11 กรกฎาคม 2565
2,327

อายุ 40 เร็วไปมั้ยที่จะเริ่มลงทุนเพื่อการเกษียณ

Highlight

การเริ่มต้นออมและลงทุนเพื่อการเกษียณนั้น ยิ่งเริ่มเร็วเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น เพราะจะทำให้เรามีเวลาการลงทุนเป็นระยะเวลานานขึ้น และออมในจำนวนเงินที่มากเกินไปสามารถเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นได้ เพื่อโอกาสในการแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น บล.ฟิลลิป แนะนำการออมเพื่อเกษียณอายุ โดยลงทุนในกองทุนรวมที่กระจายความเสี่ยงได้ดี กองทุนประเภทลดหย่อนภาษี เช่น SSF-RMF รวมทั้งการลงทุนในประกันชีวิต ควบคู่กันไป ทั้งนี้นักลงทุนสามารถเลือกลงทุนผ่าน Phillip Fund Supermart หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนกับ บล.ฟิลลิป ได้ตลอดเวลา

การเริ่มต้นลงทุนเพื่อวางแผนสำหรับการเกษียณอายุในวัย 40 ปีไม่ถือว่าเร็วเกินไป และควรเริ่มลงทุนเพื่อการเกษียณได้เลย เพราะปัจจุบันอายุเกษียณอยู่ที่ประมาณ 60-70 ปี

คุณสานุพงศ์ สุทัศน์ธรรมกุล กรรมการบริหาร บมจ.หลักทรัพย์ฟิลลิป (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า เราอาจจะต้องวางแผนดีๆ เพราะอายุเฉลี่ยของคนไทยสูงขึ้น  ยิ่งเราทำเร็วมากเท่าไหร่ ยิ่งดีขึ้นเท่านั้น หากเราเริ่มช้า ทำให้เราเหลือเวลาในการลงทุน ต้องใช้เงินเยอะ และความเสี่ยงก็จะสูงขึ้นด้วย

หากเราเริ่มต้นได้เร็ว เช่นเริ่มต้นตั้งแต่อายุ 20-30  ปี การออมไม่ต้องใช้เงินจำนวนมาก เพียงหลักพันก็ออมเพื่อการลงทุนถึงเป้าหมายได้
ระยะเวลาการลงทุนที่นานขึ้นจะทำให้ความเสี่ยงลดลงด้วย

เราสามารถเลือกลงทุนกับหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น และได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นได้ และไม่เป็นการกดดันเราให้ไปถึงตรงนั้นให้เร็วที่สุด คุณสานุพงศ์ กล่าว

20220711-a-01.jpg

การเริ่มต้นลงทุน

คุณสานุพงศ์แนะนำว่า เมื่อเราต้องการลงทุนเพื่อเกษียณซึ่งเป็นการลงทุนระยะยาวนั้น ประการแรก เราควรเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองก่อน
ยกตัวอย่าง มนุษย์เงินเดือน เมื่อรับเงินปุ๊ป ก็ใช้จ่ายไปตามปกติ เหลือเท่าไหร่แล้วค่อยเก็บ

แต่ถ้าเราต้องการเปลี่ยนเป้าหมายเพื่อการออมในระยะยาวให้บรรลุผลสำเร็จ ก็ต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม คือเมื่อเงินเดือนออก ก็ต้องกันเงินส่วนหนึ่งไว้ก่อน เป็นการออม เช่น การกันเงินไว้ 10% อาจจะเก็บเอาไว้ในบัญชีออมทรัพย์ก่อน

ลำดับต่อมา ก็สำรวจการลงทุนที่เรายอมรับความเสี่ยงได้ ถ้าหากไม่มีไอเดียอะไรเลย บล.ฟิลลิป มีสูตรในการคำนวณง่ายๆ คือ เอา 100 ตั้งลบด้วยอายุตนเอง ถ้าสมมุติว่า ปัจจุบันอายุ 40 ปี ก็เท่ากับ 100-40=60

การจัดพอร์ตลงทุนจะเป็นดังนี้คือ ลงทุน 60% ในสินทรัพย์เสี่ยง อีก 40% ลงทุนในสินทรัพย์ทั่วไป ซึ่งไม่ได้เป็นสูตรตายตัว เราสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์และความเสี่ยงที่รับได้

