflation down to the low and stable levels… “ต้องมุ่งมั่นในการสู้ศึกครั้งนี้ เพื่อจะไม่พลาดเหมือนในอดีต”

ดร.กอบศักดิ์ คาด Fed จะใช้เวลาราว 1 ปี ขึ้นดอกเบี้ยจนกว่าเงินเฟ้อเข้าเป้า

ประธาน Fed จบสุนทรพจน์โดยบอกว่า

These lessons are guiding us as we use our tools to bring inflation down. We are taking forceful and rapid steps to moderate demand so that it comes into better alignment with supply, and to keep inflation expectations anchored. We will keep at it until we are confident the job is done.

บทเรียนทั้งสามเรื่อง คือ กรอบที่เราใช้ในการจัดการเงินเฟ้อรอบนี้ เฟดจะขึ้นดอกเบี้ย “ให้แรงพอ” และ “เร็วพอ” เพื่อจัดการเงินเฟ้อ และเราเดินหน้าต่อไป ไม่เปลี่ยนใจ จนเรามั่นใจว่าเงินเฟ้อยอมสยบ กลับเข้าเป้า

ดร.กอบศักดิ์ สรุปว่า “พูดง่ายๆ ว่า ทุกคำพูด ทุกประโยคของท่านประธานเฟด ตั้งใจมาตัดรอน ทำให้นักลงทุนที่แอบหวังว่า “เฟดจะใจอ่อน เปลี่ยนใจ” ที่ไปพาดหัวข่าวกัน Fed will pivot ขึ้นดอกเบี้ยไปสูงไม่มาก ไม่นาน แล้วก็จะลด ยิ่งมี Recession เฟดก็น่าจะใจอ่อนได้ ไม่อยากให้คนตกงาน บริษัทล้มละลาย เศรษฐกิจไม่ดี พอดอกเบี้ยเริ่มลง สภาพคล่องที่มีอยู่มาก หลายล้านล้านดอลลาร์ ทุกคนก็จะสามารถกลับมาสนุกสนานกับงานเลี้ยงอีกรอบ

แต่พอได้ยินคำพูดที่ “ปราศจากเยื่อใย” เช่นนี้ ไม่น่าแปลกใจ วงก็เลยแตก  ดัชนีต่างๆ พร้อมใจกันลงเมื่อคืนนี้ สำหรับอนาคต คงจะมีช่วงชักกะเย่อระหว่าง Fed กับตลาดไปเรื่อยๆ เช่นนี้ โดยตลาดก็จะแอบหวังตลอดเวลาว่า Fed น่าจะพอแล้ว ส่วน Fed ก็จะต้องออกมาบอกว่า ยังไม่พอ ยังไม่จบ สู้กันเป็นระลอก ระลอกไปอย่างน้อยอีก 6-12 เดือน ครับ ทำให้จะมีซีนอย่างเมื่อคืน อีกหลายรอบ

เพราะนี่คือ “คำตอบสุดท้ายของเฟด” ดอกเบี้ยต้องขึ้นให้สูง ให้สูงพอ และคงอยู่นานพอ ใจแข็งกับความเสียหายที่จะตามมา  โดยคอยปลอบใจตนเองว่า “ถ้าเราไม่ใจแข็งพอ ความเสียหายที่รออยู่จะยิ่งใหญ่กว่านี้มาก” ครับ

หุ้นเอเชียเปิดตลาดร่วงกว่า 1% ตามหุ้นสหรัฐ

ดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์ร่วงลงกว่า 200 จุดเช้านี้ หลังจากนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปเพื่อสกัดเงินเฟ้อ

ณ เวลา 06.26 น.ตามเวลาไทย ดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์ร่วงลง 241 จุด หรือ -0.75% แตะที่ 32,022 จุด

นายพาวเวลกล่าวในการประชุมประจำปีของเฟดที่เมืองแจ็กสัน โฮล เมื่อวันศุกร์ (26 ส.ค.) โดยระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐจำเป็นจะต้องมีการคุมเข้มนโยบายไประยะหนึ่งก่อนที่จะสามารถควบคุมเงินเฟ้อได้ ซึ่งจะส่งผลให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจชะลอลง, ตลาดแรงงานอ่อนแอลง และส่งผลกระทบต่อภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ

ตลาดหุ้นเอเชียเปิดลบ ตามทิศทางดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กที่ทรุดตัวลงกว่า 1,000 จุดเมื่อวันศุกร์ (26 ส.ค.) หลังจากนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปเพื่อสกัดเงินเฟ้อ

ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 28,161.06 จุด ร่วงลง 480.32 จุด หรือ -1.67%,

ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ ดัชนีฮั่งเส็งเปิดที่ 19,960.29 จุด ลดลง 209.75 จุด หรือ 1.04% และ

ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,203.10 จุด ลดลง 33.12 จุด หรือ -1.02%

ราคาบิตคอยน์ร่วงหลุดจากระดับ 20,000 ดอลลาร์เช้านี้ หลังจากนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปเพื่อสกัดเงินเฟ้อ

ณ เวลา 06.42 น.ตามเวลาไทย ราคาบิตคอยน์ร่วงลง 345 จุด หรือ -1.73% แตะที่ 19,654 ดอลลาร์

ราคาบิตคอยน์ร่วงหลุดจากระดับ 20,000 ดอลลาร์เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่วันที่ 14 ก.ค. หลังจากนายพาวเวลกล่าวในการประชุมประจำปีของเฟดที่เมืองแจ็กสัน โฮล เมื่อวันศุกร์ (26 ส.ค.) โดยระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐจำเป็นจะต้องมีการคุมเข้มนโยบายไประยะหนึ่งก่อนที่จะสามารถควบคุมเงินเฟ้อได้ ซึ่งจะส่งผลให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจชะลอลง, ตลาดแรงงานอ่อนแอลง และส่งผลกระทบต่อภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ

คาดหุ้นไทยร่วงตามตลาดเอเชีย สลับรีบาวน์แต่อาจได้อานิสงส์จาก Thailand Focus

แนวโน้มหุ้นไทยวันนี้ คาด SET ปรับตัวลงสลับรีบาวด์มีแรงกดดันจากตลาดต่างประเทศ ดาวโจนส์ร่วงแรงหลัง Fed ออกมาประกาศเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยสกัดเงินเฟ้อ นักลงทุนเกาะติดตัวเลขดัชนี PMI และตัวเลขแรงงานของสหรัฐที่จะออกมาสัปดาห์นี้ ด้านราคาน้ำมันโลกทรงตัวระดับสูง หนุนหุ้นพลังงานและแรงซื้อหุ้นที่มีข่าวบวก  แนะหุ้น ADVANC ASIAN

บทวิเคราะห์จากบล.กรุงศรี ประเมิน SET ในวันที่ 29 ส.ค.ปรับตัวลงแนวรับ 1,620 - 1,630 จุด หลังธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเพื่อสกัดเงินเฟ้อซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจและตลาดแรงงานชะลอลง ทั้งนี้ Fedwatch ให้น้ำหนักขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุม 20 – 21 ก.ย. อย่างไรก็ตามคาดว่าดัชนีจะสลับรีบาวด์ขึ้นได้จากกลุ่มพลังงานตามราคาน้ำมันดิบทรงตัวระดับสูง รวมถึงแรงซื้อหุ้นที่มีข่าวเฉพาะตัว

กลยุทธ์การลงทุน: Selective Buy แนะนำหุ้น  KBANK BBL SCB KTB TTB  BLA ได้อานิสงส์ดอกเบี้ยขาขึ้น  และ  PTTEP TOP IVL SPRC BANPU ได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันดิบฟื้นตัวขึ้นและถ่านหินทรงตัวระดับสูง ส่วน BDMS BH AOT AAV BA CENTEL ERW MINT  CPN  AMATA  SPA อานิสงส์การเปิดเมือง

ประกิต สิริวัฒนเกตุ กรรมการผู้จัดการ บลจ.เมอร์ชั่นพาร์ทเนอร์ กล่าวว่า นักลงทุนต่างชาติอาจจะยังซื้อหุ้นไทยต่อเนื่องจากงาน Thailand Focus ที่เพิ่งจบไปเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัว เราไม่จำเป็นต้องเหมือนต่างประเทศ และเรากำลังเข้าสู่การเลือกตั้ง ทำให้สภาพตลาดคึกคักกว่าปกติ สถานการณ์ดอกเบี้ยโลกเป็นเรื่องกนักจากนี้ Fed ประกาศเป็นไปตามการคาดการณ์ว่า จะมีการรีเซ็ตการคาดการณ์ตลาด ส่วนตลาดทองคำจะร่วง เพราะจะสวนทางกับดอกเบี้ย

ติดต่อโฆษณา!