22 พฤศจิกายน 2564
1,882

กลุ่มที่ยังไม่ยอมฉีดวัคซีนที่จัดเป็น ‘ฮาร์ดคอร์ทางการแพทย์’ ในไทย มีถึง 7-8 ล้านคน! เสี่ยงอย่างไร?

กลุ่มที่ยังไม่ยอมฉีดวัคซีนที่จัดเป็น ‘ฮาร์ดคอร์ทางการแพทย์’ ในไทย มีถึง 7-8 ล้านคน! เสี่ยงอย่างไร?
Highlight

เป้าหมายฉีดวัคซีนให้ได้ 100 ล้านโดสของกระทรวงสาธารณสุขภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ และครอบคลุม 70% ของประชากรภายในสิ้นปี เพื่อให้พร้อมรับการเปิดประเทศ เปิดเรียน และคลายล็อกธุรกิจทุกประเภท ให้ภาคธุรกิจสามารถขับเคลื่อนต่อไปได้ ดูเหมือนไม่ง่ายอย่างที่คิด แม้ว่าปัญหาเรื่องวัคซีนไม่เพียงพอจะหมดไป ความท้าทายใหม่คือ จะทำอย่างไรกับกลุ่มฮาร์ดคอร์ทางการแพทย์เหล่านี้ ที่พบว่ามีราว 5-8 ล้านคน ที่ไม่ยอมรับการฉีดวัคซีน


นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ให้บริการวัคซีนแก่ประชาชนไปได้จำนวนมากแล้ว ที่คาดกันว่า มีอีกประมาณ 11 ล้านคน ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนนั้น ได้ทยอยฉีดไปอีกเป็นจำนวนมาก ที่ยังตกค้าง ยังไม่ได้รับวัคซีนจริงจึงไม่ถึง 11 ล้านคน แต่อยู่ที่ประมาณ 7-8 ล้านคน เป็น ‘กลุ่มฮาร์ดคอร์ (Hardcore) ทางการแพทย์’ หรือ ‘กลุ่มที่ปฏิเสธวัคซีน’ ด้วยสาเหตุต่างๆ กันไป

“เช่น กลุ่มที่อยู่พื้นที่ไม่ระบาด กลุ่มที่อยู่พื้นที่ห่างไกล โดยกลุ่มนี้คิดว่าไม่ได้ไปมีความเสี่ยงที่ไหน จึงไม่ไปฉีดวัคซีน หรือยังรอวัคซีนอยู่ หรือกลุ่มอื่นๆ ซึ่งเป็นสิทธิ์ของแต่ละบุคคล แต่ก็เป็นหน้าที่ของเรา ในการระดมบุคลากรในภาคส่วนต่างๆ ไปชี้แนะข้อเท็จจริง ทั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ” นพ.โอภาส กล่าว

20211122-a-01.jpg

อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขอย้ำว่าการฉีดวัคซีนมีประโยชน์ ช่วยป้องกันการป่วยหนักและป้องกันการสูญเสียได้จริง สำหรับประชาชน การฉีดวัคซีนโควิด-19 คือสิ่งที่จำเป็น 

“หากท่านอยู่ในเกณฑ์ที่ได้รับบริการ ขอให้ท่านอย่าปฏิเสธการรับวัคซีน เพราะวัคซีนมีประสิทธิภาพในการป้องกันการป่วยหนักและเสียชีวิต วัคซีนที่รัฐนำมาให้บริการผ่านการรับรองโดยองค์การอนามัยโลก และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แล้ว ขอให้ประชาชนสบายใจ

ปัจจุบันตัวเลขผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนเหลือน้อยกว่า 11 ล้านแล้ว อาจจะเหลืออยู่ประมาณ 5-8 ล้านคน และตัวเลขนี้จะน้อยลงทุกนาที เพราะเรารุกฉีดถึงพื้นที่ ขอย้ำว่าทางกระทรวงสาธารณสุขมีภารกิจสำคัญ คือการเร่งฉีดวัคซีน ซึ่งเราดำเนินการเชิงรุกอย่างสุดความสามารถ ทั้งให้ความรู้ พร้อมกับรณรงค์ให้มารับวัคซีน ควบคู่ไปกับลงพื้นที่ไปให้บริการ อำนวยความสะดวกให้กับประชาชน” อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าว

สำหรับประเทศที่ประชากรปฎิเสธการฉีดวัคซีน และทำให้กลีบมาติดเชื่อราว 50,000 คนต่อวันและมียอดเสียชีวิตสูงคือเยอรมัน จนกลายเป็นศูนย์กลางการติด้ชื้อในยุโรปอีกครั้ง  รัฐบาลเยอรมันต้องเผชิญกับความท้าทายสำคัญ เมื่อมีประชาชนที่ ‘ต่อต้านการฉีดวัคซีน’ (ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนยี่ห้ออะไรก็ตาม หรือที่เรียกว่า Anti-Vaxxer) ค่อนข้างเยอะ และยืนกรานว่าจะไม่รับวัคซีนเข้าสู่ร่างกายตัวเองโดยเด็ดขาด

ประชาชนที่ต่อต้านการฉีดวัคซีน ยังได้รวมตัวประท้วงนโยบายจากรัฐ ที่ห้ามคนที่ไม่ฉีดวัคซีนเข้าไปใช้บริการร้านอาหาร รวมถึงเข้าชมงานแข่งขันกีฬาต่างๆ จนทำให้ภาครัฐในหลายๆ เมืองต้องเจอปัญหาใหญ่ว่าจะจัดการกับเรื่องนี้อย่างไรดี

