05 พฤศจิกายน 2565
1,071

ตรวจก่อน รู้เร็ว ป้องกันมะเร็งเต้านม

Highlight

ในแต่ละปีมีผู้หญิงที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเต้านมเป็นจำนวนมาก เนื่องจากไม่มีอาการแสดงใดๆในระยะเริ่มแรก ซึ่งในหญิงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเพื่อหาความผิดปกติและทำการรักษา และหากพบความผิดปกตินั้นๆได้อย่างทันท่วงที และเข้ารับการรักษาที่ถูกต้องและรวดเร็ว มีโอกาสหายขาดได้  ดังนั้นเมื่ออายุมากขึ้นควรตรวจสุขภาพปีละครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าสุขภาพ ร่างกาย ยังแข็งแรงอยู่เสมอ 




20221105-b-01.jpg

ปัจจัยเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม มีอะไรบ้าง

เรามักพบเจอผู้หญิงเป็นมะเร็ง แต่รู้หรือไม่ว่าผู้ชายก็เป็นมะเร็งเต้านมได้ จากสถิติพบผู้ชายเป็นมะเร็งเต้านมประมาณ 1% อาจจะมาจากมะเร็งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม  สำหรับความเสี่ยงและโอกาสที่อาจจะเกิดมะเร็งเต้านมในผู้หญิงมาจากหลายสาเหตุ เช่น อายุที่เพิ่มมากขึ้น มะเร็งเป็นเรื่องของความเสื่อม ผู้หญิงที่มีประจำเดือนตั้งแต่อายุยังน้อยเช่นมีประจำเดือนตั้งแต่ 12 ปี  และหมดประจำเดือนเมื่ออายุมาก หรืออายุเกิน 50 ปี เป็นต้น

การมีช่วงประจำเดือนที่ยาวนาน ผู้หญิงที่ไม่มีบุตร การดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่  คนที่เคยฉายรังสีบริเวณทรวงอก หรือบริเวณเต้านม หรือเกี่ยวกับฮอร์โมนคนที่เคยกินยาคุม นานๆ คนที่มีประวัติในครอบครัวที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม คนที่เป็นเนื้องอกเต้านม  กลุ่มเหล่านี้มีโอกาสที่จะมีมะเร็งเต้านมเกิดขึ้นได้ 

20221105-b-03.jpg

วิธีตรวจเช็คมะเร็งเต้านมด้วยตัวเอง มีวิธียังไงบ้าง

เมื่อเราสังเกตด้วยตัวเอง แล้วเห็นว่าเต้านมมีรูปร่างที่เปลี่ยนแปลงไป มีผิวหนังบุ๋มลงไป หรือเมื่อคลำแล้วได้ก้อน หรือมีอาการเจ็บเต้านมโดยไม่ได้สัมพันธ์กับการมีประจำเดือน  หรือมีสารคัดหลั่งออกมาบริเวรหัวนมให้รีบไปตรวจ ส่วนวิธีการตรวจเช็คด้วยตนเองมีหลายวิธี เช่น 

คลำแนวก้นหอย 

คลำจากส่วนบนของเต้นนม  ไปจนถึงฐานของรักแร้ 

คำแนวรูปลิ่ม

คลำจากส่วนบนของเต้านมขนถึงฐาน, และคลำจากฐานขึ้นยอด

คลำแนวขึ้นลงจากใต้เต้านม

คลำจากใต้เต้านม จนถึงกระดูกไหปลาร้า, ขยับนิ้วขึ้นลงตามภาพ


วิธีรักษามะเร็งเต้านม มีอะไรบ้าง

กรณีการตรวจเจอ และมีอาการ ต้องรีบไปพบแพทย์ การรักษามีทั้งแบบรักษาเฉพาะที่ และการทานยา 

การรักษาเฉพาะที่คือการผ่าตัดเต้านม การฉายรังสีรักษา และการรักษาด้วยยา ยาที่ใช้มีหลายกลุ่ม มีประเภทเคมีบำบัด ยาต้านฮอร์โมน เป็นต้น