“เช่น ผมเป็นคนที่รับความเสี่ยงสูงได้ ก็อาจจะเพิ่มพอร์ตการลงทุนในสินทรัพย์สูงขึ้นจาก 60% เป็น 80% ก็ได้” คุณสานุพงศ์ กล่าว

จากนั้นเราก็มาเลือกว่าจะลงทุนกองทุนแบบไหนดี ถ้าหากจะลงทุนในกองยากๆ แล้วเราไม่เข้าใจ จะทำให้เราลงทุนไม่มีความสุข เราควรเลือกกองทุนที่เป็น Basic ก่อนและค่อยๆ Diversify ออกไป เช่น กองทุน Global Equity ซึ่งความเสี่ยงไม่ได้สูง หรือกองทุน Index Fund เข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน ผลตอบแทนเป็นไปตามภาวะตลาดขึ้น -ตลาดลง เราเข้าใจง่ายกว่าที่จะไปลงทุนในกองทุนที่มีความซับซ้อนสูงๆ

หรือ การไปลงทุนในกองทุนประเภท Asset Allocation หรือ Balance Fund ก็สามารถลงทุนได้เลย และออมไปเรื่อยๆ และระหว่างทางเก็บความรู้ไปเรื่อยๆ และมองหาว่า กองทุนไหนที่เหมาะกับเรา ก็เอาเติมในกองทุนการวางแผนเกษียณ ดังนั้นการลงทุนวางแผนเกษียณ ไม่ใช่ว่าทำทีเดียวแล้วจบ เหมือนวิ่งมาราธอน เราไม่จำเป็นต้องทำทุกอย่างในวันแรก ค่อยทำไปเรื่อยๆ

“จุดเริ่มต้นที่ดีที่สุดคือ ทำอะไรก็ได้ให้ง่ายที่สุด และเริ่มต้นการลงทุนให้เร็วที่สุด” คุณ สานุพงศ์กล่าว

กองทุนลดหย่อนภาษี

กองทุน SSF และ RMF เป็นกองทุนเพื่อการเกษียณอายุที่ดีมาก เพราะลงทุนไปแล้วเหมือนได้ Cash Back คืน เพราะเอาไปลดหย่อนภาษีได้ หากลงทุนในช่วงอายุ 40 ปี กองทุนนี้จะช่วยให้ไปถึงเป้าหมายได้ เพราะเงินก้อนนั้นเราสามารถไป Reinvest และเอากลับไปลดหย่อนภาษีได้ หรือสามารถนำกลับไปซื้อ SSF และ RMF และวางแผนเกษียณได้ต่อไปอีก ทำให้เราไปถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้น

ถ้าเราไม่มี SSF และ RMF ในแผน เราอาจจะใช้เวลานานขึ้น จึงแนะนำอายุ 40 ปี ควรลงทุนในกองทุนประหยัดภาษีเพื่อเพิ่มโอกาสการออมได้ดีขึ้น

เลือกกองทุน SSF และ RMF แบบไหนดี

คุณสานุพงศ์ กล่าวว่า หากสามารถเลือกกองทุนเป็น โดยสามารถ Diversify หรือกระจายความเสี่ยง เราอาจจะโฟกัสการลงทุนในธีมที่เราชอบได้ แต่หากเราไม่มีไอเดียการลงทุนว่าจะโฟกัสไปทางไหนดี เราก็อาจจะเลือกลงทุนในกองทุนประเภท Asset Allocation เช่น กองทุน Global Asset Allocation ซึ่งมีการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนไปหลากหลายสินทรัพย์ และดูว่า Expected Return หรือผลตอบแทนที่คาดหวัง อยู่ที่เท่าไหร่ สัดส่วนการลงทุนเป็นอย่างไร เหมาะกับเราหรือไม่ ใกล้เคียงกับเป้าหมายของเราหรือไม่ แล้วค่อยเลือกลงทุน

เปรียบเทียบการซื้อกองทุน Asset Allocation เพียงกองทุนเดียว กับซื้อหลายกองทุน

สำหรับการลงทุนแบบกระจายหลายๆกองทุน นักลงทุนต้อง Rebalance พอร์ตการลงทุน ต้องสำรวจพอร์ตของตนเองตลอดเวลาระหว่างทางที่ลงทุน จะต้องดูด้วยว่ามีกำไรแล้วหรือยัง เราอาจต้องขายออกเพื่อทำกำไร และไปลงทุนอีกกองทุนหนึ่ง มีการโอนไป โอนมา ทำให้เราต้องติดตามพอร์ตการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ

แต่ถ้าเป็นการลงทุนในกองทุนประเภท Asset Allocation การดูแลกองทุนก็อาจน้อยลง เราอาจดูในช่วงหนึ่งปี ว่ากองทุนที่ลงทุนอยู่นั้นมีผลการดำเนินงาน หรือ Performance ดีหรือไม่ เพราะในกองทุนเหล่านี้จะมีผู้จัดการกองทุน คอยดูแล และบริหารจัดการสินทรัพย์ต่างๆ ให้อยู่แล้ว โดยนักลงทุนสามารถซื้อกองเดียวแล้วลงทุนไปได้นานๆ แต่ถ้าซื้อหลายๆกอง ก็ต้องมาติดตามดูว่าสินทรัพย์อะไรกำลังมา หรืออะไรไม่มา ต้องคอยปรับเปลี่ยนสินทรัพย์ในพอร์ตให้ทันสถานการณ์ด้วยตนเอง

Phillip Fund Supermart - การให้คำปรึกษาการลงทุนครบวงจรของ บล.ฟิลลิป

ที่ Phillip Fund Supermart มีที่ปรึกษาการลงทุน มีนักวิเคราะห์การลงทุน ในการที่จะคอยแนะนำว่ากองทุน SSF หรือ RMF ใดน่าสนใจในปีนี้ กองทุนไหนที่ลงทุนได้ มีบริการจัด Portfolio ให้เหมาะสมกับเป้าหมายและสถานการณ์

หรือการลงทุนประกันชีวิต ซึ่งเป็นการลงทุนที่ลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน เราจะลงทุนอย่างไร

คุณสานุพงศ์ กล่าวว่าการลงทุนในประกันนั้นเป็นเครื่องมือคนละอย่างกัน และมีวัตถุประสงค์คนละอย่างกัน การซื้อประกันจะได้ในเรื่องความคุ้มครอง ความมั่นคง และมีเงื่อนไขชัดเจนในการรับเงินคืน

ส่วนการลงทุนใน SSF และ RMF นั้นมีโอกาสได้ผลตอบแทนที่สูงกว่า ซึ่งไม่สามารถคาดหวังจากการลงทุนในประกันได้ เพราะฉะนั้นการซื้อประกันกับการลงทุนในกองทุนรวม จึงเป็นเครื่องมือคนละอย่างกัน แต่สามารถเอามาประกอบกันในการวางแผนเกษียณได้

เช่น วางค่าครองชีพขั้นต่ำของตนเองไว้ และเอาเงินที่จะได้จากประกันบำนาญมาเป็นรายได้ขั้นต่ำที่ควรจะได้  ส่วน SSF และ RMF สามารถลงทุนแบบคาดหวังผลตอบแทนที่สูงได้ เพราะเรารู้อยู่แล้ว มีประกันอยู่ในกระเป๋า การลงทุนใน SSF-RMF เป็นการต่อยอดให้ไปถึงเป้าหมายตามที่ต้องการ

ประกันมีหลายแบบ ประกันบำนาญลดหย่อนภาษีได้ในระยะยาว แต่จะนำไปรวมกับการลงทุน SSF-RMF ด้วย ซึ่งสามารถลดหย่อนภาษีได้
ไม่เกิน 500,000 บาท

ประกันออมทรัพย์ หากถือลงทุนเกิน 10 ปีก็สามารถลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน ประกันออมทรัพย์อาจจะไม่ได้ใช้ในการวางแผนเกษียณเป็นหลัก อาจจะใช้เป็นเรื่องคุ้มครองชีวิต การเก็บออมเป็นหลักมากกว่า

บล.ฟิลลิป มีบริการโบรกเกอร์ประกันภัยด้วย รวมทุกบริการ ครบจบในที่เดียว สามารถแนะนำได้ทั้งเรื่องการลงทุน และความคุ้มครองด้วย
คุณสานุพงศ์ กล่าว

Phillip Fund Supermart ให้บริการซื้อ-ขายหน่วยลงทุนมากกว่า 20 บลจ. ให้คำแนะนำที่เป็นกลางในการลงทุนและทันสถานการณ์
สนใจปรึกษาการลงทุนเพิ่มเติมได้ที่

โทร. 02-635-1718

Facebook: Phillip Capital Thailand

LINE: @phillipCapital

ติดต่อโฆษณา!