Markus Söner ผู้ว่าการรัฐบาวาเรีย ถึงกับออกมาบอกว่า ตอนนี้เยอรมันกำลังเจอกับไวรัสสองแบบ แบบแรกคือ COVID-19 ส่วนแบบที่สองคือกลุ่ม Anti-Vaxxer

20211122-a-02.jpg

มีสถิติที่ระบุว่า ตอนนี้เยอรมันเป็นหนึ่งในประเทศฝั่งยุโรปตะวันตก ที่ฉีดวัคซีนให้ประชาชนได้ค่อนข้างน้อย จนถึงตอนนี้ มีประชาชนถึง 1 ใน 3 ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบโดส

อย่างไรก็ดี การติดเชื้อ COVID-19 เป็นปัญหาที่เกิดจากภาครัฐด้วย หลายฝ่ายชี้เป้าว่า สาเหตุข้อหนึ่งคือ ประชาชนหลายคนได้รับวัคซีนไปหลายเดือนแล้ว และภูมิคุ้มกันก็ลดลงตามช่วงเวลา แต่ถึงอย่างนั้น อัตราการฉีดวัคซีน Booster Dose เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันก็กลับทำได้ค่อนข้างช้า สวนทางกลับไวรัสสายพันธุ์เดลต้าที่แพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว

นอกจากนี้เยอรมันยังปัญหาทางการเมือง เมื่อผู้นำหญิงสุดแกร่งอย่าง อังเกลา แมร์เคิล อยู่ในช่วงที่ลงจากตำแหน่ง ทำให้ภาวะผู้นำและการขับเคลื่อนนโยบาย และมาตรการต่างๆ นั้นเจอปัญหาอยู่หลายอย่างเช่นกัน

ขณะที่รัฐบาลรักษาการ ก็เคยยืนยันว่า ต่อจากนี้จะไม่มีมาตรการล็อกดาวน์แล้ว โดยจะไปเน้นความสำคัญของการเร่งฉีดวัคซีนแทน

องค์การอนามัยโลก (WHO) เตือนว่า การแพร่ระบาดรอบใหม่นี้ อาจะทำให้ยุโรปมีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีกถึง 500,000 คน ภายในเดือนกุมภาพันธ์ปี ค.ศ.2022 ถือเป็นสถานการณ์ที่น่ากังวล และต้องจับตากันอย่างต่อเนื่อง

คำกล่าวของกลุ่มที่ไม่รับวัคซีนบอกว่า การจะฉีดหรือไม่ฉีดเป็นสิทธิ์ส่วนบุคคล เนื่องจากร่างกายย่อมเป็นสิทธิโดยชอบธรรมของพวกเขา การบังคับให้ฉีดจึงเป็นการละเมิดขั้นพื้นฐาน 

ศาสตราจารย์ คริสโตเฟอร์ มาร์ติน ประจำมหาวิทยาลัยเวสต์เวอร์จิเนีย อธิบายเพิ่มเติมว่า โลกของเราเชื่อมโยงถึงกัน ดังนั้น สายพันธุ์ต่างๆ ก็สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ยกตัวอย่างเช่น สายพันธุ์เดลตา ที่ได้รับการยืนยันครั้งแรกในอินเดียช่วงปลายปี 2563 ต่อมาในสหรัฐอเมริกาช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2564 และในเดือนกรกฎาคม กว่า 80% ของผู้ติดเชื้อรายใหม่ในอเมริกาเป็นสายพันธุ์เดลตา จนถึงตอนนี้ คนที่ไม่ฉีดวัคซีนเหมือนว่าจะมีโอกาสสัมผัสและแพร่เชื้อโรคได้มากกว่าคนที่ฉีดวัคซีนแล้ว

ประชากรทั่วโลกยังคงมีความเสี่ยงไปอีกนานเท่านาน อันเป็นผลจากคนที่ไม่ฉีดวัคซีนมีอยู่ทุกที่ในโลก

ขณะนี้รัฐบาลหลายประเทศต่างนำมาตรการต่างๆมาบังคับใช้เพื่อให้ประชาชนฉีดวัคซีนมากที่สุด โดยประเทศออสเตรีย มีความชัดเจนในการประกาศล็อกดาวน์คนที่ไม่ฉีดวัคซีน สิงคโปร์ประกาศรัฐไม่ช่วยค่ารักษาพยาบาลหากติดเชื้อและเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ของไทยนั้นยังอยู่ระหว่างการพิจารณาห้ามเดินทางไปที่สาธารณะหรือทำกิจกรรมที่รวมกลุ่มคนจำนวนมาก 

นี่ก็เป็นความท้าทายบทใหม่ของรัฐบาลที่หลังจากจัดหาวัคซีนมาได้แล้ว ก็ไม่สามารถฉีดให้กลุ่มนี้ได้ และกลุ่มนี้ยังคงเป็นกลุ่มเสี่ยงของผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศไทยต่อไป รวมทั้งอาจลามมาติดคนที่ฉีดวัคซีนแล้วที่ภูมิคุ้มกันลดลง

อ้างอิง : กรมควบคุมโรค 
https://www.nytimes.com/…/world/germany-covid-cases.html
https://www.bbc.com/news/world-europe-59234443

ติดต่อโฆษณา!