20221105-b-02.jpg

มะเร็งเต้านม มีทั้งหมดกี่ระยะ แต่ละระยะแตกต่างกันอย่างไร

มะเร็งโดยส่วนใหญ่รวมทั้งมะเร็งเต้านม แบ่งออกเป็น 4 ระยะ 

ระยะที่ 1 เป็นก้อนเล็กๆ บางครั้งแพทย์เองก็คลำไม่เจอ ก็จะเจอผ่านการตรวจคัดกรอง ถ้าก้อนไม่เกิน 2 ซม. โดยไม่กระจายไปต่อมน้ำเหลือง ก็จะเป็นระยะที่ 1 ส่วนใหญ่ก็รักษาได้ด้วยการผ่าตัด

ระยะที่ 2 ก้อนเริ่มโตขึ้นเกิน 2 ซม.เริ่มกระจายไปต่อมน้ำเหลือง บริเวณรักแร้

ระยะที่ 3 ก้อนโตขึ้น เริ่มกระจายมากขึ้น ไปบริเวณรักแร้เพิ่มขึ้น 

ระยะที่ 4 เริ่มกระจายไปยังอวัยวะอื่น ส่วนใหญ่มักจะกระจายไป ต่อมน้ำเหลือง ปอด ตับ กระดูก และสมอง เป็นต้น

มะเร็งเต้านม จำเป็นไหม ถ้าอยากรักษาให้หายต้องเข้ารับการผ่าตัดอย่างเดียว

การรักษาถ้าเจอในระยะต้น ส่วนใหญ่จะเป็นการผ่าตัด และรักษาเสริมด้วยการฉายรังสี แล้วแต่คน  แต่ถ้าแพร่กระจายแล้ว การรักษาหลักอาจจะเป็นการให้ยา เนื่องจากการผ่าตัดที่เต้านมเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่ทำให้โรคหายขาดได้อาจจะต้องให้ยาร่วมด้วย  หรือผู้ป่วยในระยะที่ 2 หรือ 3 อาจจะให้ยาก่อนหรือหลังการผ่าตัด เพื่อให้การผ่าตัดทำได้ง่ายขึ้น มีโอกาสหายขาดมากขึ้น 

การตรวจคัดกรอง ส่วนใหญ่จะตรวจในกรณีที่ไม่พบว่ามีก้อนผิดปกติ หรือไม่พบเจออาการใดๆ เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม แต่ต้องการตรวจแบบคัดกรองอย่างละเอียด โดยทั่วไปผู้หญิงอายุ 20-30 ปี ก็เริ่มตรวจคัดกรองได้แล้ว   ซึ่งส่วนใหญ่ในประเทศไทยแพทย์จะตรวจมะเร็งเต้านมควบคู่ไปกับมะเร็งปากมดลูก เพราะส่วนใหญ่คนมักจะตรวจภายในปีละครั้ง แพทย์ก็จะตรวจเต้านมให้ผู้ป่วยไปด้วย 

คนไข้ที่มี อายุ40 ปีขึ้นไป ก็จะมีการแนะนำให้ตรวจเมมโมแกรมและมะเร็งเต้านม เมมโมแกรมเป็นการตรวจโดยใช้รังสีเอ็กซ์เรย์ อุลตร้าซาวด์ ทำสองอย่างประกอบกัน เพื่อดูความผิดปกติว่ามีก้อนอะไรหรือไม่ การทำเมมโมแดรม อัลตราซาวด์ผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป สามารถลดอัตราการตายของผู้ป่วยอายุ 40 ปีขึ้นไปได้


คำถามด้านสุขภาพ

การควบคุมตัวเองให้มีวินัยในการดูมือถือ ทำอย่างไร

อาการเหมือนคนอยากยา วิธีการคือต้องควบคุมตัวเอง โดยการใช้สมองส่วนหน้สั่งการ เป็นเรื่องของการฝึก ต้องรู้ตัว วิธีการเราควรตั้ง ชมเป็นที Time limit บางคนติดแบบไม่รู้ตัว 

เด็กอายุ 3 ขวบต้องการเลิกแพมเพิส ต้องทำอย่างไร

ควรสังเกตุอาการของเด็ก เมื่อเขามีอาการจะถ่ายหนัก ถ่ายเบา ก็ควรฝึกพาเข้าห้องน้ำ และจัดหาที่รองนั่งโถขับถ่ายแบบนั่งสบายๆ ทำให้เด็กรู้สึกผ่อนคลาย และไม่ควรให้ขาลอย ทำให้รู้สึกไม่มั่นคง หรือการพาเข้าห้องน้ำเป็นระยะ จะทำให้คุ้นเคยและไม่ต้องใส่แพมเพิสในที่สุด 

อายุ 43 ปี น้ำหนัก 46 กก. ส่วนสูง 160  ซม.ตรวจเมมโมแกรมปีที่แล้วพบต่อมน้ำเหลืองโต ทั้งสองข้างขนาด 2 ซม.มีการเจาะชิ้นเนื้อแต่อ่านผลไม่ได้ เพราะส่งตรวจน้อยเกินไปไม่เจาะเพิ่มเติม เดือนที่แล้วทำเมมโมแกรมอีกรอบพบต่อมน้ำเหลืองโตสองข้างเหมือนเดิม แต่เล็กลงเล็กน้อย ครอบครัวเป็นมะเร็งทุกรุ่น ควรตัดทิ้งหรือไม่ ไม่ตัดทิ้งมีโอกาสเป็นมะเร็งหรือไม่ และต่อมน้ำเหลืองมีโอกาสเล็กลงหรือไม่ 

กรณีนี้ถ้าต่อมน้ำเหลืองโตมาที่รักแร้ทั้งสองข้างผ่านมาหนึ่งปี ขนาดเล็กลง การอ่านอุลตร้าซาวด์ เมมโมแดรม จะมีการรีพอร์ต ผลจากกระดับ 1-6 ต้องดูอยู่ระดับไหน 

กรณีที่ครอบครัวเป็นมะเร็งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม คือมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ ต้องย้อนดูประวัติครอบครัวว่าเป็นมะเร็งชนิดไหน ถ้าเป็นมะเร็งส่วนอื่นก็มีบางส่วนพบความสัมพันธ์บ้าง  เช่น มะเร็งทางเดินปัสสาวะ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งต่อมลูกหมาก ดังนั้นถ้าไม่ได้เป็นมะเร็งรังไข่ ก็ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดเต้านมทั้งสองข้าง ถ้าดูกังวล อาจจะไปพบหมอเจ้าของไข้เพื่อขอดูผลอัลตราซาวด์ เมมโมแกรม และปรึกษาต่อว่าตรงที่เป็นต่อมน้ำเหลืองต้องทำอะไรต่อหรือไม่ 

ต่อมน้ำเหลืองโตรักแร้โตมีได้หลายสาเหตุ เช่น ติดเชื้อ หรือเป็นมะเร็งชนิดอื่น ก็ทำให้ต่อมน้ำเหลืองโตได้ เช่นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง อาจต้องดูผลและปรึกษาต้องทำอะไรต่อหรือไม่

ลูกสาวอายุ 3 ขวบ 8 เดือน เคยเป็นเด็กอารมณ์ดี ตอนนี้โวยวายอารมณ์เสียง่าย เกิดจากอะไร 

ต้องหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร เช่น เรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัว การดูแลคนในบ้าน มีการว่ากล่าวตำหนิหรือไม่ การทะเลาะเสียงดังของผู้ใหญ่ทำให้เด็กจดจำพฤติกรรม  การไปโรงเรียนอาจจะทำให้เด็กเกิดความเครียด  กรณีที่พ่อแม่มีน้องทำให้ตัวเด็กได้รับความสนใจน้อยลง หรือการพักผ่อนเพียงพอหรือไม่ ก็ทำให้อารมณ์ไม่ดีได้ 


ติดต่อโฆษณา!